Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เขมานันทะในใจเรา - ชาติพันธุ์ภาวนา
•
ติดตาม
11 ก.ย. 2020 เวลา 09:06 • ปรัชญา
๔. อันเนื่องกับทางไท (บทความ) (บทคัดย่อที่ ๑-๑๒)
จิตรกรรมไท ซึ่งมักถูกมองว่าไม่มีปริทรรศน์ (Perspetive) ไม่มีความลึก เป็นภาพแบน ไม่มีกายวิภาค (Anatomy) ในรูปคนหรือสัตว์ ไม่มีแสงตกกระทบ ซึ่งจากมุมมองภายใต้กรอบกาละและเทศะเช่นนั้น เป็นเกณฑ์ตัดสินทางตะวันตกแท้จริง
ความหมายรู้ของไทต่อการแสดงออกทางศิลปกรรมส่วนใหญ่เป็นสัญลักษณ์ทางจิตวิญญาณ การไม่ให้ความสำคัญกับปริทรรศน์นั้นก็เพราะเป็นสิ่งจำกัดการงอกงามอันสะท้อนสภาวธรรมทั้งหมด
ภาพไท(หรือจีน) จึงไม่นิยมตั้งกรอบ และใช้จุดสุดสายตาเป็นหลักในการวาด
สำหรับชาวตะวันออก คำว่า ตาหรือหู มีความหมายลุ่มลึกและหลากหลาย มนุษย์เราไม่เพียงดูด้วยตาเนื้อและฟังด้วยหูสองข้าง แต่ยังมีการสัมผัสรู้ด้วยตาทิพย์หรือหูทิพย์ อันหมายถึงญาณในภูมิแห่งการภาวนาที่สูงขึ้นไปกว่าธรรมดา
คำว่าจักษุในภาษาสันสกฤตนั้นหมายถึงดวงตาปัญญา และญาณ ดังนั้นการเห็นจึงเป็นไปได้หลายทางและหลายระดับ มีธรรมจักษุ – ดวงตาเห็นสภาวธรรม อนันตจักษุ – ดวงตาที่เห็นอย่างไม่รู้สิ้นสุด สมันตจักษุ – ดวงตาโดยรอบ และพุทธจักษุ – ดวงตาแห่งพุทธะ ปริทรรศน์แห่งการมองไม่ได้จำกัดอยู่กับตาเนื้อ(มางสะจักษุ)
ต่อกายวิภาคของคนและสัตว์ก็เช่นเดียวกัน กายเนื้อที่ประกอบด้วยกล้ามเนื้อและกระดูกต่าง ๆ เป็นกายหยาบ หรือสถุลรูป เมื่อจะแสดงรูปที่สุขุม หรือรูปทิพย์ จำต้องตัดสิ่งสถุลออกไป เพื่อแสดงส่วนบริสุทธิ์กว่า ทั้งอาจประสานรูปทรงกับอวกาศได้โดยสัดส่วนอันเหมาะสม
ในทำนองเดียวกัน ในการเขียน เส้น สี ในงานจิตรกรรม หรือท่วงทำนองของดนตรี หรือท่วงท่าร่ายรำ ตั้งฐานอยู่บนการมองลึกสู่ลักษณะอาการของธาตุ ไม่เพียงแต่รูปนอกเท่านั้น
ช่างไท เขียนรูปน้ำที่อยู่ในขันน้ำหรืออ่างเป็นเส้นคล้ายคลื่นล้อกันไป แทนสัญลักษณ์ของธาตุน้ำ (อาโปธาตุ) อันเลื่อนไหลเอิบอาบซึมซาบ จากความรู้สึกสัมผัสอาการของสิ่งนั้น ๆ ไม่เพียงรูปที่ตาเห็นได้เท่านั้น
อันเนื่องกับทางไท (พุทธิปัญญาสู่งานศิลป์ มรดกของแผ่นดินไทย ที่คนไทยทุกคนควรรู้)
ขอบคุณมติชน: ภาพจิตรกรรมวัดพระแก้ว
บันทึก
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
อันเนื่องกับทางไท (พุทธิปัญญาสู่งานศิลป์ มรดกของแผ่นดินไทย ที่คนไทยทุกคนควรรู้)
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย