6 ต.ค. 2020 เวลา 07:58 • ภาพยนตร์ & ซีรีส์
ข้อคิดจากหนัง : Mortal Kombat “หลบหนีความกลัว ด้วยการพิสูจน์ตัวเอง”
“การมัวแต่พิสูจน์ตัวเอง…สะท้อนถึงความกลัวในจิตใจ”
Mortal Kombat (1995)
เป็นภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นมาจากวีดีโอเกมในชื่อเดียวกันครับ
ในความทรงจำวัยเด็กของผม
นี่คือเกมต่อสู้ที่ไม่เคยเล่นชนะเลย
(ยิ่งเล่นยิ่งแพ้จนแทบจะปาจอยทิ้ง 555)
พอโตมาถึงรู้ว่า ต้องกดปุ่มให้ถูกตามท่วงท่า
ถึงจะสามารถเอาชนะคู่ต่อสู้ได้อย่างสบาย ๆ
และท้ายที่สุดผมก็เป็นสาวกเกม Mortal Kombat จนถึงวันนี้ครับ
เนื้อเรื่องไม่มีอะไรซับซ้อน (เป็นหนังเอาใจคอเกม…ดูเอามันส์ครับ555)
คือ มีจักรพรรดิจากโลกต่างมิติ (Outworld) “ที่ต้องการยึดครองโลก”
โดยเงื่อนไขที่จะเปิดประตูมิติมายังโลกได้
“ต้องชนะการประลอง 10 ครั้งรวด”
ดังนั้น โลกมนุษย์จึงต้องส่งนักสู้เข้าร่วมการประลอง
ซึ่งที่ผ่านมาฝ่ายมนุษย์พ่ายแพ้มา 9 ครั้งติดกันแล้ว
ในครั้งนี้จึงต้องเอาชนะให้ได้
เพื่อปกป้องให้โลกรอดพ้นจากการยึดครอง
สิ่งที่เกิดขึ้นในหนังจึงเป็นเหมือนเรานั่งดูการประลอง
มีทั้งการต่อยตี เตะ ถีบ ตีลังกา จับทุ่ม (ปล่อยพลังใส่กันก็ยังมี5555)
สำหรับฉากที่มีข้อคิด และชวนให้เรากลับมาทบทวนตัวเอง
เป็นฉากที่เทพสายฟ้า (Raiden) พูดคุยกับเหล่านักสู้ของโลกมนุษย์
“พูดจี้ใจดำแต่ละคน”
ซึ่งทั้งหมดเป็นเรื่องของความกลัว
“อัตตา และ ความโอหัง”
ซึ่งประสบการณ์แห่งความถือตัวแบบนี้
จะบั่นทอนความรอบคอบ
จะบดบังสติปัญญาที่เคยมีมา
จะรบกวนการตัดสินใจ
จะทำลายสมาธิ
จนทำให้ชีวิตตนเองตกอยู่ในอันตราย
“โดนเรื่องในใจรบกวน…จนพ่ายแพ้การต่อสู้”
Raiden ได้พูดกับนักสู้คนหนึ่ง
ที่ไม่ยอมรับว่าตนเองมีความกลัวอยู่ลึก ๆ ว่า
“เจ้ากลัวว่าตนเองจะดูจอมปลอม
เจ้าจึงรีบวิ่งเข้าหาการต่อสู้
เพื่อพิสูจน์ว่า…เจ้าไม่ได้จอมปลอม
เจ้าจะสู้อย่างกล้าหาญ…แต่โง่เง่าและประมาท
แล้วเจ้าก็จะพ่ายแพ้”
ซึ่งเหมือนเป็นการเรียกสติอย่างหนึ่งเลยครับ
“เผชิญหน้ากับความกลัว…มิใช่หลบหนีด้วยการมัวแต่พิสูจน์ตัวเอง”
ผมชอบบทสนทนานี้มาก
จึงขอนำข้อคิดที่ได้มาแบ่งปันครับ ^^
ข้อคิดสำคัญของหนัง
“การมัวแต่พิสูจน์ตัวเอง…สะท้อนถึงความกลัวในจิตใจ”
บ่อยครั้งการหนีความกลัว
ก็แสดงออกมาในรูปแบบของการพิสูจน์ตัวเองอย่างหน้ามืดตามัว
ผสมด้วยความโกรธ ความถือตัว ความยึดมั่นในสิ่งที่เชื่อ
“ไม่ยอมปล่อยมือจากจุดยืน…เพียงเพื่อให้ได้มาซึ่งชัยชนะ”
ผลที่ตามมาจึงมักเป็นไปในลักษณะเดียวกัน
ทั้งการไม่ยืดหยุ่น ดื้อรั้น ไม่ยอมฟังใคร
เดือดดาล รีบร้อน และดิ้นรน
จนกระทบกับผู้อื่น
ทำลายการงาน
และเกิดความขัดแย้งในสายสัมพันธ์
“ความกลัว”
ได้ทำหน้าที่ของตัวเองอย่างถูกต้องครบถ้วนแล้ว
เริ่มตั้งแต่การทำให้เรารู้สึกโหวง ๆ
ผวา สั่นสะท้าน กังวล ไม่มั่นใจ
“กลัวอยู่ลึก ๆ”
ทั้งกลัวแพ้ กลัวดูไม่ดี กลัวไม่เก่ง
กลัวเป็นคนอ่อนแอ และกลัวแย่ในสายตาคนอื่น
ปัญหาจะเกิดขึ้น
เมื่อเรายังคงหมกมุ่นอยู่กับการหลบหนี
“โดยใช้การพิสูจน์ตัวเองมาปิดบัง”
แล้วหาข้ออ้างมาสร้างความยุติธรรมให้ตัวเอง
เช่น
“ใครล่ะจะอยากแพ้-ใครบ้างที่จะไม่อยากพิสูจน์ตัวเอง”
ประโยคในรูปแบบนี้เป็นกลไกป้องกันตัวชนิดหนึ่ง
เพื่อปัดความรับผิดชอบ “ละเลยการดูแลความกลัว”
ผลจากการกระทำเช่นนี้
ทำให้ชีวิตถูกลากจูงด้วยการพิสูจน์ตัวเองอย่างหน้ามืดตามัว
ทั้งการมัวแต่เอาชนะผู้อื่น
การยอมแตกหักเพื่อรักษาความคิดเห็นของตนเอง
“ถูกขังด้วยความกลัว…ซ้ำเติมด้วยการหนีความกลัว”
ความกลัวจะสลายไป
เมื่อเรายอมรับความเป็นจริงของชีวิต
“ผ่านความเต็มใจ”
เต็มใจที่จะหวาดกลัว
เต็มใจที่จะรับฟัง
เต็มใจที่จะไว้ใจ
ซึ่งจะทำให้เราใช้กลไกหลบหนีน้อยลง
แล้วหันมาทำความเข้าใจสิ่งที่กลัว
และเป็นมิตรกับความหวาดกลัวมากขึ้น
“บ่มเพาะการอยู่กับความกลัวอย่างอ่อนโยน”
โฆษณา