29 ก.ค. 2020 เวลา 13:47 • สุขภาพ
เจาะลึก!!! 6 candidates วัคซีนเข้าใกล้ความสำเร็จมากที่สุด
เจาะลึก!!! 6 candidate วัคซีนเข้าใกล้ความสำเร็จมากที่สุด : GETTY IMAGES
ประเด็นเรื่องความคืบหน้าวัคซีนป้องกัน COVID-19 กลับมาน่าสนใจอีกครั้งแล้วครับในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา เหตุเพราะเป็นช่วง timeline ที่แต่ละบริษัทวางไว้ในการเผยผลการวิจัย
3
และต้องบอกว่าวัคซีนเป็นตัวแปรสำคัญที่ตอนนี้ถูกคาดหวังว่าจะช่วยให้โลกกลับไปเป็นเหมือนช่วงก่อน COVID-19 ที่ซึ่งกิจการต่างๆกลับมาดำเนินการได้เต็มรูปแบบอีกครั้ง
จากข้อมูลที่มีการรวบรวมตอนนี้พบว่ามีมากกว่า 160 candidate วัคซีนทั่วโลกที่กำลังอยู่ในขั้นตอนวิจัยและพัฒนา ซึ่งส่วนใหญ่ 80 % จะไปกองกันที่กำลังศึกษาในสัตว์ทดลองครับ
ภาพรวมความคืบหน้าของวัคซีน : Abcnews
แต่ก็มีอีกราว 10 % ที่เข้าสู่การวิจัยระยะที่ 1 และ 2 ซึ่งทำในมนุษย์เพื่อดูว่ามีความปลอดภัยและความสามารถในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันเชิงปริมาณมากน้อยเพียงใดครับ เพราะถ้ากระตุ้นได้มากก็พอจะทำนายได้ว่าหากเอาวัคซีนไปใช้จริงๆน่าจะช่วยป้องกันไม่ให้ติดเชื้อได้
3
ซึ่งข้อเท็จจริง ณ ตอนนี้ก็คือ" เรายังไม่มีวัคซีนที่ป้องกันการติดเชื้อได้จริงในมนุษย์ "
แล้วถ้าถามว่า เราจะรู้ได้อย่างไรว่าวัคซีนชนิดใดจะป้องกันการติดเชื้อได้ คำตอบของคำถามนี้ต้องอาศัยผลการวิจัยระยะที่ 3 ซึ่งถือเป็นกุญแจสำคัญที่จะตอบทุกข้อสงสัยว่าสุดท้ายวัคซีนที่ทุ่มทุนลงไปนั้น work หรือไม่ work ครับ
การวิจัยในระยะที่ 3 ต้องอาศัยกลุ่มตัวอย่างหลักหมื่นคนขึ้นไปและต้องทำในบริเวณที่การติดเชื้อยัง active เพื่อดูว่ากลุ่มตัวอย่างที่ถูกสุ่มให้วัคซีนและยาหลอกมีการติดเชื้อต่างกันอย่างไรซึ่งตอนนี้ก็มี 6 candidate วัคซีนที่กำลังเข้าสู่การทดสอบในระยะที่ 3
***หมายเหตุ : การเรียงลำดับไม่ได้แสดงถึงความเร็วในการพัฒนาวัคซีนแต่ละชนิด***
1
1. BBIBP-CorV
1
BBIBP-CorV วัคซีนของบริษัท Sinopharm : Globaltimes/Xinhua
พัฒนาโดย Sinopharm บริษัทในกลุ่มสถาบันเภสัชภัณฑ์ของจีน เชี่ยวชาญด้านไบโอเทคและเป็นผู้ผลิตวัคซีนรายใหญ่อันดับ 6 ของโลก ซึ่งกว่า 80% ของวัคซีนในโปรแกรมพื้นฐานของจีนถูกผลิตและกระจายโดยบริษัทดังกล่าว
2
💊รูปแบบ : เป็นอนุภาคไวรัสที่ถูกทำให้อ่อนแอลงด้วยอุณหภูมิหรือสารเคมี (inactivated) ซึ่งจะไม่ทำให้ติดเชื้อแต่สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้มีการจดจำและตอบสนองได้เร็วหากได้รับเชื้ออีกครั้ง
1
📑ผลการวิจัยระยะที่ 1/2 : มีอาสาสมัครชาวจีน 1,120 คน เข้าร่วมการทดสอบ ซึ่งพบว่ากลุ่มที่ได้รับวัคซีน 2 เข็มจำนวน 180 คน (ในวันแรกและหลังจากนั้นอีก 28 วัน) " ให้ผลดีที่สุด" มีภูมิคุ้มกันชนิดที่จับกับไวรัสและทำให้ไม่สามารถเข้าไปติดเชื้อในเซลล์มนุษย์ (neutralizing antibody) เพิ่มสูงขึ้น 100 % สำหรับในแง่ความปลอดภัยก็ไม่พบอาการข้างเคียงที่น่ากังวลอะไรครับ
1
🏣การทดสอบขั้นสุดท้าย : ปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมามีการลงนามข้อตกลงร่วมกับรัฐบาล UAE เพื่อทดสอบวัคซีนเป็นครั้งแรกนอกประเทศจีน นับว่าเป็นวัคซีนป้องกัน COVID-19 ชนิดแรกที่เริ่มทดสอบระยะที่ 3 ซึ่งต้องการอาสาสมัครเข้าร่วมทั้งสิ้น 15,000 คนและคาดว่าจะต้องใช้เวลา 3-6 เดือนในการเก็บข้อมูลทั้งหมด
การเลือก UAE เป็นแหล่งทดสอบวัคซีนมีข้อได้เปรียบเนื่องจากมีความหลากหลายมากกว่า
200 เชื้อชาติ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการนำผลการทดสอบวัคซีนไปปรับใช้กับประ
ชากรของประเทศต่างๆได้ง่ายนั่นเองครับ
💉กำลังการผลิตที่คาด : 200 ล้านโดสต่อปี ล่าสุดประธานของ Sinopharm ได้ให้สัมภาษณ์กับ CCTV ว่าการทดสอบขั้นสุดท้ายในมนุษย์คาดว่าจะเสร็จสิ้นในช่วง 3 เดือนข้างหน้านี้ ทำให้เราอาจมีวัคซีนชนิดแรกให้ใช้ภายในปีนี้จากเดิมที่คาดว่าจะเป็นช่วงกลางปีหน้า
1
2. CoronaVac
CoronaVac ของบริษัท Sinovac Biotech : Sinovac
วัคซีนจากจีนเช่นกันครับพัฒนาโดยบริษัท SinovacBiotech ยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตยาชีวเภสัชภัณฑ์ที่อาศัยพันธุวิศวกรรมขั้นสูงในการรักษาหรือป้องกันโรค ประสบความสำเร็จมาแล้วใน
การพัฒนาวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 2009 ชนิดแรกของโลก (PANFLU.1®)
1
💊รูปแบบ : เป็น inactivated vaccine เช่นเดียวกับวัคซีนจาก Sinopharm ครับเหตุเพราะขั้นตอนการพัฒนาวัคซีนแบบนี้มักใช้เวลาน้อยกว่าวัคซีนรูปแบบอื่นๆ
📑ผลการวิจัยระยะที่ 1/2 : ทดสอบในกลุ่มอาสาสมัครชาวจีน 743 คนที่มีอายุระหว่าง 18-59 ปี ให้วัคซีนทั้งหมด 2 เข็มห่างกัน 14 วันครับ ซึ่งพบว่าไม่มีอาการข้างเคียงหลังได้รับวัคซีนและอาสาสมัครมากกว่าร้อยละ 90 จาก 600 คนที่เข้าร่วมในระยะที่ 2 มีตัวอย่างเลือดแสดงให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของ neutralizing antibody
1
🏣การทดสอบขั้นสุดท้าย : Sinovac ได้ร่วมมือกับสถาบัน Butantan ในบราซิลผู้นำในตลาดยาชีวเภสัชภัณฑ์ในแถบลาตินอเมริกา ตั้งเป้าทดสอบประสิทธิภาพวัคซีนในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ที่เป็นแนวหน้าของการต่อสู้กับโรคระบาด ซึ่งต้องการอาสาสมัคร 8,870 คนจาก 12 โรงพยาบาลและมหาวิทยาลัยใน 6 รัฐทั่วประเทศบราซิล โดยจะติดตามไป 12 เดือนหลังจากได้รับวัคซีน แต่อาจบอกประสิทธิภาพเบื้องต้นได้เร็วกว่านั้นด้วยวิธีทางสถิติหากมีจำนวนเคสที่ติดเชื้อถึงเป้าหมายขั้นต่ำที่ตั้งไว้ 150 คนครับ
1
นอกจากนี้ Sinovac ยังวางแผนจะทดสอบเพิ่ม 4,200 คนซึ่งอยู่ระหว่างการขออนุมัติจากทางการบังคลาเทศและอีก 1,620 คนในอินโดนีเซียซึ่งข้อตกลงดังกล่าวจะช่วยให้ Bio Farma บริษัทยาท้องถิ่นรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและจะสามารถผลิตวัคซีนเบื้องต้น 40 ล้านโดสต่อปีเพื่อใช้สำหรับคนในประเทศ
💉กำลังการผลิตที่คาด : คุณ Weidong Yin ซีอีโอของบริษัทแถลงว่ากำลังสร้างโรงงานเพิ่มเติมและคาดว่าจะเสร็จทันในปลายปีนี้เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตให้ได้สูงสุด 100 ล้านโดสต่อปีครับ
3. Ad5-nCoV
Ad5-nCoV ของบริษัท CanSino Biologics : CanSino
วัคซีนตัวสุดท้ายของจีนโดยบริษัท CanSino Biologics พัฒนาร่วมกับสถาบันไบโอเทคโนโลยีปักกิ่งภายใต้การดูแลของสถาบันวิจัยทางการแพทย์ทหารครับ เป็นวัคซีนสำหรับไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ชนิดแรกที่สร้างขึ้นในประเทศจีน นอกจากนี้ยังเป็นวัคซีนตัวแรกของโลกที่ข้ามขั้นตอนการทดสอบระยะที่ 3 ไปรับรองให้ใช้ในคนทั่วไปได้เลยแม้จะจำกัดเฉพาะทางการทหารเป็นระยะเวลา 1 ปีก็ตาม
💊รูปแบบ : ใช้ไวรัสชนิดอื่นเช่น adenovirus ซึ่งปกติมักก่อโรคไข้หวัดธรรมดาเป็นตัวพาพันธุกรรมบางส่วนของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่สามารถกระตุ้นสร้างภูมิคุ้มกันได้เข้าไปในร่างกาย เรียกว่า Viral-vector vaccines เป็นรูปแบบใหม่ที่เคยใช้ในวัคซีนป้องกันโรคอีโบลา
1
📑ผลการวิจัยระยะที่ 1/2 : ผลการวิจัยเป็นทางการเผยแพร่ในวารสารทางการแพทย์เก่าแก่อย่าง The lancet เมื่อไม่นานมานี้ครับ มีอาสาสมัครรวมทั้งหมด 508 คนซึ่งกลุ่มที่ได้รับวัคซีนร้อยละ 85 ร่างกายมีการตอบสนองสร้างภูมิคุ้มกัน neutralizing antibody
จุดเด่นสำคัญก็คือมีการกระตุ้นการตอบสนองของเม็ดเลือดขาวชนิด T-cell มากขึ้นหลังได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 ภายใน 14 วันซึ่งจะช่วยจัดการกับเซลล์ที่ติดไวรัสไปแล้วเรียกได้ว่าป้องกันการติดเชื้อได้ 2 กลไกเลยทีเดียว นอกจากนี้อาการปวด เหนื่อยเพลีย มีไข้ สามารถพบได้ในผู้ที่ได้รับวัคซีนร้อยละ 72-74
1
แต่การเลือกใช้ adenovirus ก็ยังมีข้อจำกัดอยู่บ้างนะครับ เนื่องจากร่างกายเราคุ้นเคยกับไวรัสก่อโรคไข้หวัดธรรมดาชนิดนี้ดี ทำให้ภูมิคุ้มกันที่เรามีไปจัดการไวรัสดังกล่าวได้ง่าย ก่อนที่พันธุกรรมของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่จะไปกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันที่ต้องการซึ่งผลตรงนี้สะท้อนออกมาชัดเจนในผู้สูงอายุ (55 ปีขึ้นไป) พบว่ามีระดับภูมิคุ้มกันหลังได้รับวัคซีนน้อยกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่ม 18-55 ปี
1
🏣การทดสอบขั้นสุดท้าย : แม้จีนจะอนุมัติให้ใช้วัคซีนดังกล่าวไปแล้วแต่ถ้าหากต้องการให้ประเทศอื่นๆเอาไปใช้ ก็ยังคงจำเป็นต้องรอข้อมูลการทดสอบระยะที่ 3 อยู่ดีครับซึ่งล่าสุดวางแผนทดสอบเพิ่มเติมที่รัสเซีย,บราซิล,ชิลีและซาอุดิอาระเบียโดยต้องการอาสาสมัครร่วม 40,000 คน
💉กำลังการผลิตที่คาด : บริษัทกำลังสร้างโรงงานใหม่เพิ่มเติมในจีนคาดว่าจะผลิตได้100-200 ล้านโดสตลอดทั้งปี 2021
4. ChAdOx1 nCoV-19 หรือ AZD1222
ChAdOx1 nCoV-19 ของบริษัท Astrazeneca ร่วมกับ Oxford : BBC
วัคซีนที่คาดว่ามีความคืบหน้ามากที่สุดจากฝั่งอังกฤษด้วยความร่วมมือของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดและแอสตราเซเนกา (Astrazeneca) บริษัทยาที่ใหญ่เป็นอันดับ 8 ของโลก
1
💊รูปแบบ : เป็นวัคซีน viral-vector แบบที่คล้ายกับวัคซีนของ Cansino ครับ แต่ทางออกซ์ฟอร์ดเลือกใช้ไวรัสตัวพาเป็นชนิดที่ก่อโรคไข้หวัดในลิงชิมแปนซี ซึ่งคาดว่าจะช่วยลดข้อจำกัดที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายจะมุ่งไปจัดการกับไวรัสตัวพาเนื่องจากร่างกายเราคุ้นเคยกับไวรัสไข้หวัดในชิมแปนซีน้อยกว่าไวรัสไข้หวัดธรรมดาในมนุษย์ ทำให้ผลสุดท้ายพันธุกรรมของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ยังสามารถกระตุ้นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันได้นั่นเองครับ
2
📑ผลการวิจัยระยะที่ 1/2 : อาสาสมัคร 1,077 คนอายุ 18-55 ปี ถูกแบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับ AZD1222 และกลุ่มที่ได้รับยาหลอกอย่างละเท่าๆกัน ซึ่งพบว่าร้อยละ 90 ของกลุ่มที่ได้รับ
วัคซีนมีการเพิ่มขึ้นของ neutralizing antibody สูงที่สุดในวันที่ 28 หลังได้รับวัคซีนเข็มแรกและยังมีระดับของเม็ดเลือดขาว T-cell เพิ่มสูงในวันที่ 14 ทำให้อาจช่วยป้องกันการติด
เชื้อได้ 2 กลไกเช่นเดียวกับวัคซีนของ Cansino
นอกจากนี้วัคซีนยังค่อนข้างปลอดภัย ไม่มีอาการข้างเคียงที่น่ากังวลพบเพียงภาวะไข้และปวดหัวนิดหน่อยซึ่งเจอได้มากถึงร้อยละ70 อย่างไรก็ตามสามารถหายได้ง่ายด้วยการทานยาลดไข้
🏣การทดสอบขั้นสุดท้าย : ทีมวิจัยตั้งเป้าเก็บข้อมูลอาสาสมัครที่อังกฤษให้ได้ 10,000 คน แต่ด้วยสถานการณ์ผู้ติดเชื้อที่เริ่มลดลงทำให้เกรงว่าผลการทดสอบจะไม่ชัดเจนจึงวางแผนวิจัยเพิ่มเติมในสหรัฐอีก 30,000 คน หลังจากที่ก่อนหน้านี้เริ่มทดสอบวัคซีนในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ที่บราซิลและอาสาสมัครที่แอฟริกาใต้เมื่อกลางเดือนที่ผ่านมา
1
💉กำลังการผลิตที่คาด : 100 ล้านโดสใน Q1 ปี 2021 แต่ด้วยความร่วมมือกับโรงงานที่มีกำลังการผลิตวัคซีนสูงที่สุดในโลกของอินเดียอย่าง Serum Institute of India คาดว่าจะสามารถจัดหาวัคซีนได้ถึง 2,000 ล้านโดสตลอดทั้งปี
1
และล่าสุดมีข่าวว่าสยามไบโอไซเอนซ์ (Siam bioscience) บริษัทเอกชนของไทยที่มีศักยภาพในการผลิตยาตามมาตรฐานสากล ก็ได้รับการทาบทามจาก astrazeneca เพื่อเพิ่มกำลังการผลิต ซึ่งตรงนี้เป็นผลดีที่ไทยเราเองอาจได้ประโยชน์จากการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตวัคซีน
5. mRNA-1273
mRNA-1273 ของบริษัท Moderna : thailandmedical
พัฒนาโดยบริษัทสตาร์ทอัพสหรัฐที่หลายคนพออาจเคยได้ยินชื่ออย่าง Moderna ซึ่งเชี่ยวชาญเทคโนโลยีชนิดใหม่ในการพัฒนาวัคซีนที่สามารถช่วยลดขั้นตอนและความยุ่งยากของกระบวนการผลิต เรียกได้ว่าเป็นวัคซีน COVID-19 ตัวแรกของสหรัฐที่ถูกพัฒนาและทำการทดสอบในมนุษย์เลยก็ว่าได้ครับ
1
💊รูปแบบ : นักวิจัยนำพันธุกรรมหรือ mRNA บางส่วนของไวรัสโคโรนาสายพันธ์ุใหม่มาบรรจุใส่ในอนุภาคไขมันขนาดเล็กที่เรียกว่า Lipid nanoparticle (LNP) แล้วนำมาฉีด
เข้าไปในร่างกายเพื่อให้มีการสร้างโปรตีนหนาม (Spike-protein) ซึ่งนักวิจัยพบว่าสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้เสมือนหนึ่งว่ามีไวรัสเข้ามาจริงๆ โดยวิธีนี้ค่อนข้างปลอดภัยมากกว่าการฉีดไวรัสเข้าไปทั้งตัวโดยตรงครับ
📑ผลการวิจัยระยะที่ 1/2 : วัคซีนเข็มแรกถูกฉีดให้กับอาสาสมัครเมื่อเดือนมีนาคมภายใต้ความร่วมมือในการวิจัยกับสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (NIH) ผลการวิจัยก็มีการออกมาแง้มเป็นระยะๆตั้งแต่ช่วงพฤษภาคมที่ผ่านมาจากบริษัทผู้พัฒนา แต่ข้อมูลฉบับเต็มพึ่งจะมีการตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ที่มีชื่อเสียงอย่าง The New England Journal of Medicine ในสัปดาห์ที่ผ่านมานี้เองครับ ซึ่งพบว่าอาสาสมัครมี neutralizing antibody ระดับพอๆกับคนที่หายจากการติดเชื้อโดยตรงเมื่อได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นหลังได้รับวัคซีนเข็มแรกผ่านไป 28 วัน
2
อย่างไรก็ตามวัคซีนตัวนี้ก็ยังมีอาการข้างเคียงที่ต้องเจอครับ นั่นก็คือกว่าร้อยละ 80 หลังได้รับวัคซีนมีอาการเหนื่อยเพลียและร้อยละ 60 รู้สึกปวดหัวรวมถึงปวดบริเวณที่ฉีด แต่อาการเหล่านี้ก็หายได้เองภายใน 1-2 วัน
🏣การทดสอบขั้นสุดท้าย : ข้อมูลจากการวิจัยชุดแรกทำให้ทราบปริมาณวิคซีนที่น่าจะมีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากที่สุดคือ 100 mcg โดยจำเป็นต้องให้ 2 เข็มซึ่งในระยะสุดท้ายนี้ทางทีมวิจัยต้องการอาสาสมัคร 30,000 คน จาก 89 แห่งทั่วประเทศและล่าสุด Moderna พึ่งจะได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณวิจัยเพิ่มอีก 472 ล้านดอลลาร์ คาดว่าจะทราบผลการวิจัยได้ในช่วงเดือนพฤศจิกายนข้างหน้า
💉กำลังการผลิตที่คาด : การใช้เทคนิคเป็นวัคซีน mRNA ทำให้สามารถผลิตเพิ่มได้ง่ายในปริมาณมากๆซึ่งคาดว่าสามารถผลิตได้สูงถึง 500-1,000 ล้านโดสในปี 2021 แต่อย่างไรก็ตามวัคซีนแบบใหม่นี้ต้องเก็บในอุณหภูมิที่ติดลบเพื่อคงสภาพให้ใช้งานได้ ซึ่งระบบ supply chain จะเป็นประเด็นที่ต้องคำนึงถึงต่อไปในการกระจายวัคซีน
1
6. BNT162
BNT162 ของบริษัท Pfizer และ BioNTech : thailandmedical
วัคซีนโดยความร่วมมือของ BioNTech จากเยอรมัน บริษัทยาที่ market cap ใหญ่กว่า PTT ถึง 5 เท่าอย่าง Pfizer และ Fosun Pharma จากประเทศจีนซึ่งการที่ Pfizer ลงมา
ลุยพัฒนาวัคซีนทำให้คาดว่าจะมีศักยภาพกลายเป็นผู้นำในกลุ่มตลาดวัคซีนป้องกัน COVID-19 หากวัคซีนได้รับอนุมัติอย่างเป็นทางการ
💊รูปแบบ : เป็น mRNA-based vaccine เช่นเดียวกับของ Moderna พัฒนาโดยอาศัยความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีนี้ของ BioNTech ซึ่งเบื้องต้นมี 4 สูตรแต่ตัวที่คาดว่ามีประสิทธิภาพมากสุดที่จะนักวิจัยเลือกศึกษาต่อคือ BNT162b2 ครับ
📑ผลการวิจัยระยะที่ 1/2 : ข้อมูลเบื้องต้นจากการทดสอบในอาสาสมัครที่เยอรมันและสหรัฐพบว่าให้ผลไปในทางเดียวกันภูมิคุ้มกัน neutralizing antibody เพิ่มสูงขึ้นตามขนาดวัคซีนที่ให้และก็พบว่าวัคซีนเพิ่มการตอบสนองของเม็ดเลือดขาว T-cell เช่นกัน
1
แต่ระยะเวลาที่ให้วัคซีนจะต่างจากเจ้าอื่นๆคือ เข็มแรกและเข็มที่สองจะห่างกัน 22 วัน ซึ่งวัคซีนขนาด 1 mcg เป็นระดับต่ำสุดที่กระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ ในแง่ของความปลอดภัยก็พบอา
การข้างเคียงเล็กน้อยที่จัดการได้ เช่น มีไข้ ปวดบริเวณที่ฉีดเท่านั้น
1
🏣การทดสอบขั้นสุดท้าย : มีการประกาศว่าได้เริ่มทดสอบระยะที่ 3 ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากการประกาศของ Moderna ช่วงวานนี้เองครับ โดยต้องการอาสาสมัครร่วม 30,000 คนจาก 120 แห่งทั่วโลกทั้งในสหรัฐ เยอรมนีและบราซิล
💉กำลังการผลิตที่คาด : คาดว่าตลอดปี 2021 จะมีกำลังการผลิตได้สูงสุดถึง 1,300 ล้านโดสโดยที่ 100 ล้านโดสแรกคาดว่าจะเริ่มผลิตได้ภายในสิ้นปีนี้ครับ แต่อย่างไรก็ตามทางรัฐบาลสหรัฐก็ได้จองวัคซีนทั้งหมดนั้นไว้แล้วเพื่อฉีดให้ฟรีสำหรับประชาชนโดยใช้เงินล่วงหน้าไปกว่า 1,900 ล้านดอลลาร์ในการจองวัคซีนที่ยังวิจัยไม่เสร็จสิ้น เรียกว่าเดิมพันสูงมากๆครับ
อย่างไรก็ตามข้อจำกัดที่มีร่วมกันของวัคซีนทุกชนิดที่พัฒนาในตอนนี้คือ
เรายังไม่ทราบแน่ชัดว่าระดับภูมิคุ้มกันที่ถูกกระตุ้นหลังได้รับวัคซีนนั้นต้องมีมากหรือน้อยเพียงใดจึงจะสามารถป้องกันการติดเชื้อได้
และภูมิคุ้มกันดังกล่าวจะสามารถคงอยู่ได้นานแค่ไหน ?
เพราะวัคซีนจะไม่มีประโยชน์เลยหากต้องฉีดบ่อยๆจนเกินไป อีกทั้งจะส่งผลต่อความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นอีกด้วยและแน่นอนว่าสุดท้ายจะเริ่มมีปัญหาของการเข้าถึงตามมา
นอกจากนี้ยังมีประเด็นสำคัญในแง่ของความปลอดภัย อาการข้างเคียงที่พบจากวัคซีนด้วยระยะเวลาติดตามที่ไม่มากทำให้เราอาจจะยังไม่พบอาการข้างเคียงที่รุนแรงหรือเป็นอันตราย
แต่ก็อาจเป็นความโชคดีที่วัคซีนเหล่านี้อาจไม่ได้มีผลข้างเคียงที่น่ากังวลจริงๆก็ได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องติดตามต่อไปหลังวัคซีนออกสู่ตลาดได้จริงๆ เรียกว่าเป็นการศึกษา Post marketing หรือ Phase 4 ที่ไม่ค่อยมีคนพูดถึงนั่นเอง
เพราะท้ายที่สุดเราอาจไม่ได้ต้องการให้มีวัคซีนชนิดแรกออกมาให้เร็วที่สุด
แต่เราต้องการเพียงแค่วัคซีนที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับทุกๆคนครับ
References :

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา