2 ส.ค. 2020 เวลา 11:00 • การศึกษา
คณิตศาสตร์ตรรกะ (ตอนที่ 2)
คราวที่แล้วเราคุยกัน ในเรื่องของ คณิตศาสตร์ตรรกะ ซึ่งจบถึงตัวอย่างเหตุการณ์ของ 3 ตัวแปร
วันนี้เราจะมาคุยกันต่อครับ
ตัวอย่างเหตุการณ์ของ 3 ตัวแปร
ตัวอย่างเหตุการณ์ของ 3 ตัวแปร
ถ้ามีผลไม้อยู่ 3 กอง คือ เชอรี่ (A) แอปเปิ้ลเขียว (B) และ แอปเปิ้ลแดง (C)
สมมุติเหตุการณ์ขึ้นมาครับ ว่าจะได้ จำนวนเหตุการณ์ อะไรบ้าง
ถ้าพี่บอกให้ น้องชายไปหยิบผลไม้ ดูว่าจะเข้ากับ ลอจิกของเรา อย่างไร บ้าง
❶ หากพี่วานให้น้องไปหยิบเชอรี่
น้องก็ไปหยิบเชอรี่ (A) มาให้
ส่วนแอปเปิ้ลเขียว (B) “และ” แอปเปิ้ลแดง (C) ไม่ได้หยิบมาด้วย เพราะพี่ไม่ได้ บอกให้หยิบ
แปลทางลอจิกจากตารางความจริงคือ A = T (เป็นจริง เพราะเป็นการหยิบ A มาให้)
กรณีนี้ แอปเปิ้ลเขียว (B) “และ” แอปเปิ้ลแดง (C) เป็น F ทั้งคู่ เขียนว่า B = F และ C = F แปลว่า การหยิบ ครั้งนี้ ไม่มี B และ ไม่มี C
ดังนั้น ทั้งคู่จึงมี ค่าความจริง เป็น “เท็จ” หรือ “F” ดูจากรูป ตรงตำแหน่ง “เลือก A อย่างเดียว”
❷ ต่อมาบอกให้น้อง ไปหยิบ แอปเปิ้ล ให้หน่อย.....
เอาละซิ ! พี่ชายขี้ใช้ของเรา ไม่ได้บอกซะด้วยว่า จะเอาแอบเปิ้ล สีเขียว หรือ สีแดง ?
หาก น้องชายจะเลือก หยิบสีเขียว “หรือ” สีแดง ก็ได้ทั้ง 2 สี ครับ เพราะ พี่ไม่บอกว่าจะเอาสีอะไร
(ขอให้ เป็น การหยิบ แอปเปิ้ล ไปให้ก็ไม่ผิดแล้ว)
ซึ่งหากน้อง หยิบไปให้พี่เลือกเอาเองทั้ง 2 สี
นั่นคือ B = T, C = T
ส่วน A = F เพราะไม่ได้หยิบ A .... ในรูปคือ เลือก B, C
ถ้าหากเป็นกรณี หยิบแอปเปิ้ล สีเขียว “หรือ” สีแดง
-->เขียนในการดำเนินการ ลอจิก คือ B ∨ C ครับ (∨ แทนคำว่า “หรือ”)
--> เขียนในสัญกรของเซต คือ B ∪ C ครับ (∪ แทนคำว่า “หรือ”)
ถ้าหยิบแอปเปิ้ล สีเขียวอย่างเดียว ในรูปคือ “เลือก B อย่างเดียว”
--> เขียนในการดำเนินการ ลอจิก คือ B = T
หาก หยิบแอปเปิ้ลสีแดงอย่างเดียว ในรูปคือ “เลือก C อย่างเดียว”
-->เขียนในการดำเนินการ ลอจิก คือ C = T
❸ ถ้าพี่ชายบอกให้น้องไปหยิบ เชอรี่ กับ แอปเปิ้ล ล่ะ
มี 3 กรณี ครับ
กรณีที่ 1
หากต้องการ เชอรี่ “และ” แอบเปิ้ล (ไม่ระบุสีว่าจะเอาเขียวหรือแดง)
เขียนในการดำเนินการลอจิก คือ A ∧ (B ∨ C )
A = T,
B = T ถ้าเลือกสีเขียว หรือ F ถ้าไม่เลือกสีเขียว
C = T ถ้าเลือกสีแดง หรือ F ถ้าไม่เลือกสีแดง
B = C = T ถ้าเลือกทั้ง 2 สี
ตัวดำเนินการลอจิกนี้อ่านว่า
เชอรี่ “และ” แอบเปิ้ลสีเขียว หรือ สีแดง
กรณีที่ 2
หากต้องการ เชอรี่ “และ” แอบเปิ้ล เขียว
เขียนในการดำเนินการลอจิก คือ
A ∧ B โดย A = T, B = T
กรณีที่ 3
หากต้องการ เชอรี่ “และ” แอบเปิ้ล แดง
เขียนในการดำเนินการลอจิก คือ
A ∧ C โดย A = T, C = T
❹ พี่ชายบอกให้ไปหยิบทั้งเชอรี่และแอปเปิ้ลมาให้หมด
น้องชายตอบว่า เบื่อแล้ว จุกจิกจัง แล้ววิ่งหนีไปเลย .....โอ้ว !
เรายังเขียน การดำเนินการลอจิก ได้อยู่ ครับ
อย่างนี้เขียนได้ว่า (﹁ A) ∧ (﹁ B) ∧ (﹁ C) = T
อ่านว่า ไม่เลือกทั้ง เชอรี่ และ แอปเปิ้ลเขียว และ แอป เปิ้ลแดง โดยค่าความจริงเป็น “จริง”
หรือแปลว่า “น้องชาย ไม่หยิบผลไม้ทุกชนิด ให้พี่ เป็นจริง” ซึ่งหมายความว่า “น้องชายไม่หยิบผลไม้ให้เลย”
ที่ค่าความจริงเป็น “จริง”เพราะ น้อง วิ่งหนีไป ทำให้
ไม่เกิดเหตุการณ์หยิบผลไม้ขึ้น "เป็นความจริง" ครับ
คราวหน้า เราจะมาคุยเรื่อง ตารางความจริง ของ ลอจิกพื้นฐานครับ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา