1 ก.ย. 2020 เวลา 12:00 • การศึกษา
Functions (ฟังก์ชั่น) ตอนที่ 13
ฟังก์ชั่นพหุนาม (polynomial)
ฟังก์ชั่นพหุนาม (polynomial)
ตัวอย่าง ฟังก์ชั่นพหุนาม (polynomial)
ตัวอย่างของฟังก์ชั่น พหุนาม
ฟังก์ชันตรรกยะ (rational)
เป็นฟังก์ชั่นอัตราส่วนของ 2 พหุนาม
ฟังก์ชั่นตรรกยะ
ฟังก์ชันเอ็กซ์โปแนนเชียล(exponential)
เป็นฟังก์ชั่นที่อยู่ในรูปของ y = ab^x
โดย x เป็นเอ็กซ์โปแนนเชียล ซึ่งไม่ใช่ตัวฐานเหมือนฟังก์ชั่นยกกำลัง (power functions) และ a กับ b เป็นตัวคงที่ ซึ่ง b เป็นตัวยกกำลัง x แต่มิใช่ทั้ง a และ b ที่ยกกำลัง
ถ้าฐาน b มากกว่า 1 จึงเกิดผลของ เอ็กซ์โปแนนเชียล ขาขึ้น (exponential rise)
แต่ถ้าฐาน b น้อยกว่า 1 จะเรียกว่า ขาลง (exponential decay)
ฟังก์ชันเอ็กซ์โปแนนเชียล (exponential)
ฟังก์ชั่นลอการิทึม (logarithmic)
เป็นฟังก์ชั่นที่อยู่ในรูปของ
F(x) = log (x) ฐาน a โดยที่ a เป็นค่าใดใดที่มากกว่า 0 ยกเว้น 1
ดูนิยามของ f(x) ในรูปด้านล่าง
ฟังก์ชั่นลอการิทึม (logarithmic)
โดยทั่วไปแล้ว ฟังก์ชันลอการิทึม
∙ กราฟ อยู่ด้าน x เป็นบวกเสมอและกราฟไม่ข้ามตัดแกน y
∙ กราฟ ตัดแกน x ที่ x = 1 หรือที่ พิกัด (1, 0) เสมอ
∙ f(x) = 1 ที่ x = a หรือ f(x) ผ่านจุด (a, 1) ซึ่ง a เป็นค่าฐานของ log
∙ เป็นฟังก์ชั่น หนึ่งต่อหนึ่ง
∙ โดเมนเป็นจำนวนจริงบวก (0, ∞) และเรนจ เป็นจำนวนจริง
คราวหน้าเราจะมาคุยกันต่อ
Functions (ฟังก์ชั่น) ตอนที่ 14
ฟังก์ชั่นทางตรีโกณมิติ (Trigonometry Function)
วันที่ 3 ก.ย. 2563 19.00 ครับ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา