13 ก.ย. 2020 เวลา 04:03 • ไลฟ์สไตล์
เท่าเทียม ไม่เท่ากับ เสมอภาค หากมองตามความเป็นจริง
อะไรคือความชอบ(ทำ)ธรรม บนความรู้สึกว่าสิ่งที่ทำถูกต้องเป็นธรรม
บทความนี้บางส่วนมีความเห็นส่วนตัวประกอบ อาจจะมีทั้งคนเห็นเหมือนและเห็นต่างเช่นเคย ขอน้อมรับในทุกความเห็น และถ้าเป็นผู้ได้อ่านบทความผมมาบ้าง จะรู้ว่าผมเองก็ไม่ใช่คนที่สีขาวแท้ หรือ สีดำแท้ แต่เป็นคนที่อยู่ในโซนสีเทาๆ ที่กำลังปรับตัวให้เป็นสีเทาที่ค่อนไปทางขาว
https://pixabay.com/
(1)Equality ความเท่าเทียม (2)Equity แปลว่าเสมอภาค (3)Reality ความจริง
วันนี้ผมจะมาขอแชร์ต่อยอดในส่วนที่จะไม่อยู่ในตาม WEB เช่นเดิม สำหรับคนที่พึ่งเคยเห็นรูปนี้เบื้องต้น (ใน WEB จะมีผู้รู้ที่อธิบายส่วนนี้ได้ชัดเจนกว่าผมเยอะ) ถ้าให้ผมอธิบายง่ายๆ
รูปที่ 1 กล่องไม้ เหมือนระบบหรือสิ่งที่ส่วนกลางมีสนับสนุนให้ (1 คนต่อ 1 ชิ้น) จะเห็นว่า ระบบให้เท่ากันแต่ตัวบุคคลมีศักยภาพ หรือความสามารถติดตัวมาไม่เท่ากัน ทำให้ถ้าจากรูปจะมีคนบางคนเท่านั้นที่ได้ดูแข่งเบสบอล (ระบบเท่าเทียมแต่ศักยภาพไม่เท่าเทียม)
รูปที่ 2 กล่องไม้ 3 กล่องเท่าเดิมคนด้านซ้ายที่มีศักยภาพสูงสุดยื่นกล่องไม้ให้คนขวาสุดทำให้คนขวาสุดได้เห็นการแข่งขัน (จะเห็นว่าในรูปนี้ทั้ง 3 คนได้เห็นการแข่งขันเบสบอลโดยทุกคนมีระดับการมองเห็นได้เท่ากัน)
รูปที่ 3 ในโลกของความเป็นจริงการกระจาย กล่องไม้จากส่วนกลาง หรือการแบ่งปัน(หรือไม่แบ่งปัน) จากคนมีศักยภาพ หรือตัวกล่องเองสำหรับบางคนที่เคยมีก็อาจจะหายไปทำให้ในรูปจุดที่มองเห็นการแข่งขันของคนที่ 1 และ คนที่ 2 (นับจากซ้ายมือ) แตกต่างกัน
ภาคทฤษฎีหมดไปแล้วผมขอมาสไตล์ผมที่ถนัดดีกว่าผมขอกลับมาต่อเนื่องจากบทความก่อนของผมตอนสุดท้ายที่ว่า
(ข้ามได้..ยาวนิด) ทำไมผมถึงเชื่อว่าคนเราเปลี่ยนแปลงได้ในเวลาอันสั้น https://www.youtube.com/watch?v=A0VUxpK5WOY (จะเห็นว่าการตั้งเป้าหมาย ที่ตอนแรกเหมือนจะเป็นไปไม่ได้ แต่มีความท้าทาย และมี Coach คอยกระตุ้นอยู่ข้างๆ คนเราในบางช่วงเวลาสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงได้อย่างน่าเหลือเชื่อ และยิ่งในตอนท้ายถ้าสิ่งที่เป็นเป้าหมายที่ดูยิ่งยากและยิ่งเป็นไปไม่ได้แต่การได้มีทีมงาน ที่ได้แบ่งงานตามสิ่งที่ถนัดก็สามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ให้เป็นไปได้) ทำให้ผมคิดถึงซีรีย์วัยรุ่นเรื่องหนึ่งที่ชอบมากคือ The Gifted ที่ได้อ่านคนตีความตอนจบแล้วถูกใจมาก ของคำว่าการยอมรับศักยภาพของตัวเอง และการยอมรับศักยภาพของคนรอบข้าง ..เพราะทุกศักยภาพของแต่ละคนหากเราเชื่อ.....ทุกอย่างจะเปลี่ยนแปลงไปได้เสมอ https://pantip.com/topic/38237749
1
ผมขอชวนคุยสำหรับคนที่เคยดูซีรีย์มาแล้ว (มีสปอยในบทความ)
ภาคที่ 1 The Gifted ระบบของโรงเรียนเป็นแบบรูปที่ 3 รูปทางขวาสุด (Reality ความจริง) ซึ่งเนื่องจากทรัพยากรมีจำกัด ระบบของโรงเรียนจึงมีการทุ่มทรัพยากรให้กับคนที่มีศักยภาพพิเศษให้อยู่ในจุดที่สูงที่สุด แล้วสิ่งที่พระเอกเรียกร้องความเท่าเทียมคืออะไร ถ้าเปรียบกับในรูปคือ พระเอกต้องการเรียกร้องให้ทุกคนได้สิทธิ์เหมือนรูปที่ 1 (Equality ความเท่าเทียม) ซึ่งพระเอกลืมส่วนหนึ่งว่าในขณะที่เขาจะเรียกร้องให้เป็นไปตามรูปที่ 1 ตอนนี้ตัวเขาเองนั้น ได้อยู่ในรูปที่ 3 (Reality ความจริง) ที่อยู่ในจุดสูงที่สุดและพิเศษที่สุดแล้ว แล้วเขาเองได้ลืมในส่วนเพื่อนๆ ที่พัฒนาตัวเองให้มาอยู่ในจุดที่พิเศษที่สุดเพื่อที่อยากมีโอกาสที่ดีต่อไปในชีวิตให้มากที่สุด ประเด็นที่น่าสนใจในตอนจบของภาคนี้คือ "การยอมรับในความจริงว่าศักยภาพแต่ละคนไม่สามารถเท่ากันได้ แต่น่าจะมีทางออกใหม่ในการแก้ไขปัญหาที่ดีกว่าเดิม เพราะเรียนรู้ผ่านความผิดพลาดมาแล้ว"
ในซีรีย์ได้นำเสนอตอนจบไว้ชัดเจนแล้ว และมีกระทู้ข้างต้นที่อธิบายได้จนผมประทับใจ
ต่อมาที่ภาค 2 The Gifted Graduation
ผมขออ้างอิงเรื่องย่อตอนแรกที่หาอ่านได้ตาม web https://www.sanook.com/movie/102821/ แต่ในมุมมองผมที่น่าสนใจคือ มีระบบแบบไหนหรือที่ทุกคนจะพึงพอใจจริง << คำถามนี้น่าสนใจมาก เพราะว่าเริ่มเรื่องในภาคนี้ มีเด็กอีกกลุ่ม ที่มองว่าบรรทัดฐาน หรือมาตรฐานเดิมที่มีอยู่ดีมากอยู่แล้ว (ระบบที่ออกแบบไว้ดี แต่อาจมีปัญหาที่ผู้ใช้ระบบ) จึงเรียกร้องกลับไปสู่ระบบเดิม ทั้งๆ ที่มีรุ่นพี่ที่บอกว่า แต่ระบบนั้นไม่ใช่ทุกคนนะจะเข้าถึงได้ มีเพียงแค่ 5% เท่านั้นนะที่เข้าได้ แต่น้อง ม 4 ก็ได้เสริมแก่นความเชื่อพื้นฐานที่ว่า ทุกคนน่าจะมีสิทธิ์มี 1 เสียงเบื้องต้นที่จะได้ทดสอบและยอมรับในผลลัพธ์ที่ออกมาได้ด้วยตัวเองไม่ใช่หรือ....
อีกประเด็นนึงที่น่าสนใจคือคำพูดที่ว่า ระบบมีการแทรกแซงโดยอำนาจสร้างความไม่ยุติธรรมเพราะมีการ block ไม่ให้เข้า Web เพื่อให้นักเรียนลงชื่อให้นำระบบเดิมของโรงเรียนกลับมา การที่ทีมน้อง ม.4 (2คน) ได้เข้ามา Hack Computer เพื่อหยุดการปิดกั้นเข้า Web และเลือกอีก 1 ช่องว่างของระบบโหวตลงรายชื่อ ที่ระบบใช้แต่เลข ID จึงได้ขโมยฐานข้อมูลรายชื่อนักเรียน (เสียงของคนอื่นที่ไม่ได้ขออนุญาตแต่เชื่อว่าน่าจะเห็นไปในทางเดียวกัน) ไปสนับสนุนการโหวต แม้ตัวเด็กผู้ชาย ม4 ตัดสินใจบนโซนสีเทา แต่ก็ได้ดำเนินการบนเหตุผลรองรับจากน้องผู้หญิงที่ว่า เพราะว่า ระบบโดยอำนาจ(รายบุคคล)ทำกับเราก่อน บีบขั้นจนให้ต้องเลือกดำเนินการไปอย่างนั้น..ซึ่งสิ่งที่ทำถูกต้องแล้วเพราะได้เรียกร้องสิทธิ์พื้นฐานในการเลือกกลับมา....และสุดท้ายระบบดังกล่าวก็ได้รับการชนะโหวตให้กลับคืนมา
ก็ติดตามตอนต่อไปกันได้ครับ ผมว่ามีโอกาสสูงที่ซีรีย์ที่มาในเวลานี้ ความเชื่อต่างๆ จะถูกนำไปอ้างอิง หรือเขียนบทความในมุมมองต่างๆ ซึ่งไม่มีคำว่าถูกแท้ หรืิอ ผิดแท้แน่นอน แต่ทุกอย่างที่ทำจะขับเคลื่อนผ่าน "ความชอบ(ทำ)ธรรม"
The Gifted ดูย้อนได้ที่ Line TV
The Gifted Graduation ดูย้อนได้ที่ Line TV
(สุดท้าย) ในมุมมองผม อะไรคือความชอบ(ทำ)ธรรม บนความรู้สึกว่าสิ่งที่ทำถูกต้องเป็นธรรม ผมขอฉุดคิดทิ้งท้ายผ่านคำในบทความผมเอง 2 เรื่องครับ
เพราะการตัดสินใจของคนเราเป็นสีเทา แต่ถ้าในบางเรื่องการสนับสนุนสิ่งที่เรากำลังตัดสินใจหรือจะกระทำสำหรับผมที่ใช้คือ การที่สามารถยืนยันสิ่งที่ทำได้ผ่าน 5 ข้อนี้
1. ผมสามารถพูดเรื่องนี้กับ "ตัวเอง" ได้ว่า ทำไมผมจึงต้องลงมือปฏิบัติในเรื่องนี้
2. ผมสามารถพูดเรื่องนี้กับ "ครอบครัว" ได้ว่า ทำไมผมจึงต้องลงมือปฏิบัติในเรื่องนี้
3. ผมสามารถพูดเรื่องนี้กับ "เพื่อนสนิท" ได้ว่า ทำไมผมจึงต้องลงมือปฏิบัติในเรื่องนี้
4. ผมสามารถพูดเรื่องนี้กับ "คนที่นับถือ" ได้ว่า ทำไมผมจึงต้องลงมือปฏิบัติในเรื่องนี้
5. ผมสามารถพูดเรื่องนี้กับ "คนไม่รู้จักในที่แจ้ง" ได้ว่า ทำไมผมจึงต้องลงมือปฏิบัติในเรื่องนี้
และในชีวิตคนเราในเชิงความคิดความเชื่อ ค่านิยมจะมีเห็นเหมือนเห็นต่างจนมีความขัดแย้งทะเลาะกันได้ ก็เป็นคำฉุดคิดเล็ก อีกข้อที่ว่า ..เวลาคนที่ทะเลาะกันเพราะแต่ละคนยังมีส่วนที่ถูกและส่วนที่ผิดอยู่อย่างละครึ่ง เราทะเลาะในส่วนที่เราคิดว่าถูก และอีกฝ่ายทะเลาะในอีกส่วนที่เขารู้ว่าเราผิด.. และเพราะในโลกที่ไม่มีสีขาวแท้ แต่ชีวิตทุกชีวิตต้องเดินต่อไป ถ้าถามว่าจากบทความผม ตอนทะเลาะกันแล้วผลลัพธ์เป็นอย่างไร ก็ตอบได้ว่า จะเกิดเหตุการณ์ได้เป็น ปรับ เปลี่ยน ปลง ไป....
โฆษณา