Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
นำเรื่องมาให้คุณ
•
ติดตาม
27 ส.ค. 2020 เวลา 10:47 • สิ่งแวดล้อม
นำเรื่อง สัตว์สงวน มาให้คุณ
EP.06 ละอง ละมั่ง
Credit: www.thairath.co.th
(ชื่อภาษาอังกฤษ: Brow-antlered Deer, Thamin)
(ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Rucervus eldii thamin)
ละอง ละมั่งเป็นกวางที่มีขนาดใหญ่กว่าเนื้อทราย แต่เล็กกว่ากวางป่า เมื่อโตเต็มวัยมีความสูงที่ไหล่ 1.2-1.3 เมตร น้ำหนัก 100-150 กิโลกรัม ขนตามตัวทั่วไปมีสีน้ำตาลแดง ตัวอายุน้อยจะมีจุดสีขาวตามตัว ซึ่งจะค่อยๆ เลือนกลายเป็นจุดจางๆ เมื่อโตเต็มที่ในตัวเมีย แต่จุดขาวเหล่านี้จะหายไปจนหมดในตัวผู้ ตัวผู้จะมีขนที่บริเวณคอยาว และมีเขาที่มีลักษณะต่างจากเขากวางชนิดอื่นๆ ในประเทศไทย ซึ่งกิ่งที่ยื่นออกมาทางด้านหน้า จะทำมุมโค้งต่อไปทางด้านหลัง และลำเขาไม่ทำมุมหักเช่นที่พบในกวางชนิดอื่นๆ ปลายลำเขาค่อนข้างมีแขนงเขาน้อยกว่า และส่วนใหญ่จะไม่มีแขนงเขายื่นขึ้นมาบริเวณตัวลำเขา
ละอง ละมั่งมี 3 สายพันธุ์ ได้แก่
- พันธุ์อินเดีย หรือพันธุ์อัสสัม หรือพันธุ์มานิเปอร์ พบในจังหวัดมานิเปอร์ของอินเดีย
- พันธุ์พม่า พบในประเทศพม่า ตัวใหญ่กว่าพันธุ์อินเดีย และพันธุ์ไทย มีเขาแตกกิ่งมากที่สุด พบในประเทศไทย และจีน
- เคยมีผู้จำแนกละมั่งในเกาะไหหลำเป็นอีกชนิดย่อยหนึ่งคือ พันธุ์ไหหลำ พันธุ์นี้เขาจะเล็ก และไม่แตกกิ่ง แต่ปัจจุบันถือว่าเป็นพันธุ์เดียวกับพันธุ์ไทย สันนิษฐานว่ามีอุปนิสัยคล้ายกวางบาราซิงกา
ละอง ละมั่งมีนิสัยชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ตัวผู้ที่โตเต็มวัยจะเข้าฝูงเมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ ออกหากินหญ้า ใบไม้ และผลไม้ทั้งเวลากลางวัน และกลางคืน แต่เวลาแดดจัดจะเข้าหลบพักในที่ร่ม ชอบอยู่ตามป่าโปร่ง และป่าทุ่ง โดยเฉพาะป่าที่มีแหล่งน้ำ ขัง
ฤดูผสมพันธุ์ของละอง ละมั่งในธรรมชาติ พบอยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ส่วนละอง ละมั่งที่เพาะเลี้ยงอยู่ตามสวนสัตว์ต่างๆ มักจะไม่มีฤดูผสมพันธุ์แน่นอน แต่ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-มิถุนายน ระยะตั้งท้องนาน 240-244 วัน หรือประมาณ 8 เดือน ออกลูกท้องละ 1 ตัว วัยเจริญพันธุ์ของละมั่งตัวผู้อายุประมาณ 1 ปีขึ้นไป ส่วนตัวเมียประมาณ 2 ปี ขึ้นไป
ละอง ละมั่ง มีเขตแพร่กระจายในประเทศอินเดีย พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม และเกาะไหหลำ ในประเทศไทยอาศัยอยู่ในบริเวณเหนือจากคอคอดกระขึ้นมา
มีรายงานว่าพบละอง ละมั่งเพียง 3 ตัว ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี ละอง ละมั่งจัดเป็นป่าสงวนชนิดหนึ่งใน 19 ชนิดของประเทศไทย และอนุสัญญา CITES จัดอยู่ในบัญชีหมายเลข 1
สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์ เนื่องจากสภาพป่าโปร่ง ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยหลักถูกบุกรุกทำลายเป็นไร่นา และที่อยู่อาศัยของมนุษย์ ทั้งยังถูกล่าอย่างหนักนับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา จึงส่งผลให้จำนวนประชากรของละอง ละมั่งอยู่ในขั้นวิกฤตอย่างมากในปัจจุบัน
ทิ้งท้ายเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
ละอง ละมั่งที่จริงแล้วก็คือสัตว์ตัวเดียวกัน แต่จะแตกต่างกันที่เพศ ละองคือตัวผู้ ละมั่งคือตัวเมีย แต่นิยมเรียกคู่กันว่าละองละมั่ง
EP.07 จะมาในวันพรุ่งนี้ คอยติดตามกันนะครับ
ขอบคุณทุกท่านที่อ่านจนจบ
หวังว่าทุกท่านจะได้รับสาระความรู้ไม่มากก็น้อย
หากมีข้อผิดพลาดประการใด ก็ขออภัยมา ณ ที่นี้นะครับ ติชม แนะนำกันได้ครับ
หากคุณชอบ ขอให้กดไลค์ กดแชร์ กดติดตาม เพื่อเป็นกำลังใจสนับสนุนเพจเล็กๆ เพจนี้ด้วยนะครับ
แล้วกลับมาพบกันใหม่
นำเรื่องมาให้คุณ ขอม้าไปก่อน แฮร่~ ลาไปก่อน
ด้วยภาพของละอง ละมั่ง 🤗🦌
บันทึก
3
2
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
นำเรื่อง สัตว์สงวน มาให้คุณ
3
2
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย