Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ออกแบบ พูดคุย
•
ติดตาม
11 พ.ย. 2020 เวลา 07:43 • ศิลปะ & ออกแบบ
บ้านตรงใจ...ไม่ตรอมใจ (ตอนที่ 4)
การหาทีมงาน มีอะไรต้องดูบ้าง
เมื่อเราต้องการจะหาทีมงานมาทำบ้านให้เรา ผมขอแยกใหญ่ๆ ได้. 2 ทีมคือ
ทีมผู้ออกแบบ และ ทีมผู้รับเหมาก่อสร้าง เป็น 2 ทีม
โดย ทีมผู้ออกแบบ เป็นหัวใจของการได้มาซึ่งบ้านหรืออาคารหรือ โครงการต่างๆที่ตรงใจ ตรงวัตถุประสงค์มากขึ้น เพราะผู้ออกแบบจะเป็นกลุ่มคนที่มารับฟังข้อมูล ค้นหาความต้องการที่แท้จริงของโครงการ รวมไปถึงวางแผนการให้ได้มาซึ่งเป้าประสงค์ของโครงการ
ในขณะที่ ผู้รับเหมา จะเป็นทีมงานที่ทำการก่อสร้าง ให้ลายเส้นบนกระดาษกลายมาเป็นอาคารที่ใช้งานได้จริง
ในการหาทีมงาน เราควรดูอะไรบ้าง
ทีมออกแบบ
1.ทีมออกแบบเป็นบุคคล(ฟรีแลนซ์)หรือจะมาในรูปบริษัทก็ได้ แต่ขอให้มีความน่าเชื่อถือ โดยอาจจะมาจากคนอื่นแนะนำหรือเจอจากแแหล่งที่เชื่อถือได้
2.ผลงานการออกแบบที่ผ่านมาเป็นในแนวทางที่เราชอบ อาจจะไม่ใช้ทั้งหมดหรือทุกงาน แต่อย่างน้อยเมื่อขอดูผลงานที่ผ่านมา(ในวงการมักเรียก Portfolio) แล้วเราพอใจในผลงานของเค้าบ้างบางชิ้นก็ยังดี
3.ServiceMind อันนี้ควรพูดคุยแล้วรับรู้ได้ถึงความรู้สึกนี้ ใช่ที่เราอาจจะไม่สามารถหาคนในวิชาชีพนี้ที่มี servicemind ได้สูงในระดับที่เหมือนพนักงานบริการตามร้านต่างๆแต่ควรมีบ้าง
4.สอบถามเรื่องค่าบริการออกแบบและขอบเขตของการทำงานหรือการออกแบบ เพื่อให้งานต่างๆครอบคลุมในค่าบริการนั้นๆจะได้ไม่ต้องมาทะเลาะกันที่หลัง
จากมาตราฐานปฎิบัติวิชาชีพและประสบการณ์ ถ้าสถาปนิกคิดค่าบริการที่สูงกว่าหรือเท่ากับที่สมาคมสถาปนิกกำหนดไว่้ ควรได้รับบริการที่ครบตามที่สมาคมกำหนดได้เช่นกัน
(ตารางข้างล่างคือค่าบริการวิชาชีพที่สมาคมกำหนด)
ข้อมูลจากเว็บ dsignsomething.com หมายเหตุ ปัจจุบันมีการแบ่งงบประมาณตามความยากง่าของงานเพิ่มเติมด้วย
หากแต่ว่าสถาปนิกที่เป็นฟรีแลนซ์ส่วนมากมักจะคิดค่าบริการถูกกว่าที่สมาคมกำหนดและกำหนดขอบเขตงานที่จะทำไม่ครบถ้วนเช่นกัน เพื่อให้ภาระงานสมดุลย์กับค่าออกแบบที่เรียกเก็บ
ซึ่งไม่ว่าจะกรณีใดๆ พบว่าเจ้าของงานมักจะมองว่าค่าแบบแพง เช่นบ้านราคา 3ล้านบาทถ้าคิดตามอัตราข้างบนจะเสียค่าบริการ 225,000 บาท ซึ่งในค่าบริการนี้จะเป็นค่าจ้างทีมงานออกแบบทั้งหมด เช่นวิศวกรโครงสร้าง วิศวกรระบบไฟฟ้า วิศวกรระบบสุขาพิบาล รวบไปถึงการจัดทำเอกสารแบบและเอกสารประกอบต่างๆตามที่ตกลง
จากประสบการณ์ในการประกอบวิชาชีพ มันจะได้ยินบ่อยๆว่า "ทำไมค่าแบบแพงจัง แค่กระดาษไม่กี่แผ่น" เลยขอชี้แจงไว้ ณ ที่นี้ว่า กว่าจะออกมาเป็นแบบที่เจ้าของเห็น สถาปนิกและทีมงานต้องออกแบบในแง่มุมต่างๆมากมาย เช่น ในแง่ของการใช้พื้นที่ ทำอย่างไรให้เจ้าของเสียเงินแล้วสามารถมีพื้นที่ใช้สอยที่เต็มเม็ดเต็มหน่วยที่สุด ห้องต่างๆอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม เปิดรับลมหรือแสงธรรชาติได้ ไม่ต้องเปิดแอร์หรือไฟแสงสว่างตลอดทั้งวัน เพื่อลดค่าไฟลง หรือการนำเสนอแนวคิดที่ช่วยส่งเสริมให้บ้านหรืออาคารนั้นๆมีลักษณะที่น่าสนใจหรือสามารถตอบโจทย์ที่เจ้าของตั้งไว้ได้เป็นอย่างดีหรือดีกว่าที่คาดหวัง การจัดการแก้ปัญหาต่างๆที่สามารถคาดการณืได้ว่าจะเกิดขึ้นบนกระดาษหรือแบบ การเลือกวัสดุให้เหมาะสมในการใช้งานและสวยงามในเวลาเดียวกัน การจัดทำแบบร่างและทัศนียภาพมาใ้ห้เจ้าของได้ดูก่อนที่จะทำการจัดทำแบบละเอียด เพื่อให้ปรับแก้ได้จนตรงกับความต้องการของเจ้าของที่สุดทั้งในแง่ค่าใช้จ่ายและสไตล์ที่ชอบ พอได้แบบที่สรุปรียบร้อยแล้วสถาปนิกยังต้องจัดทำรายละเอียดอื่นๆประกอบเพื่อใช้ในการยื่นขออนุญาตปลูกสร้างและใช้ในการก่อสร้าง ในขณะเดียวกันวิศวกรรต่างๆก็ต้องนำแบบขอสถาปนิกไปดำเนินการในส่วนของตัวเองเพื่อให้ได้เป็นแบบประกอบครบถ้วนสำหรับใช้ในการก่อสร้าง
จึงอยากให้เจ้าของงานต่างๆเข้าใจในการทำงานและความจำเป็นในการคิดค่าแบบตามที่สมาคมกำหนด หากจ่ายไม่ไหวให้พูดคุยกันอย่างเปิดเผยปรับลดงานที่จะให้ทำกันไป จนกว่าจะเกิดจุดสมดุลย์ ดีกว่าจะใช้วิธีเบี้ยวค่าแบบ
5.หากเจ้าของมีความเชื่อเรื่อง ฮวงจุ้ย เจ้าของควรนำซินแสมาเป็นที่ปรึกษาแต่เนิ่นๆ ตั้งแต่เริ่มออกแบบ ดีกว่าเอาแบบที่ตกลงแล้วให้ซินแสดูภายหลัง เพราะซินแสบางประเภทจะพูดอย่างเดียวว่าต้องทุบโน่น ปรับนี้ หันไปทิศนั้นนี้ ถึงจะดี ซึ่งมันจะเกิดการแก้ไขแบบจากที่ตกลงอนุมัติไปแล้ว นอกจากเจ้าของจะเสียเวลาในการแก้ไขแบบ สถาปนิกยังสามารถคิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมได้ ในขณะที่ยังมีซินแสบางคน ใช้วิธีปรับแต่งหรือหาอะไรมาวางเพื่อเสริมฮวงจุ้นแทน เช่นวางกระถางต้นไม้ หรือการวางวัตถุมงคลแทน ซึ่งการแก้ในลักษณะนี้มักไม่กระทบกับแบบที่ได้ออกแบบไปแล้ว
ในการเลือกผู้รับเหมาก่อสร้าง จะมีข้อพิจารณาคล้ายๆกับการคัดเลือกผู้ออกแบบ แต่ในความคิดเห็นของผู้เขียน ควรเน้นที่ผู้รับเหมาที่เรารู้จักหรือได้รับการแนะนำมาว่าไว้ใจได้ไม่ทิ้งงาน แม้จะไม่ใช่การรับประกันที่ 100% แต่ก็ยังดีกว่าเราเสี่ยงกับการทำงานกับทีมที่ไม่รู้จัก อีกอย่างประสบการณ์ในการก่อสร้างก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องพิจารณา เช่น ไม่ควรเอาผู้รับเหมาที่ทำเฉพาะงานบูธหรือคีออส(Kiosk)มาทำการก่อสร้างอาคาร เพราะประสบการณ์ของทีมเหล่านี้จะไม่พอที่จะเข้าใจหรือคาดการณ์ปัญหาที่จะเกิดขึ้นในการทำงานหรือที่เกิดขึ้นจากแบบได้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาทั้งกับงานก่อสร้างและเจ้าของงานได้พร้อมๆกัน
หวังว่าข้อเขียนนี้คงช่วยให้แนวคิดหรือข้อพิจารณาสำหรับ ท่านที่กำลังจะทำการก่อสร้างบ้าน หรือจะตกแต่งต่อเติมบ้าน หรืออาคารต่างๆได้นะครับ
หากมีข้อสงสัยใดๆ สอบถามได้นะครับ
บันทึก
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
บ้านตรงใจ...ไม่ตรอมใจ
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย