28 ก.ค. 2020 เวลา 16:29 • การตลาด
ถอดบทเรียนการตลาดที่ดี กับ LEGO แบรนด์ของเล่นที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด
ถ้าพูดถึง LEGO ก็คงไม่พ้นของเล่นที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการมากที่สุดอันนึงเลย
สารภาพว่าเราเป็นคนนึงที่ต่อ LEGO ไม่เคยสำเร็จด้วยตัวเองเลย (มันทั้งใช้ความอดทน ความคิดสร้างสรรค์ มากกว่าที่เราคิดไว้มากก)
แต่เราก็เคยไปช่วยเพื่อนต่อ เลโก้ เป็นโครงสร้างของตึกอยู่บ่อยๆ สนุกดีนะ โดยเฉพาะเวลาสร้างเสร็จแล้ว กลับมามองดูมันก็แอบภูมิใจเหมือนกันนะเนี่ย (ถึงแม้ว่าเพื่อนจะเป็นพระเอกในการต่อมากกว่าเราก็ตาม 5555)
ตัว Dubai 21052 นี้คือชุดตึกล่าสุดที่เราพึ่งต่อกับเพื่อนเสร็จไป ไม่ใช่ภาพแรกแบบเมืองแบบนั้นนะเพื่อนๆ 555 (อันนี้ภาพประกอบจาก Google น้าา)
วันนี้เราเลยหยิบ memory ของการต่อเลโก้ขึ้นมาพร้อมคำถามว่า
เอ้ออ ทำไมเพื่อนๆของเราที่อายุก็ 30 ปีแล้ว ยังมานั่งต่อเลโก้อยู่ ?
แล้วทำไมเวลาที่ไปบ้านเพื่อนคนนี้ทีไร ทุกคนต้องมาช่วยรุมต่อเลโก้ collection เมืองใหม่ๆอยู่เรื่อย ?
แล้วทำไมอีกกกเพื่อนคนนี้ถึงได้ซื้อเมืองเลโก้ใหม่ๆมาต่อตลอดนะ ถึงแม้ว่าจะต่อเมืองเสร็จแล้วจะไม่มีที่เก็บก็ตาม ? (คือบ้านมันใหญ่ระดับนึงนะ แต่ไม่ได้มีไว้เก็บเมือง LEGO)
มาๆ เราขอมาย่อยให้เพื่อนๆอ่านกันว่า LEGO เค้ามีวิธีทางการตลาดอย่างไรบ้าง ?
รู้จักกับ LEGO สั้นกันก่อน
- คิดค้นโดย Ole Kirk Christiansen ในปี 1932
- LEGO brick ชุดแรกผลิตจากไม้ และไม่ได้เป็นตัวต่อนะ คือเป็นทรงตามวัตถุเลย
First LEGO in wooden toy
- ปี 1949 ก็ได้มีการผสมผสานและเปลี่ยนรูปแบบของ LEGO ให้เป็น Wooden brick
- และต่อมาในปี 1958 จึงเริ่มหันมาใช้ LEGO brick แบบ plastic ที่ทนทาน และสามารถประกอบได้หลายรูปทรงมากกว่าไม้
- ในปี 1999 เจ้า LEGo นี้ละก็ไดถูกขนานนามจาก Fortune Magazine ว่าเป็นของเล่นอันดับ 1 ใน ศตวรรษ เลยย เรียกได้ว่าเป็น Apple แห่งวงการของเล่นเลยทีเดียว
ในปี 1949 Wooden brick
บทเรียนการตลาด (Marketing) ที่ดีจาก LEGO มีอะไรบ้างละ ?
1. ให้ลูกค้าผู้ต่อ LEGO มีส่วนร่วมในการสร้างแบบ design ของ LEGO ด้วย Crowdsourcing
- ก็คือ LEGO เค้าให้เพื่อนๆเนี่ยส่งไอเดีย หรือ การประกวด กิจกรรมต่างๆ เข้ามากับทาง LEGO ถ้าผลงานของเพื่อนๆอันไหนมียอดไลค์มากกว่า 10,000+ ก็อาจจะมีข่าวดีว่า ตัวค้นแบบ LEGO ที่มาจากความคิดของเพื่อนๆ อาจจะได้รับเลือกผลิตเป็นสินค้าของ LEGO เลย
- ไอเดียนี่เริ่มต้นในปี 2011 และมีผลงานชิ้นโบว์แดงที่ถูกรับเลือกนำมาผลิตมากมาย เช่น Back to the Future
https://ideas.lego.com/howitworks
Back to the Future ตัว Time machine
- หรือเพื่อนๆอาจจะคุ้นหูกับไอเดียของ Crowdsourcing ที่เป็น
- ถ้าเป็นพวกบริษัทแนว Technology / innovation เพื่อนอาจจะคุ้นหูในชื่อโปรเจคอย่าง Hackathon ที่เป็นแข่งขันการประกวด design และ idea เนอะ !
- ด้วยวิธีแบบนี้เอง แน่นอน ลูกค้าทุกคนก็ตั้งใจต่อเลโก้และนำเสนอไอเดียตัวนะสิน่ะ !
2. เปลี่ยนจากมุมมองแบบ Transactional สู่ Customer-centric
- ก็คือในช่วงก่อนปี 1999, LEGO เค้ามุ่งมั่นในรูปแบบของ transactional result มากๆ ก็คือ ชั้นต้องทำยอดขายให้ได้เท่านี้ ! ชั้นต้องเพิ่มฐานตลาดลูกค้าให้ได้มากเป็นกี่เท่าของปีก่อนหน้านี้ ! และ product ชั้นดีที่สุด ไม่ว่าชั้นจะทำอะไรออกมา ลูกค้าต้องชอบ
- ในมุมมองของเราคือ transactional focus result= ตัวเอง (ถ้าเพื่อนๆมีความเห็นแบบอื่นก็คอมเม้นบอกได้น้า)
และสิ่งที่เลโก้เป็นมาก่อนจะถึงปี 1999 คือเค้าโฟกัสแค่ตัวเองเท่านั้น
- Jake McKee หัวหน้าทีมของ LEGO’s community team ในช่วงปี 2000-2006 ยังได้ออกมายอมรับว่า "ตอนนี้พวกเราไม่ได้รู้จักแฟนๆของ LEGO จริงๆแล้ว ว่าเค้าอยากได้อะไร อยากต่ออะไร อยากสร้างสรรค์ผลงานอย่างไร ?
- และพี่ Jake คนนี้เองที่เป็นคนพา LEGO ไปสู่คำว่า business-to-consumer
และทำให้ LEGO รู้ตัวแล้วว่า ลูกค้าของเค้าจริงๆไม่ใช่เด็กเล็กในวัยอนุบาล แต่คือผู้ใหญ่ที่โตแล้วนี่ละ หรืออาจจะเป็นวัยรุ่นที่โตมากับของเล่นไม้ในยุค Wooden Toy ซึ่งก็คือผู้ใหญ่อายุ 30 ขึ้นทั้งนั้นเลย
- ผู้คนเหล่านี้ก็ Loyalty customer สำหรับ เลโก้ที่ยิ่งใหญ่ หากเรา focus แค่เพียงของเล่นเด็ก เราก็จะแคบอยู่แค่นั้น และเสียกลุ่มลูกค้าที่รักเรามากที่สุดไป
- โอเคคค ทีนี้เราเลยร้อง "อ้อออ!" ว่าทำไมเพื่อนเราและรวมถึงเราเองถึงได้ชอบต่อเลโก้สนุกๆในเวลาพักผ่อน ไม่แปลกใจแล้วที่เด็กยุค 90s อย่างเราถึงมีภาพดีๆเกี่ยวกับของเล่นนี้ และการที่เค้าพัฒนารูปแบบมาสู่ความท้าทายแบบผู้ใหญ่ มันดึงดูดเราแบบนี้นี่เองงง
3. ต่อ LEGO for FREE สำหรับน้องๆ
- อันนี้เพื่อนๆหลายคนน่าจะเคยสัมผัสประสบการณ์การไปเดินเล่นในแผนกของเล่น แล้วต้องนั่งต่อเลโก้สนุกๆในมุมขายของเล่นกันมาแล้วละ
- จริงๆตามโรงแรม 5 ดาว เค้าจะมีพวก Kid's club แล้วก็มีเลโก้ให้นั่งต่อนะ แต่อันนั้นโรงแรมเค้าเสียเงินซื้อมานะจ้าาา (อย่าสับสนกันนะ 555)
- กลับมาที่มุมขายของเล่น แล้วมีมุมต่อเลโก้ฟรีๆให้น้องๆได้มาปล่อยไอเดียต่อเล่นๆกัน
- ซึ่งจะบอกว่า บริษัท LEGO เอง เค้าไม่ได้คาดหวังแค่ให้น้องๆมานั่งต่อนะ แต่รวมถึงผู้ปกครอง หรือครอบครัวที่เป็นคนที่โตแล้ว (Adult) เนี่ยมานั่งเล่น นั่งต่อขำขำ แต่อาจจะชอบของเล่นที่สร้างสรรค์แบบนี้ได้ !
- คล้ายๆกับ ของเล่นชิ้นอื่นๆ ที่มีให้ลอง Demo (แม้กระทั่งรถยนต์ยังมี Demo ให้ลองขับเลยยย)
- มากกว่านั้นคือ LEGO ยังสามารถสำรวจได้ด้วยว่า รูปแบบการต่อแบไหนที่ Hit หรือเป็น Trend จากการที่เค้าต่อทิ้งไว้บนโต๊ะ หรือแม้กระทั่ง ผลิตภัณฑ์ในแบบไหนที่ถูกนำไปใช้ต่อเล่น(แบบฟรีๆ)กันมากที่สุด
มุมของเล่น ต่อเลโก้ฟรี จาก Central Patong Phuket
4. Content Marketing ที่ยอดเยี่ยมด้วยการสร้างหนังของตัวเอง
- นาทีนี้คงปฏิเสธเค้าไม่ได้แล้วละ ไม่ว่าจะเป็น Video ads ต่างๆที่ออกมาพร้อมกับ Design ใหม่ๆของเจ้าเหล่าเลโก้
- ลิขสิทธ์ตัวการ์ตูนต่างๆที่เลโก้ไปมีส่วนร่วม
- หนังของ LEGO Movie เองที่มีผลิตมาเอาใจแฟนๆ (แถมยังขายได้อีกแน่ะ) ตัวอย่างที่ดีคือ the LEGO Batman Movie ซึ่งในเว็ปวิจารณ์อย่าง Rotten Tomatoes ซึ่งได้รับการโหวตถึงว่ายอดเยี่ยมถึง 96%
the LEGO Batman Movie
- ผลเล็กๆที่เลโก้ได้ตามมาจากการทำ Movie แบบนี้คือ ยอดไลค์ที่เพิ่มขึ้นมาต่อการ post รูปภาพราวๆ 15k-22k ต่อ 1 รูปภาพ ถ้าเทียบจากเมื่อก่อนทำโปรโมทด้วยหนังคือแค่ 5k-7k เท่านั้น และไม่ได้เพิ่มขึ้นเพราะฐานตลาดไม่ขยายนั้นเอง
จบแล้วจ้าาาา เป็นไงมั้งเพื่อนๆ ? อ่านสนุกและได้ความรู้กันไหมเอ่ยย ?
เราว่าเราเขียนเรื่องนี้ เรายังสนุกเลย เราก็หวังว่าคงคุ้มกับเวลาอ่านสั้นๆและเป็นอาหารสมองของเพื่อนๆกันเหมือนเดิม :))
โฆษณา