12 ก.ย. 2020 เวลา 09:12 • ปรัชญา
๖. อันเนื่องกับทางไท (บทคัดย่อที่ ๑-๑๒)
ประเพณีการสร้างพระพุทธประติมา เป็นกรรมวิธีแห่งการหลอมรวมน้ำใจของชนทุกชั้น พระพุทธรูปจึงเป็นเครื่องสะท้อนจิตสำนึกทางสังคมแห่งยุคสมัยได้อย่างเด่นชัด
แท้จริง
รูปลักษณ์ของพระพุทธรูปอาจถูกพิจารณาได้หลายสถานะ ประการแรก โดยความเป็นรูปเคารพ (Idol) แทนองค์พระพุทธเจ้า ท่าทีนี้เป็นท่าทีแห่งไสยศาสตร์ภายใต้ความเชื่อต่อมเหศักดิ์
ประการถัดมาเราอาจจะพิจารณาในแง่ของศิลปกรรมอันงดงามและสงบใจยิ่ง ดังที่ศิลปินต่างชาติถึงแม้มิได้เป็นชาวพุทธได้บอกเล่าถึงพลังของความสงบจากการปั้นพระพักตร์พระพุทธรูป อันนี้เป็นท่าทีของสุนทรีย์และสมถะ
ประการสุดท้ายอันเป็นรหัสนัย ก็คือ พระพุทธรูปนั้นเป็นสัญลักษณ์แทนช่วงขณะแห่งการตรัสรู้ ดังนั้นจึงเรียกว่าเป็นมณฑลธรรมได้ลักษณะหนึ่ง
เปลวประภามณฑล (ศิรประภา) เหนือพระเศียร แท่นวัชรอาสน์ หรือปัทมอาสน์ เรือนแก้ว (รัตนฆระ) หรือเรือนโพธิ์ (โพธิฆระ) ล้วนเป็นสัญลักษณ์ของการตรัสรู้อันสมบูรณ์
อันเนื่องกับทางไท (พุทธิปัญญาสู่งานศิลป์ มรดกของแผ่นดินไทย ที่คนไทยทุกคนควรรู้)
บรรยายพิเศษแก่นักศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะมัณฑนศิลป์ พ.ศ. ๒๕๓๒
โฆษณา