Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Wasabi
•
ติดตาม
5 ก.ย. 2020 เวลา 13:00 • สุขภาพ
โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder) คืออะไร?
1
โรควิตกกังวล คือ อารมณ์ที่เกิดจากความรู้สึกตึงเครียด ความคิดกังวลและการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย ผู้ป่วยจะมีความรู้สึกกลัวหรือกังวลมากเกินไป ควบคุมได้ยาก หรือความกังวลที่เกิดขึ้นขัดขวางการใช้ชีวิตประจำวัน
2
โรควิตกกังวลจัดเป็นโรคทางจิตเวชที่พบได้บ่อย
Anxiety Disorder
ประเภทของโรควิตกกังวล
• โรคตื่นตระหนก (Panic Disorder, PD )
คือ การที่อยู่ดี ๆ เกิดอาการกลัวและวิตกกังวลขึ้นมาเป็นพัก ๆ โดยไม่มีสาเหตุหรือมีอาการ
เช่น...
หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น เหงื่อออก เจ็บหน้าอก รู้สึกสำลัก เวียนหัว คลื่นไส้หรือท้องปั่นป่วน หนาวสั่นหรือร้อนวูบวาบ มือเท้าชา กลัวว่าตัวเองจะตาย อาการของแพนิคไม่ใช่เป็นโรคร้ายแรงแต่ทำให้รู้สึกไม่สบายมาก ดังนั้นผู้ป่วยมักคิดว่าตัวเองกำลังหัวใจวายหรือเป็นโรคที่ร้ายแรงถึงแก่ชีวิต
• โรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder, GAD )
คือ การมีความกังวลในเรื่องชีวิตประจำวันทั่ว ๆ ไปนานและมากเกินไป
เช่น...
เรื่องงาน ครอบครัว หรือเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ทำให้มีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ความเครียดและความวิตกกังวลที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องอาจทำให้เกิดอาการทางร่างกาย เช่น กระวนกระวาย อ่อนเพลีย หงุดหงิด ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ไม่มีสมาธิ มีปัญหาการนอนหลับ
• โรคกลัวการเข้าสังคม (Social Anxiety Disorder)
เช่น...
มีความกังวลที่รุนแรงมากหรือมีความระมัดระวังตัวเกินเหตุในสถานการณ์ทางสังคมต่าง ๆ ที่ต้องพบเจอตามปกติในชีวิตประจำวัน โดยความกังวลที่เกิดขึ้นมักเป็นความกลัวการตัดสินจากผู้อื่น หรือกลัวว่าจะเกิดความอับอายและถูกล้อเลียน
• โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive Compulsive Disorder, OCD)
1
คือ ความคิดวิตกกังวลที่มีการคิดซ้ำ ๆ และมีการตอบสนองต่อความคิดด้วยการทำพฤติกรรมซ้ำ ๆ
เช่น...
คิดว่าลืมล็อคประตูก็จะคอยตรวจซ้ำ ๆ ว่าล็อคประตูหรือยัง
• โรคเครียดหลังเหตุสะเทือนใจ (Post-Traumatic Stress Disorder, PTSD)
คือ อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นหลังจากประสบกับเหตุการณ์อันเลวร้ายมาก เช่น...
เผชิญกับภาวะเฉียดตาย ภาวะภัยพิบัติตามธรรมชาติที่ร้ายแรง ถูกทำร้ายหรือเห็นคนใกล้ตัวตาย เป็นต้น อาการเกิดขึ้นได้หลายอย่าง ตั้งแต่เงียบเฉย ขาดการตอบสนอง ตกใจง่าย หวาดกลัว กังวลในเรื่องเล็กน้อย คิดถึงเหตุการณ์นั้นซ้ำ ๆ และเกิดความกลัวและวิตกกังวลขึ้นมาใหม่เหมือนเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นอีกครั้ง รวมถึงหวาดกลัวสิ่งเร้าที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์
• โรคกลัวแบบเฉพาะเจาะจง (Specific Phobias)
คือ การกลัวมากเกินไปเกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่าง สถานการณ์บางอย่างหรือกิจกรรมบางอย่างที่เฉพาะเจาะจง
เช่น...
กลัวเลือด กลัวสุนัข กลัวที่แคบ
#สาระจี๊ดจี๊ด
มีปัจจัยหลายอย่างที่สามารถทำให้เกิดโรควิตกกังวลขึ้นได้ โดยผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าส่วนใหญ่เกิดจากประสบการณ์ส่วนตัวและปัจจัยทางพันธุกรรมที่ยังระบุไม่ได้ แต่ก็เชื่อว่าโรคนี้มีการถ่ายทอดในครอบครัว
1
#สาระจี๊ดจี๊ด
โรควิตกกังวลเป็นโรคที่พบได้ทั่วไป
โดยศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคได้ประมาณตัวเลขไว้ว่า...
ประมาณ 15% ของประชากรจะเป็นโรควิตกกังวลในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต
ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชาย 60% และผู้ป่วยส่วนใหญ่มักเริ่มมีอาการของโรคนี้ในช่วงวัยเด็ก โดยอายุเฉลี่ยของการเริ่มเป็นโรคอยู่ที่ 11 ปี
อาการของโรควิตกกังวล
1.กระวนกระวายและรู้สึกประหม่า
2.ความรู้สึกกังวลที่ไม่สามารถควบคุมได้
3.โมโห ฉุนเฉียวง่าย
4.มีปัญหาในการนอนหลับ
5.ไม่มีสมาธิ
การรักษาโรควิตกกังวล
การรักษาโรควิตกกังวลขึ้นอยู่กับประเภทของโรค ซึ่งวิธีที่ใช้ในการรักษาโดยทั่วไป มีดังนี้
1
- จิตบำบัด (Psychotherapy)
เป็นการรักษาด้วยการให้คำปรึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต เพื่อให้ผู้ป่วยเรียนรู้วิธีรับมือกับปัญหาของโรควิตกกังวลได้ในที่สุด
- การรักษาด้วยการเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (Cognitive-Behavioral Therapy)
เป็นวิธีการรักษาทางจิตที่ช่วยให้ผู้ป่วยได้เรียนรู้การปรับเปลี่ยนวิธีคิดและพฤติกรรมที่นำไปสู่ปัญหาทางอารมณ์และความรู้สึก
เช่น...
ช่วยให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคแพนิคเรียนรู้ว่าอาการแพนิคนั้นไม่ใช่อาการของโรคหัวใจ หรือช่วยให้ผู้ที่เป็นโรคกลัวการเข้าสังคมเรียนรู้ที่จะเอาชนะความเชื่อที่คิดว่าคนอื่นคอยจ้องมองหรือตัดสินตน เป็นต้น
- การฝึกจัดการกับความเครียด
วิธีฝึกการจัดการกับความเครียดและการทำสมาธิ เป็นวิธีที่จะช่วยให้ผู้ป่วยโรควิตกกังวลมีอารมณ์ที่สงบลงและยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัดวิธีอื่นได้ด้วย
- การรักษาด้วยยา
ยาที่นำมาใช้ในการรักษาและลดอาการของโรควิตกกังวล
เช่น...
+ ยารักษาอาการซึมเศร้า เช่น ยากลุ่มเอสเอสอาร์ไอ
+ ยาระงับอาการวิตกกังวล เช่น ยากลุ่มเบนโซไดอะซีปีน เช่น ยาอัลปราโซแลม และยาโคลนาซีแพม
+ ยาช่วยควบคุมอาการทางร่างกายเมื่อมีความวิตกกังวล เช่น ใจสั่น มือสั่น คือ ยาเบต้า บล็อกเกอร์ เช่น ยาโพรพราโนลอล
+ ยาอื่น ๆ เช่น ยารักษาโรคลมชัก และยาระงับอาการทางจิต
การใช้ยาเหล่านี้ต้องอยู่ภายใต้คำแนะนำและดุลยพินิจของแพทย์
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
พิสูจน์อักษรโดย วาลีพ
แหล่งที่มา
https://www.pobpad.com/โรควิตกกังวล
https://www.innnews.co.th/disease/news_752591/
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง
50 บันทึก
95
50
79
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
สุขภาพ โรคภัย การแพทย์
50
95
50
79
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย