Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เล่า
•
ติดตาม
2 ก.ย. 2020 เวลา 14:19 • หุ้น & เศรษฐกิจ
นักเศรษฐศาตร์: เมื่อหนี้สินที่เติบโต มากกว่า > รายได้
ทำให้เกิด "วงจรหนี้ระยะยาว" และ
ในขณะที่ผู้คนต่างมีหนี้สินมากขึ้น
ผู้ปล่อยกู้ ก็ปล่อยกู้ได้ง่ายขึ้นเช่นกัน
นักศึกษา: ก็เป็นเหตุการณ์ที่ดีหนิครับ แล้วมันเกิดอะไรขึ้นหรอครับ
นักเศรษฐศาสตร์: เหตุการณ์นี้จะยิ่งทำให้หนี้เพิ่มมากขึ้น งั้นพี่ถามเราบ้างว่าทำไมถึงมีคนกล้าปล่อยกู้ให้เรามากขึ้นด้วยละ
1
ในเมื่อมีความเสี่ยงสูงมากขึ้นในการที่เขาจะเบี้ยวหนี้เรา หรือจ่ายหนี้เราไม่ได้
นักศึกษา: เออ ใช่ครับ ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน
นักเศรษฐศาตร์: เพราะขณะนั้น ทุกคนคิดว่าทุกอย่างกำลังไปได้สวย ผู้คนสนใจแต่เพียงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน
แล้วในขณะนั้นกำลังเกิดอะไรละ
รายได้เติบโต, ราคาสินทรัพย์เติบโต, ตลาดหุ้นพุ่งทะยาน -> มันคือ Boom Market
ผู้คนจ่ายเงิน เพื่อซื้อ สินค้า บริการ และสินทรัพย์ทางการเงินต่างๆ ด้วยเงินที่กู้ยืม
เมื่อผู้คนยิ่ง กู้ยืม เพื่อใช้ในกิจกรรมเหล่านี้ เราเรียกมันว่า "ฟองสบู่" (เป็นเพียง Demand เทียม จากการกู้ยืม)
ดังนั้น เมื่อหนี้สินเติบโต รายได้ก็ควรเติบโตได้มากเท่ากับหนี้เช่นกัน
เราเรียกการเปรียบเทียบนี้ว่า "อัตราส่วนหนี้ต่อรายได้" หรือว่า "ภาระหนี้สิน (Debt Burden)"
ดังนั้นตราบใดที่ รายได้เติบโต และหนี้สินเติบโตในระดับที่ควบคุมได้
แถมในขณะนั้น ราคาสินทรัพย์ในตลาดต่างเติบโต ผู้คนก็จะยิ่งอยากกู้ยืมเงิน เพื่อไปซื้อสินทรัพย์ และลงทุน ทำให้ ราคายิ่งพุ่งสูงขึ้นไปอีก
ผลที่ได้คือ ผู้คนรู้สึกว่าตัวเองมั่งคั่ง
นักศึกษา: แต่มันก็คงไม่สามารถเป็นแบบนี้ได้ตลอดไปหรือเปล่าครับ
นักเศรษฐศาสตร์: ใช่แล้วละ เมื่อเวลาผ่านไปนานๆ (10 ปี+) ภาระหนี้สินที่เพิ่มขึ้นช้าๆ ยิ่งทำให้ รายจ่ายในการชำระหนี้ ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ
ถึงจุดหนึ่ง การเติบโตของรายจ่ายชำระหนี้สินอาจเริ่มมากว่ารายได้ ทำให้คนต้องลดการใช้จ่าย เพื่อให้ตัวเองสามารถชำระหนี้ได้
และนี้ก็เป็นอีกครั้งที่ การใช้จ่ายของหนึ่งคน คือรายได้ของอีกคน รายได้โดยรวมก็จะเริ่มปรับตัวลง
ในขณะที่ ภาระการชำระหนี้ไม่ได้ลดลง เพราะมีระยะเวลา ก็จะยิ่งทำให้การใช้จ่ายยิ่งลดลงเร็วกว่าเดิม
สุดท้าย วงจรทั้งหมด ก็จะพลิกกลับเป็นอีกด้าน
นี้คือจุดสูงสุดของปริมาณหนี้สิน (Debt Peak)
นักศึกษา: แล้วเราเคยเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นบ้างไหมครับ
นักเศรษฐศาสตร์: พี่ขอยกตัวอย่างในสหรัฐอเมริกาเคยเกิดเหตุการณ์ Debt Peak ขึ้นเช่น ในปี 2008
ในญี่ปุ่นก็เคยเกิดขึ้นเช่นกัน เมื่อปี 1989 (Lost Decade)
กลับมาที่สหรัฐอเมริกาอีกครั้งย้อนไปก่อนหน้าปี 2008 ก็เคยเกิดหตุการณ์ทำนองนี้เช่นเดียวกัน เรียกเหตุการณ์นั้นว่า Black Monday ในปี 1929
ซึ่งนำพาเศรษฐกิจไปสู่สิ่งที่เรียกว่าการ "Deleveraging"
ในภาวะ Deleveraging: ผู้คนลดการใช้จ่าย -> รายได้ลดลง -> เครดิตหายไป -> ราคาทรัพย์สินลดลง -> ธนาคารเริ่มถูกบีบ (สภาพคล่อง)
ตลาดหุ้นเริ่มดิ่ง -> ความตรึงเครียดในสังคมเพิ่มสูงขึ้น (เพราะเศรษฐกิจไม่ดี) และทุกอย่างเริ่มทำงานแบบกลับข้าง
นักศึกษา: แล้วอย่างทุกวันนี้ละครับ หรือว่ามันไม่เหมือนกัน
นักเศรษฐศาสตร์: พี่ว่าเรามาทำความเข้าใจในภาวะปกติกันก่อน ก่อนที่เราจะมาประเมินสถานการณ์ในปัจจุบันนี้ เพราะยังมีหลายปัจจัยมากที่เรายังไม่ได้รู้จัก และเข้าใจกับมันมากพอ
เราลองมาดูที่รายได้ของผู้คนลดลง แต่รายจ่ายในการชำระหนี้ยังคงเพิ่มขึ้น การกู้ยืมเริ่มถูกบีบ
เครดิตเริ่มแห้งเหือด และผู้ขอกู้ไม่สามารถกู้เงินเพิ่มเติม เพื่อมาชำระหนี้ได้อีกต่อไป
เมื่อไม่สามารถชำระหนี้ได้ ผู้ขอกู้ ก็จะถูกบังคับให้ขายสินทรัพย์เพื่อมาชำระหนี้
คนที่เป็นหนี้หลายๆ คนถูกเร่งให้ขายสินทรัพย์ ในขณะที่กำลังซื้อน้อยลง (Supply มหาศาล ในขณะที่ Demand ลดลง)
ยิ่งเป็นเหตุทำให้ ตลาดหุ้นพังทลาย, ตลาดอสังหาเริ่มแย่ และกระทบธนาคารในที่สุด
พอราคาสินทรัพย์ลดลง มูลค่าของสินทรัพย์ที่ผู้ขอกู้ ใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันก็ลดลงตาม ยิ่งทำให้ผู้ขอกู้น้อยลงไป
ผู้คนรู้สึกจนลง เครดิตลดลงอย่างต่อเนื่อง
นักศึกษา: การใช้จ่ายน้อยลง... รายได้น้อยลง... ความมั่งคั่งลดลง (ราคาสินทรัพย์ลดลง)... เครดิตลดลง... การกู้ยืมลดลง...
ก็ดูเป็นวงจรที่เรียกว่าการชะลอตัว (Recession) จริงๆ
นักเศรษฐศาสตร์: ในตรงนี้มีจุดที่แตกต่างกับ การชะลอตัว อยู่ เพราะ การลดอัตราดอกเบี้ย ไม่สามารถช่วยเหลือได้แล้ว
ในช่วงการชะลอตัวปกติ การลดดอกเบี้ย ช่วยกระตุ้นให้เกิดการกู้ยืม
แต่ในสภาวะ Deleveraging การลดดอกเบี้ยไม่ช่วย แม้ว่าดอกเบี้ยจะต่ำติดดิน แทบ 0% หรือติดลบ
การกระตุ้นด้วยวิธีนี้ก็ไม่ได้ผล
นักศึกษา: จริงหรอครับพี่
นักเศรษฐศาสตร์: เพราะอัตราดอกเบี้ยในสหรัฐอเมริกา เคยปรับเหลือ 0% ในช่วง Deleveraging ในปี 1930 และอีกครั้งในปี 2008 มาแล้วทั้งสองครั้ง
ดังนั้นความแตกต่างระหว่าง การชะลอตัว กับ Deleveraging คือ
ใน Deleveraging ภาระหนี้สินของผู้กู้มีปริมาณมากเกินไป และไม่สามารถช่วยได้โดยการลดดอกเบี้ย
ผู้ให้กู้ก็มองว่า แค่มูลค่าหนี้ปัจจุบันก็ใหญ่เกินกว่าจะชำระคืนได้หมด
ทำให้ ผู้ขอกู้ สูญเสียความสามรถในการชำระหนี้ และสินทรัพย์ค้ำประกันก็ยิ่งราคาลดลง (โดนบังคับขาย)
จนสุดท้าย เริ่มกลัวการเป็นหนี้
พวกเขาไม่ต้องการหนี้เพิ่มเติมแล้ว
ผู้ปล่อยกู้ เลิกปล่อยกู้... ผู้ขอกู้ เลิกขอกู้...
นักศึกษา: งั้นเราจะจัดการกับภาวะที่เรียกว่า Deleveraging นี้ยังไงดีละครับ
นักเศรษฐศาสตร์: ปัญหามันอยู่ที่ ปริมาณหนี้สิน มากเกินไป แล้วเราจะลดมันได้อย่างไร
มีอยู่ 4 วิธี ด้วยกัน
1. ภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจ และภาครัฐ "ลดการใช้จ่าย"
2. การลดหนี้ จากการผิดนัดชำระ และการปรับโครงสร้างหนี้ใหม่
3. ความมั่งคั่งถูกถ่ายโอน จากคนรวย สู่คนจน (ลดความเหลือมล้ำ) และ
4. ธนาคารกลางพิมพ์เงินเพิ่มเติมในระบบ
นักศึกษา: พี่ครับผมอยากรู้ในกรณีที่ 4 ก่อนได้ไหมครับ ว่ามันมีกลไกอย่างไร
นักเศรษฐศาสตร์: ใจเย็นๆ ครับ ในแต่ละช่วงจะมีกลไกของมันที่สัมพันธ์กัน และทุกข้อมักจะเกิดขึ้นเกือบทุกครั้งในสภาวะ Deleveraging
"เล่า" นี้ อาจดูคล้ายกับหลายๆ เหตุการณ์ที่ปรากฎขึ้นในช่วงเวลาไม่นานมานี้
1
เราล้วนเห็นธุรกิจน้อยใหญ่มากมาย เคลื่อนที่ปรับเปลี่ยนตัวเองอย่างรวดเร็ว
ที่ต้องระวังคือเราเคลื่อนที่ไปทิศใด
การดำเนินธุรกิจไปผิดทาง ลงทุนกับเทคโนโลยีที่กำลังจะกลายเป็นอดีต โดยใช้ชุดความคิดเก่า นี่คือจุดที่จะทำให้ธุรกิจจำนวนไม่น้อยต้องบาดเจ็บล้มตาย
นี่แหละคือส่วนผสมของกระแสลมดิจิทัลเทคโนโลยีกับวิถีชีวิตใหม่
การเพิ่มขึ้นของหนี้สิน การหยุดชะงักและการกระตุ้นเศรษฐกิจ โควิด-19 ผู้คนที่จับจ่ายใช้สอย ผู้คนที่กำลังเกษียณ สงครามการค้า สงครามเทคโนโลยีต่างๆ และการลงทุน
ยุคที่มนุษย์จะมองโลกด้วยสายตาที่เปลี่ยนไป และเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างโลกที่เปลี่ยนแปลง จากโลกเก่าไปสู่โลกใหม่ จากอดีตไปสู่อนาคต...
Reference:
https://www.youtube.com/watch?v=PHe0bXAIuk0&t=1182s
31 บันทึก
56
12
39
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
อนาคต กับ เรื่อง "เล่า"
31
56
12
39
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย