Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เขมานันทะในใจเรา - ชาติพันธุ์ภาวนา
•
ติดตาม
11 ก.ย. 2020 เวลา 23:03 • ปรัชญา
๕. อันเนื่องกับทางไท (บทความ) (บทคัดย่อที่ ๑-๑๒)
ในการสร้างสรรค์ศิลปกรรมของไทครั้งอดีตนั้น สาระสำคัญไม่ได้อยู่ที่ความพยายามจะให้มีศิลปวัตถุเกิดขึ้น หากแต่แรงจูงใจมาจากศรัทธาในพระศาสนาถือเอาการสร้างสรรค์ศิลปะเป็นบุญกิริยาในการจรรโลงพระศาสนา
นายช่างกระทำอย่างสุดจิตสุดใจ ตอบสนองศรัทธาในเบื้องลึกโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อการสร้างพระพุทธประติมา ผิดกับปัจจุบันนี้ที่กระบวนการสร้างเป็นไปภายใต้กลไกเชิงพานิช ผลิตแบบอุตสาหกรรม หยิบยืม และลอกเลียนบางส่วนของแบบอย่างของบางยุคสมัยมาประสมประสานกันแกน ๆ
ตอบสนองความงมงายต่อความเข้าใจว่าพระพุทธรูปเป็นมเหศักดิ์ (หรือ มเหสักข์ – เทวดาผู้เป็นใหญ่) รูปเคารพที่มีวิญญาณของผู้นำที่เคยเป็นเจ้าสิงอยู่ ทั้งอาจบันดาลโชคลาภ คุณและโทษแก่ผู้คนได้ การกระทำเช่นนี้ไม่ก่อกำเนิดแบบอย่างศิลปกรรมใหม่ที่สะท้อนภูมิปัญญาของยุคสมัยได้อย่างเต็มภาคภูมิ
ครั้งอดีต นายช่าง ประติมากรนั้นแท้จริงคือวิปัสนิก – ผู้เจริญภาวนาในการสร้างพระพุทธประติมา กรรมวิธีในการสร้างกินช่วงเวลาตั้งแต่ นายช่างและช่างผู้น้อยสมาทานอุโบสถศีล เจริญสมาธิภาวนาจนเห็นพระพุทธนิมิตติดตาตรึงใจ อันหมายถึง การเปลี่ยนแปลงกระบวนการเคมีชีวภาพในเรือนกายของนายช่าง จากสถุลรูปสู่รูปสุขุม ลมปราณประณีต เหมาะแก่งาน
เป็นไปในกรรมันตภาพแห่งฌาน ความบริสุทธิ์ของการและจิต
วาสนาบารมีในธรรม ทั้งหมดนั้น คือ จิตสำนึกแห่งปัจเจกอันเป็นตัวแทนแห่งยุคสมัยในการสร้างสรรค์เนรมิตศิลปกรรมพระพุทธประติมาที่งามจับจิตตรึงใจ เป็นมิ่งขวัญเมือง จึงปรากฏเป็นมรดกล้ำค่าในประเทศนี้
อันเนื่องกับทางไท (พุทธิปัญญาสู่งานศิลป์ มรดกของแผ่นดินไทย ที่คนไทยทุกคนควรรู้)
บันทึก
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
อันเนื่องกับทางไท (พุทธิปัญญาสู่งานศิลป์ มรดกของแผ่นดินไทย ที่คนไทยทุกคนควรรู้)
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย