12 ก.ย. 2020 เวลา 01:03 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ออมให้เงินโต ภาคกองทุนรวม EP17
“กองทุนตราสารหนี้ตอนที่ 4 คัดเลือกกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น-กลาง แบบคร่าวๆ”
สวัสดีครับ หลังจากเข้าใจความเสี่ยงและวิธีการใช้งานกองทุนตราสารหนี้กันแล้ว วันนี้เรามาเริ่มคัดกองทุนตราสารหนี้กัน
เนื่องจากตอนที่เราคัดกองทุนตลาดเงิน เราได้ลองทำกันไปแบบละเอียดแล้ว เรียกว่าละเอียดยิบๆเลยทีเดียว
ดังนั้นใน EP นี้ เพื่อความรวดเร็วในการคัดกองทุน อันไหนที่เราเคยทำไปแล้ว ขออนุญาตไม่แสดงวิธีทำแบบละเอียดนะครับ อย่างเช่น ไปหน้าคัดกองทุนของมอร์นิ่งสตาร์ยังไง, ดูกราฟ NAV ที่ไหน, หาดู Fund Fact Sheet ได้อย่างไร
ถ้าใครเพิ่งเข้ามาอ่าน EP นี้เป็นอันแรก แล้วยังทำไม่เป็น ต้องรบกวนกลับไปดูที่ EP11 นะครับ
ม่ะ มาเริ่มกันที่หน้าคัดกองทุนของเว็บมอร์นิ่งสตาร์ ก่อนอื่นเราจะหาดูกองตราสารหนี้ระยะกลางก่อน
ประเภทกองทุนแบ่งตามมอร์นิ่งสตาร์ เลือก Mid/Long Term Bond
นโยบายปันผล เลือกไม่จ่าย
อ่าว ทำไมไม่เลือกตรงประเภทสินทรัพย์เป็น Fixed Income ละครับ
(ตอบ) ถ้าเลือกแบบนั้นเราจะได้กองทุนตราสารหนี้ ที่ไม่ใช่ตราสารหนี้ระยะสั้น-กลาง เยอะมากต้องเลื่อนไปดูยาวๆ ทำให้เลือกยาก ตาลายเปล่าๆ เลือกตามวิธีที่ทำให้จะดูสะดวกกว่าเยอะครับ
จากนั้นคลิกดูผลตอบแทนระยะยาว แล้วดับเบิ้ลคลิกที่หัวคอลัมภ์ 1 ปี เพื่อเรียงผลตอบแทนได้ตามรูป
จากรูป กองที่ผลตอบแทนเยอะสุดและเป็นกองตราสารหนี้ระยะกลางที่เราซื้อได้ คือ กองทุนเปิดเค ตราสารหนี้พลัสชนิดผู้ลงทุนทั่วไป ที่วงไว้ตามรูป
กองทุนนี้ ใน 1 ปีที่ผ่านมามีผลตอบแทนต่อปีอยู่ที่ 1.39% จำตัวเลขนี้ไว้นะดีๆครับ เราจะใช้เลขนี้เป็นบรรทัดฐานในการไปดูกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น
(ถาม) ทำไมต้องเป็นกองนี้ล่ะ กองอื่นซื้อไม่ได้เหรอ
(ตอบ) กองทุนอื่นในหน้านี้ จะมีทั้งกองทุนที่เราซื้อไม่ได้ และ ไม่ควรซื้อตามนี้ครับ
1
1. กองที่มีคำว่า “เพื่อการเลี้ยงชีพ” กลุ่มนี้เป็นกอง RMF ซึ่งเป็นกองลดหย่อนภาษี เดี๋ยวเรื่องนี้เราค่อยไปคุยกันทีหลัง
 
2. กองที่ไม่ขายรายย่อยแบบเราๆ ซึ่งจะมีประโยคแนวๆนี้ในชื่อ เช่น “สำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ”,”สำหรับผู้ลงทุนสถาบัน”, “ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย” เป็นต้น อันนี้เราซื้อไม่ได้โดยสิ้นเชิง
3. พวกเทิร์มฟันด์ทั้งหลาย ที่มีระยะเวลาในชื่อกองทุน กลุ่มนี้อย่างเคยคุยกันไป สภาพคล่องไม่ดี ไม่แนะนำ
1
4. กองที่เป็นตราสารหนี้ต่างประเทศ ในชื่อมีคำพวกนี้ ได้แก่ ไฮยิลด์ (High Yield), โกลบอล (Global) และประโยคที่สื่อถึงความเป็นต่างประเทศทั้งหลาย พวกนี้เสี่ยงสูงครับ ไม่แนะนำ
ซึ่งถ้าคัดกองทุนตามวิธีที่ทำให้ดู เราจะไม่ค่อยเจอข้อ 3-4 ครับ แต่ถ้ามีโผล่มาก็ตัดออกเนาะ
จากนั้นใส่ค่าเพื่อคัดกรองกองทุนอีกรอบตามรูป คราวนี้ ประเภทกองทุนแบ่งตามมอร์นิ่งสตาร์ ให้เลือก Short Term Bond เพื่อดูกองตราสารหนี้ระยะสั้น
เลือกดูผลตอบแทน 1 ปีเหมือนเดิม จากนั้นเราจะหากองตราสารหนี้ระยะสั้น ที่รายย่อยอย่างเราๆซื้อได้ แล้วดูว่าผลตอบแทนมันเกิน 1.39% หรือเปล่า ถ้าเจอ นั่นแปลว่าเราเจอกองตราสารหนี้ระยะสั้นที่ให้ผลตอบแทนดีกว่าระยะกลาง ซึ่งน่าสนใจ
ลองไปหากันเลย
ตัดกองที่ไม่เกี่ยวออกไป กองที่ผลตอบแทนที่ดีที่สุดคือ 1.77% ตามที่วงไว้ในรูป แล้วไปดู Fund Fact Sheet เพื่อความชัวร์ว่าเป็นกองที่เราซื้อได้จริง
ผ่ามๆๆ ใน Fund Fact Sheet บอกว่าสำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเท่านั้น อด
ที่มา: Fund Fact Sheet กองทุนเปิดพรินซิเพิล ตราสารหนี้
เลื่อนลงมาดูต่อ เจออีกสองกอง
ไปดู Fund Fact Sheet เจอว่าทั้งสองกองสำหรับผู้ลงทุนสถาบัน
สรุปว่าอดอีกแล้ว ทั้งสองกอง 55555
แป้กมา 3 กองติดๆ อย่าเพิ่งท้อนะเลื่อนลงมาดูกองอื่นๆต่อ ซึ่งขออนุญาตสปอยล์เลยละกันนะครับ กองที่เราซื้อได้คือกองที่วงไว้ครับ อันนี้เรียงตามผลตอบแทนละ
จะเห็นว่า 3 กองแรก ผลตอบแทน 1 ปีมากกว่า 1.39% ซึ่งถือว่าดีเลย ส่วนกองสุดท้ายที่วงไว้ ผลตอบแทนอยู่ที่ 1.35% ต่ำกว่านิดหน่อย เลือกมาด้วยละกัน และ ไหนๆกองสุดท้ายผลตอบแทนมันต่ำกว่า 1.39% เนาะเราก็เอากองตราสารหนี้ระยะกลางที่ได้ผลตอบแทน 1.39% มารวมคัดด้วยไปเลย
สรุปว่าเราได้กองทุนที่จะเอามาคัดต่อทั้งหมด 5 กองทุนดังนี้
1. กองทุนเปิดกรุงไทยตราสารหนี้ระยะสั้น (KT-ST)
2. กองทุนเปิดอเบอดีน สแตนดาร์ด อินคัม ครีเอชั่น (ABINC)
3. กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ ตราสารหนี้พลัส ชนิดสะสมมูลค่า (SCBFP)
4. กองทุนเปิดกรุงไทย ตราสารหนี้พลัส ชนิดสะสมมูลค่า (KT-FIXEDPLUS-A)
5. กองทุนเปิดเค ตราสารหนี้พลัส สำหรับผู้ลงทุนทั่วไป (K-FIXEDPLUS-A) กองนี้มาจากตราสารหนี้ระยะกลาง
ชื่อย่อกองทุน ถ้าไม่รู้ว่าหามาจากไหน กลับไปดู EP11 นะครับ
จากนั้นตามสเต็ป เราคัดแบบหยาบก่อน ด้วยการเอาชื่อย่อกองทุนไปดูกราฟ NAV หลายๆช่วงเวลา ในเว็บเวลธ์แมจิค เพื่อดูว่ามีกองไหนที่กราฟมันแปลกๆไปหรือเปล่า ได้ผลตามรูปนะครับ
จากรูป เอามาให้ดูเฉพาะช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ดูด้วยตาเปล่ากองที่ NAV แกว่งรุนแรงช่วงโควิดคือกอง KTFIXPLUS-A และกอง SCBFP อย่างไรก็ตาม พอไปดู Fund Fact Sheet แบบคร่าวๆแล้ว ดูไม่ออกว่าทั้งสองกองนี้มันผิดปกติยังไง 5555
ดังนั้น ณ จุดนี้ก็เลยยังไม่มีกองที่ตกรอบนะครับ ในอาทิตย์หน้า เราจะเอาทั้ง 5 กองไปคัดละเอียดด้วยการทำตารางเปรียบเทียบกันให้รู้ไปเลยว่ากองไหนชนะเลิศ และกองที่ NAV แกว่งแรงๆ เราสามารถหาเหตุผลมาอธิบายได้หรือเปล่า รอติดตามนะครับ
1
วันนี้สวัสดีครับ ชุบ ชุบ
ออมให้เงินโต วางแผนการเงินด้วยตัวเอง ใช้ภาษาบ้านๆ เข้าใจง่าย อ่านฟรีครับ
อ่านแล้วมีคำถาม ถามได้ที่เพจตลอดเวลา ยินดีตอบคำถามอย่างมากๆครับผม
ถ้าอ่านแล้วชอบ สั่งซื้อหนังสือออมให้เงินโตได้จากช่องทางต่อไปนี้นะครับ
Line : @proudorder
คลิก > https://bit.ly/33z7RLe
หรือ > Lazada : PROUD

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา