10 ต.ค. 2020 เวลา 23:40 • สุขภาพ
น้ำอุ่น น้ำเย็น ดื่มแบบไหนดี❓
มีประโยชน์ ไร้โทษต่อร่างกาย
ความเชื่อต่าง ๆ เกี่ยวกับการดื่มน้ำของคนเรา มีมากมายหลากหลายเหลือเกิน บ้างก็ว่าควรดื่มแต่น้ำอุ่น ไม่ควรดื่มน้ำเย็น บ้างก็ว่าดื่มน้ำเย็นตอนร่างกายร้อน ๆ ก็ดีมีประโยชน์
ตกลงความเชื่อแบบไหนถูก แบบไหนผิด น่าคิดอยู่เหมือนกัน
วันนี้เราลองไปเรียนรู้วิธีการดื่มน้ำอย่างถูกต้องกันดีกว่า...
น้ำอุ่น หรือน้ำเย็น ดื่มอย่างไร ให้ได้ประโยชน์
ผู้ที่จะให้ความรู้ในเรื่องนี้คือ... ผศ.ดร.ทพญ.ดุลยพร ตราชูธรรม
อาจารย์ประจำสถาบันโภชนาการ
มหาวิทยาลัยมหิดล
เรามาเคลียร์กันทีละข้อเลยครับ..
🥛🌤️ตื่นนอนมาควรดื่มน้ำมาก
น้อยแค่ไหน ❓
การดื่มน้ำหลังจากตื่นนอนสัก 1 แก้ว จะช่วยกระตุ้นเรื่องการขับถ่าย และป้องกันไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ เพราะตลอดคืนที่เรานอนหลับ เราไม่ได้ดื่มน้ำเลยหลายชั่วโมง
🥛😴ก่อนนอนควรดื่มน้ำ
หรือไม่❓
1
ตามคำแนะนำที่ถูกต้อง ก่อนจะเข้านอน ไม่ควรดื่มน้ำมากเกินไป เพราะอาจจะทำให้ต้องตื่นขึ้นมาปัสสาวะบ่อยครั้ง ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาการนอนไม่เพียงพอได้
ทางที่ดี เพื่อหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำก่อนนอนที่มากเกินไป เราควรเว้นระยะเวลาระหว่างมื้ออาหารเย็นกับช่วงเวลาเข้านอนให้ห่างกันเกินกว่า 2 ชม. จะดีที่สุด
🥛🌡️น้ำอุ่น น้ำเย็น ดื่มน้ำแบบไหน
ดีต่อร่างกาย❓
สิ่งที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเลือกดื่มน้ำอุ่นหรือน้ำเย็นนั้น ขึ้นอยู่กับอากาศ
และความต้องการ หากอากาศร้อนการดื่มน้ำเย็นก็ช่วยลดอุณหภูมิในร่างกายได้ดี ส่วนวันที่หนาวเย็นการดื่มน้ำอุ่น ๆ ก็ดูจะเหมาะสมกว่า
แต่โดยปกติ การดื่มน้ำที่ไม่เย็นไป ไม่ร้อนไป ที่เรียกว่า น้ำอุณหภมิห้องจะเหมาะสมกับการดื่มในทุกช่วงเวลามากกว่า
ภาพจากไทยรัฐออนไลน์
🥛🕕ปริมาณการดื่มน้ำที่ถูกต้อง
ปริมาณน้ำที่เราควรดื่มน้ำในหนึ่งวันคือ 1.5 - 2 ลิตร (6 - 8 แก้ว)ต่อวัน
แต่เราต้องคำนึงถึงการบริโภคอาหารที่มีปริมาณน้ำแฝงอยู่เช่นแกงจืด ผลไม้ ซึ่งก็นับรวมเป็นน้ำส่วนหนึ่งที่เราบริโภคเหมือนกัน
🥛🍛ก่อนทานอาหาร หลังทาน
อาหาร ควรดื่มน้ำมากน้อยแค่
ไหน❓
ก่อนทานอาหาร ไม่ควรดื่มน้ำเยอะ เพราะจะทำให้เราทานอาหารได้น้อยลง
หลังทานอาหารก็ไม่ควรดื่มน้ำตามเยอะ ๆ ทันทีเหมือนกัน แนะนำว่าให้ดื่มไม่เกิน 1 แก้ว เพราะการดื่มน้ำหลังอาหารเยอะ ๆ จะทำให้พื้นที่ย่อยอาหารในกระเพาะเราลดลง
🥛🥛🥛ดื่มน้ำทีเดียวเยอะ ๆ เลย
แทนการทยอยดื่มได้ไหม❓
การดื่มน้ำทีเดียวเยอะ ๆ แทนการดื่มทีละน้อย ๆ ตลอดทั้งวัน ไม่เป็นผลดีต่อร่างกาย เพราะอาจเกิดภาวะเบาจืด หรือภาวะเสียความสมดุลของน้ำในร่างกายได้ ซึ่งจะทำให้มีอาการกระหายน้ำอย่างมาก แม้จะดื่มน้ำเข้าไปเท่าไหร่ก็ตาม
ภาพจากไทยรัฐออนไลน์
🥛❄️การดื่มน้ำเย็นมาก ๆ จะดึง
พลังงานในร่างกายออกไป
จริงหรือเปล่า❓
ยังไม่มีงานวิจัยรองรับ ว่าการดื่มน้ำเย็นจะทำให้ร่างกายสูญเสียพลังงาน แต่การแช่น้ำเย็นจัดอาจมีผลต่อการแข็งตัวของหลอดเลือดโดยตรงมากกว่า
🥛♀️สตรีที่มีประจำเดือนไม่ควร
ดื่มน้ำเย็น เพราะจะมีอาการปวด
มีส่วนถูกต้องไหม❓
การดื่มน้ำเย็นมากเกินไป ในสตรีที่กำลังมีประจำเดือน อาจจะทำให้เลือดประจำเดือนเกิดการแข็งตัวมากขึ้น เป็นผลให้มีอาการปวดท้องได้บ้าง
🥛🐷การดื่มน้ำขณะที่กินอาหาร
ที่มีไขมัน จะทำให้อาหารจับตัว
เป็นไขขึ้นในร่างกาย
ใช่หรือไม❓
น้ำที่เราดื่มลงไป จะปรับเปลี่ยนไปตามอุณหภูมิในร่างกายของเราอย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้นจึงไม่มีผลต่อการทำให้อาหารที่มีไขมันเกิดเป็นไขได้
🥛ดื่มน้ำเย็นหรือน้ำร้อน แบบไหน
ช่วยย่อยดีกว่ากัน❓
คำแนะนำที่ถูกต้องคือ เราไม่ควรดื่มน้ำที่เย็นจัดหรือร้อนจัดในระหว่างการทานอาหาร เพราะไม่ช่วยระบการย่อยอาหารทั้งคู่
ภาพจากไทยรัฐออนไลน์
🥛👄ปากแห้ง ผิวแห้ง ดื่มน้ำช่วย
ได้ไหม ❓
อย่างแรกต้องทราบให้แน่ชัดก่อนว่า ภาวะปากแห้ง ผิวแห้งเกิดจากเราขาดน้ำหรือเปล่า หากเกิดจากภาวะขาดน้ำ การดื่มน้ำบ่อย ๆ ก็ช่วยลดอาการปากแห้ง ผิวแห้งลงได้
🥛🍚กินข้าวคำ น้ำคำ ดีหรือไม่❓
การดื่มน้ำระหว่างทานอาหารนั้น หากไม่ดื่มในปริมาณที่มากเกินไป ก็สามารถทำได้ โดยเฉพาะหากมื้ออาหารนั้นเป็นอาหารที่ค่อนข้างแข็งการดื่มน้ำก็จะช่วยนำพาอาหารไปยังลำไส้ได้เร็วขึ้น
☝️คำแนะนำจากคุณหมอรวม ๆ เกี่ยวกับการดื่มน้ำอย่างถูกต้อง และดีต่อร่างกายมีดังนี้
ให้ดูความต้องการของร่างกายและสภาพแวดล้อมเป็นหลัก เช่นอากาศหนาวเย็น ก็ควรดื่มน้ำอุ่น
อากาศร้อนหรือออกกำลังกายมาก็สามารถดื่มน้ำเย็นได้ แต่น้ำที่ปลอดภัยดื่มได้ทุกสภาวะก็คือน้ำ
ที่อุณหภูมิห้อง ...
ดื่มแต่พอดี อย่าดื่มจนจุก และดื่มทีละน้อย ๆ ให้เพียงพอในหนึ่งวัน
ภาพจากไทยรัฐออนไลน์
ส่วนน้ำในภาพนี้ ดื่มไม่ได้ ต้องรอระบายอย่างเดียว...😁✌️
3
ขอบคุณคลิปความรู้จากรายการ
รู้เท่ารู้ทัน สถานีโทรทัศน์ไทย
พีบีเอส
ภาพจากunsplash
ขอบคุณนักอ่านที่รักทุกท่าน
ติดตามอ่านบทความดี ๆ ได้ที่

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา