28 ต.ค. 2020 เวลา 13:22 • ธุรกิจ
ทักษะในการดำเนินธุรกิจ ด้วยการบริหารจัดการสมัยใหม่
การบริหารจัดการสมัยใหม่ มีความสำคัญอย่างไรกับธุรกิจขนาดย่อม บทเรียนนี้ เราจะพาท่านไปเปิดมุมมองสู่โลกของการทำธุรกิจกันค่ะ
✍️ ไม่ว่าการประกอบธุรกิจจะเป็นขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ก็ตาม ต้องมีการบริหารจัดการในระดับที่เหมาะสม เพื่อกำหนดแนวทางการเติบโตของธุรกิจและสนับสนุนการประสานงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ เปรียบเสมือนฟันเฟืองของระบบธุรกิจเพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปอย่างราบรื่น
ธุรกิจขนาดย่อมหลายรายประสบปัญหาไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ เนื่องจากเจ้าของหรือผู้ประกอบการไม่ให้ความสนใจพัฒนาระบบบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพตามขนาดการเจริญเติบโตขอบธุรกิจ
💥 ดังนั้น ธุรกิจขนาดย่อมต้องให้ความสนใจการบริหารจัดการสมัยใหม่ และนำทักษะมาใช้ให้เป็นประโยชน์มากที่สุด
✍️ โดยธรรมชาติของธุรกิจขนาดย่อม พบว่าสภาพแวดล้อมหรือบรรยากาศการดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างรวดเร็ว และเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จึงต้องการการตัดสินใจของผู้บริหารที่เด็ดขาดและรวดเร็วทันเหตุการณ์ เพื่อผลักดันธุรกิจให้ประสบผลสำเร็จและขยายตัวต่อไปได้ แตกต่างจากองค์กรหรือบริษัทขนาดใหญ่ที่ไม่สามารถสนองตอบต่อความผันผวนเฉพาะหน้าได้ลักษณะเดียวกับธุรกิจขนาดย่อม
💥 ดังนั้น การใช้หลักบริหารจัดการต้องมีความแตกต่างกันออกไประหว่างธุรกิจขนาดใหญ่และธุรกิจขนาดย่อม
✍️ ผู้ประกอบการหรือเจ้าของกิจการขนาดย่อมหลายราย มีความเข้าใจว่าการบริหารจัดการสมัยใหม่ ไม่มีทางนำมาใช้กับธุรกิจได้ เนื่องจากการบริหารจัดการจะต้องอยู่ในรูปแบบที่ใช้ในบริษัทหรือองค์กรขนาดใหญ่
แต่จริงๆ แล้ว การนำหลักการบริหารจัดการมาใช้กับกิจการขนาดย่อม จะต้องมีการปรับปรุงรูปแบบให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของธุรกิจขนาดย่อมเฉพาะราย โดยเฉพาะในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจภายในประเทศ
อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีประสบการณ์ยืนยันว่า การบริหารจัดการที่เหมาะสมและเป็นระบบ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อธุรกิจขนาดย่อม หากเจ้าของกิจการต้องการพัฒนาธุรกิจให้ก้าวหน้าต่อไปอย่างต่อเนื่อง “ ระบบที่เหมาะสม ก็คือ การย่อแบบมาจากระบบใหญ่ “
 
💥 ดังนั้น ผู้บริหารธุรกิจขนาดย่อม ควรเลือกใช้แนวทางต่างๆ ที่เหมาะสม มาประยุกต์เข้ากับประเภทธุรกิจของตนเอง และเลือกระดับการปฏิบัติให้สอดคล้องกับขนาดของธุรกิจ
⛳ จุดอ่อนหรือข้อจำกัดในการบริหารจัดการธุรกิจขนาดย่อม
📌 จุดอ่อนข้อแรก คือ ปัญหาทางด้านการเงินและการลงทุน ทั้งการหาแหล่งเงินทุนสนับสนุน การเริ่มต้นหรือขยายกิจการ รวมถึงการจัดหาแหล่งสนับสนุนสำหรับเงินสดหมุนเวียน ส่งผลให้เจ้าของหรือผู้บริหารไม่มีเวลาหรือไม่สามารถจัดหาทรัพยากรจำเป็นสำหรับบริหารจัดการได้พอเพียง
ปัญหาการเงินจึงเป็นอุปสรรคด่านแรกที่จะทำให้เจ้าของกิจการคำนึงถึงวิธีหรือการนำระบบการบริหารจัดการเข้ามาพัฒนากิจการ
📌 จุดอ่อนต่อไป คือ ธุรกิจขนาดย่อมมีข้อจำกัดด้านจำนวนบุคลากร และความรู้ความสามารถของบุคลากรที่มีอยู่
ไม่สามารถจัดหาบุคลากรเฉพาะด้านเข้ามาดูแลการตลาด วิจัยตลาด โฆษณาประชาสัมพันธ์ วิเคราะห์การเงินการลงทุน การบริหารทรัพยากรมนุษย์ได้ เป็นต้น
⛳ วิธีแก้ไข
📌 ในระยะเริ่มแรก เจ้าของต้องทำหน้าที่ดูแลกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการด้วยตัวเอง หากเป็นไปได้ควรสรรหาผู้ที่มีความสามารถช่วยดูแลการบริหารจัดการในภาพกว้างเป็นหน่วยสนับสนุน
โดยส่วนมากในระยะเริ่มต้นธุรกิจ เจ้าของกิจการลงมือทำงานด้วยตัวเอง ดังนั้น เจ้าของจะใช้เวลากว่าร้อยละ 90 ในการลงมือปฏิบัติ และเหลือไม่ถึง 10% ในการบริหารจัดการ
📌 เมื่อธุรกิจขยายตัวมากขึ้น เจ้าของกิจการค่อยๆ เปลี่ยนสภาพมาทำหน้าที่ดูแลและบริหารมากขึ้น เช่น จัดสรรเวลาในการวางแผน บริหารการเงิน และประสานงานให้เกิดความคล่องตัว
📌 หากธุรกิจเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีการเพิ่มจำนวนพนักงาน โดยเฉพาะระดับหัวหน้างานหรือผู้จัดการคอยบริหารควบคุมดูแลแทนเจ้าของกิจการ จะนำไปสู่การเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีการบริหารจัดการหลายระดับขึ้น
💦.....อย่างไรก็ตาม วิวัฒนาการเหล่านี้จะดำเนินไปได้ก็ต่อเมื่อเจ้าของกิจการจะต้องให้ความสนใจดูแล และกำกับทิศทางการเจริญเติบโตของธุรกิจอย่างใกล้ชิด เพราะความสำเร็จไม่ได้เกิดขึ้นอย่างอัตโนมัติ ไม่ว่าธุรกิจขนาดย่อมจะอยู่ในขั้นตอนไหนของวิวัฒนาการ ผู้ประกอบการหรือเจ้าของกิจการ ไม่ควรละเลยการนำเทคนิคการบริหารจัดการสมัยใหม่มาใช้เพื่อเพื่อแก้ไขจุดอ่อนในการดำเนินธุรกิจค่ะ
Cr. บันไดสู่ความมั่งคั่ง (ตลท.)
เรียบเรียงโดย : ลงทุนในบัญชีและภาษี
ช่องทางอื่นในการติดตาม เพจลงทุนในบัญชีและภาษี
ขอบคุณทุกกำลังใจและการติดตามนะคะ 🙏🙏😘😘

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา