17 ต.ค. 2020 เวลา 12:00 • การศึกษา
ทศนิยมและเศษส่วน (ตอนที่ 13)
เศษเกิน (Improper fraction)
ถ้าเศษส่วนใด
“เศษ มากกว่า หรือ เท่ากับ” ส่วน เรียกว่า “เศษเกิน”
นั่นคือ “เศษเกิน (Improper fraction)” มีค่าเท่ากับ หรือ มากกว่า 1 เสมอ” อันนี้เป็นนิยามของเศษเกินครับ
เศษเกิน
ข้อสังเกตุ
⦁ ถ้าเศษส่วนมีค่าตั้งแต่ “1” ขึ้นไป หมายความว่า “เศษ มากกว่า ส่วน” แล้วเราเรียกว่า “เศษเกิน” ซึ่งไม่เป็น ”เศษส่วนแท้”
⦁ ส่วนกลับของเศษส่วนคือเศษส่วนอีกจำนวนหนึ่งที่
ตัวเศษและตัวส่วนสลับกัน เช่น
ส่วนกลับของ 2 / 3 คือ 3 / 2 เป็นต้น
⦁ ผลคูณของส่วนกลับเศษส่วน 2 / 3 × 3 / 2 เท่ากับ 1
เราเรียกส่วนกลับนี้ว่า"ตัวผกผันการคูณขอเศษส่วน”
ซึ่งผลคูณของเศษส่วนกับตัวผกผันการคูณของ
เศษส่วนเป็น “1” เสมอ
ส่วนกลับของเศษส่วนแท้ เป็นเศษเกินเสมอ เช่น 3 / 2
เป็นเศษเกินและเป็นส่วนกลับของ 2 / 3 ซึ่งเป็น
เศษส่วนแท้
⦁ ถ้าเศษส่วนมีค่าเท่ากับ “1” หมายความว่า
“เศษ เท่ากับส่วน เราก็เรียกว่า “เศษเกิน”
ตรงนี้อาจจะดูแปลกสักหน่อยเพราะนิยามของ
”เศษเกินที่นับเอา 1 เป็นเศษเกิน เข้าไปด้วย
นอกเหนือจากกรณี เศษ มากกว่าส่วน
ดังกรณี ของเศษเกิน
⦁ สำหรับส่วนกลับของเศษส่วนหน่วย เช่น
1 / 3, 1 / 5, 1 / 6, 1 / 7 คือ 3, 5, 6, 7
“เป็นเศษส่วน”เพราะ 3, 5, 6, 7 เป็นส่วนกลับ
ของเศษส่วน ย่อมเป็นเศษส่วนด้วย
โดย 3, 5, 6, 7 คือ 3 / 1, 5 / 1, 6 / 1, 7 / 1
โดยปกติเรามักจะไม่เขียนเศษ 1 และเราเรียก 1 ที่เป็น ตัวส่วนนี้ว่า “ตัวส่วนที่ไม่ปรากฏ”ดังนั้น
3 / 1, 5 / 1, 6 / 1, 7 / 1 นอกจากเป็นส่วนกลับของ
เศษส่วนหน่วยแล้ว ยังเป็น “เศษเกิน” อีกด้วย
ทำให้ 1 ซึ่งเท่ากับ 1 / 1 จึงเป็น ”เศษเกิน” ด้วยเช่นกัน ดังนั้นนิยามของเศษเกิน จึงต้องรวม “1” ให้เป็นเศษเกิน ด้วยเหตุผลดังกล่าวครับ
เศษเกิน
เราจะมาคุยกันต่อคราวหน้า วันที่ 19 ต.ค. 2563 เวลา 19.00 เป็นเรื่องของจำนวนคนละ ครับ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา