12 ส.ค. 2020 เวลา 22:44 • ประวัติศาสตร์
ช_๐๒๘_วัดเจดีย์เหลี่ยม เวียงกุมกาม
◇ตามรอยโคลงครู นิราศหริภุญชัย◇
๔๕๏อารามรมเยศเมิ้น...มังราย
นามกู่คำหลวงหลาย...เช่นท้าว
หกสิบเสียมผู้ยาย.......ยังรอด รามแฮ
แปงคู่นุชน้องเหน้า......นาทโอ้โรทาฯ
๔๖๏ชินพิมพ์เพิ้งเจตสร้าง..สมาธี อยู่แฮ
โอ้อำรุงเรียมรี.................ร่ำไหว้
ขอพรอาดอาที................เทียมพี่ คะนึงรา
สองเสร็จถวายให้ได้........แต่ช้อนสิเนหา ฯ
นิราศหริภุญไชย ๔๕~๔๖
...ขอยกโคลงครูคือนิราศหริภุญไชยที่กล่าวถึงกู่คำหลวงตลอดจนการเดินทางจากเชียงใหม่ไปลำพูนมาเป็นต้นทางในการเขียน
..๏ชินพิมพ์อันครูอ้าง....ในโคลง
ปรุงแปงถ้วนผูกโยง.......ที่อ้าง
เฉกเหมือนก่อนกรรโลง..ใจชื่น
เอิบอาบอิ่มเสกสร้าง.......พุทธกล้ากลางใจฯ
..๏สิงคีคำอันเสียดค้ำ...กลางคาม
แปงเวียงมังรายยาม.....แกว่นแกล้ง
ท่ามน้ำท่วมคามตาม.....ผันแปร
ฉาดเฉิดคำเปล่งแจ้ง.....วาบนั้นยันแมนฯ
..๏เงาลวปุระงำเงื้อม........คลุมปก
รอยแห่งหริภุญไชยตก....รายรื้อ
ทรงเหลี่ยมเจดีย์โยนก.....ขามสมัย
แต่งเติมรอยม่านยื้อ.........เช่นโน้นกลายคืนฯ
..๏ใหญ่งามโอ่พูนทั้ง....กุมกาม
กู่คำหลวงเจดีย์นาม......ปธานชี้
โอ๋รอยอดีตต่อจาม-......เทวีมั่น
เฉกเชิงกู่กุดนี้..............เอกอ้างอิทธิพล ฯ
....แม้ต้นทาง ของกู่คำหลวง ในเวียงกุมกามแห่งนี้ จะเกิดจากอิทธิพลตรง ของเจดีย์กู่กุด หรือเจดีย์จามเทวี อันเป็นศิลปะสมัยหริภุญชัยก็ดี แต่สิ่งที่เห็นในปัจจุบัน โดยเฉพาะการตกแต่งประดับประดา กลับมีอิทธิพลของพม่าเข้าไป ในเรื่องนี้จากประวัติ ของการบูรณะเจดีย์องค์นี้ ว่ามีศรัทธาโยมที่บูรณะในรุ่นหลังเป็นชาวพม่า จะว่าไปแล้วเชียงใหม่พม่า และแม้แต่กรุงเทพฯ ก็มีอิทธิพลกับไปกลับมาในช่วงเวลายาวนานของประวัติศาสตร์ล้านนา
วัดเจดีย์เหลี่ยมนั้น กลายเป็นสัญลักษณ์ของเมืองโบราณเวียงกุมกาม เวียงกุมกามที่ยังมีแง่มุมทางประวัติศาสตร์ ให้เราสืบหาและค้นคว้ากันอีกมาก
*กู่คำหลวง_ชื่อเดิมของวัดเจดีย์เหลี่ยม
..๏กุ๋มก๋วมกุมกวมเร้น..........ไฉนแปลง
กุ่มกวมคร่อมทับน้ำแสร้ง......นามนั้น
กุมกามป้องคามแย้ง.............ชื่อก่อน
สองชื่อสองเคี่ยวคั้น..............จารแกล้งขัดทางฯ
โคลงชมวัด
ทางแก้ว
โฆษณา