9 ส.ค. 2020 เวลา 08:15 • การศึกษา
คำไทย “ชมพู่” … คำใคร?!
ชมพู่ ถือได้ว่าเป็นผลไม้ที่คนไทยเรานั้นคุ้นชินและชื่นชอบไม่แพ้ผลไม้ชนิดอื่นๆเลยนะเจ้าค่ะ ด้วยเหตุที่รสชาติอันหวานกรอบ และมีกลิ่นหอมของมัน แถมยังเป็นผลไม้ที่ฉ่ำน้ำอีกด้วย ดังนั้นแล้วในเวลาน่าร้อนเมื่อรับทานชมพู่เย็นๆสักผลสองผล จึงเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้อุณหภูมิในร่างกายของเรานั้นเย็นลง และไม่ขาดน้ำได้นั้นเองเจ้าค่ะ
"ชมพู่" นั้นถือได้ว่าเป็นผลไม้ที่ให้คุณค่าและสรรพคุณกับร่างกายของมนุษย์เราอย่างมาก โดยผลของชมพู่นั้นประกอบไปด้วยวิตามินที่มีประโชยน์มากมาย ไม่ว่าจะเป็น วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินเอ วิตามินซี แถมมีสารอาหารและแร่ธาตุอื่นอีก อาทิ โปรตีน แคลเซียม แมกนีเซียม ธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส คาร์โบไฮเดรต โพแทสเซียม กรดโฟลิก ไขมันดี และอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งล้วนแล้วก็มีแต่สารอาหารและแร่ธาตุที่ดีๆทั้งนั้นเจ้าค่ะ
ด้วยเหตุที่มีสารอาหารและวิตามินที่มากมายนี้เอง ชมพู่จึงสามารถช่วยชลอความชรา บำรุงผิวพรรณให้เรานั้นมีออร่าที่เปร่งปรั่งได้ แถมยังมีสรรพคุณที่มากล้น ไม่ว่าจะเป็นการช่วยป้องกันไข้หวัด ช่วยในเรื่องของระบบขับถ่าย ช่วยลดคอเรสเตอรอล ลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันโรคหัวใจ ที่สำคัญคือช่วยสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกายของเราได้เป็นอย่างดีอีกด้วยเจ้าค่ะ
ซึ่งชมพู่นั้นก็มีหลากหลายสายพันธุ์มากมายเลยทีเดียว แต่วันนี้ฉันจะขอแสดงตัวอย่างของพันธุ์และผลของชมพู่เพียงบางพวกเท่านั้นที่ถือว่าอร่อยสุดเจ้าค่ะ
ซึ่งพันธุ์ชมพู่เหล่านั้นก็ได้แก่
1. ชมพู่ทับทิม
2. ชมพู่ทูลเกล้า
3. ชมพู่เพชรสามพราน
4. ชมพู่เพชรสายรุ้ง
5. ชมพู่เพชรสุวรรณ
6. ชมพู่เพชรน้ำผึ้ง
และนี้ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นนะเจ้าค่ะ เพราะว่าชมพู่นั้นยังมีหลากหลายพันธุ์มากๆนะเจ้าค่ะ ยังไงใครมีชมพู่สายพันธุ์อะไรที่นอกเหนือจากนี้ก็ลองแชร์และแสดงความคิดเห็นกันเขามาน๊าเจ้าค่ะ
แล้วพี่ท่านทราบกันหรือไม่เจ้าค่ะ ว่าแท้ที่จริงแล้วเนี่ยคำว่า "ชมพู่" เนี่ย มิใช่คำที่เราใช้กันแต่โบราณดอกนะเจ้าค่ะ หากแต่เป็นคำที่เรานั้นยืมมาจากภาษาอื่นเจ้าค่ะ
แล้วคำไทย “ชมพู่” … มันคำใครกันละ ?
แท้จริงแล้ว คำไทย “ชมพู่” …
คำใคร คือ “คำมาเลย์หรือมลายู” นั้นเองเจ้าค่ะ
เป็นคำที่เรายืมมาจากภาษามลายู คำว่า "Jambu" (จัมบู) ซึ่งหมายถึงผลไม้ชนิดหนึ่งอยู่ในวงของฝรั่งแดงของมาเลย์นั้นเอง
ซึ่งคำว่า "Jambu" (จัมบู) ของมลายูเนี่ยก็เป็นคำที่ไปรับมาจากภาษาบาลี-สันสกฤตคำว่า "ชมฺพุ" (ชัมพู) ซึ่งหมายถึง ผลลูกหว้า หรือ ชมพูทวีป (ทวีปแห่งต้นหว้าใหญ่) อีกทอดหนึ่งนั้นเองเจ้าค่ะ
และนอกจากนี้ในอดีตนั้นเราจะเรียกสีชมพูในเชิงที่แสดงออกถึงสีแดงเข้มออกม่วงอย่างสีของลูกหว้าเจ้าค่ะ แต่ในภายหลังเราก็มานิยามสีใหม่ว่าเป็นสีแดงอ่อนอย่างลูกชมพู่ไปสะอย่างนั้นแทนเจ้าค่ะ
และนี้ก็คือที่มาของคำไทยคำว่า “ชมพู่” ที่เป็นคำของ "มลายูหรือมาเลย์" นั้นเองละเจ้าค่ะ!
และนี้ก็เป็นอีกครั้งที่เมื่อที่มาของ “ไทยแท้” เกินขึ้นจากความหลากหลายนั้นเองเจ้าค่ะ
Le Siam
“สยาม … ที่คุณต้องรู้”
เขียน เรียบเรียงและกราฟิกโดย : Le Siam
ข้อมูลอ้างอิงวิชาการจาก :
- "คำไทย ใครทำ" มิวเซียมสยาม,สถานพิพิธภัณณ์การเรียนรู้แห่งชาติ.
- สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย เอกสารประกอบการสัมมนาเรื่อง Thai Functional Fruits.

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา