30 ต.ค. 2020 เวลา 00:07 • ท่องเที่ยว
ช๙๒_วัดธาตุคำ เรียงนั่นอาวาสแก้ว กุฎีคำ
◇ตามรอยโคลงครู นิราศหริภุญชัย◇ ตอน๑๔
หภ๓๐
๏ เรียงนั่นอาวาสแก้ว กุฎีคำ
ทุกข์ตำงนเรียมจำ เจตไหว้
เทพาพิทักษ์ทำ พุทธศา สนาเอย
จำเจตนงค์น้องไว้ รีบร้างดลเดินฯ
นิราศหริภุญไชย
๙๙.ประวัติศาสตร์หลากค้น กุฎีคำ
วัดหลวงเจื่องเจ้านำ สืบสร้าง
ก้ำสองกำแพงทำ ชัยภูมิ
สองขงพูนดินอ้าง ยังเน้นเห็นรอยฯ
๑๐๐.ประตูเชียงใหม่ต่อก้อม กลางทาง
ตำนานมูลศาสน์อ้าง ตุ๊เจ้า
แผ่นดินเจ้าลกสาง พุทธจ้า
นิมนต์กุฎีคำเข้า สวนดอกเจ้านำพิงค ฯ
๑๐๑.จากเจ้าลก*จึ่งเค้น เร้นก่อน
หกร้อยปีมองย้อน สว่างน้าว
อารามเทียบคู่คอน สวนดอก
เอกอารามเชียงใหม่ก้าว สุมนจ้านำเดิน ฯ
*พระเจ้าติโลกราช
๑๐๒.ลูกหลานมาพร้อมเจ้า เชียงตุง
อพยพต้นวงศ์ผดุง กาวิละเกล้า
สิบสองปันนาลื้อเขินจุ่ง ค้ำเวียง
ใต้เวียงชนล้อมเข้า คามนี้กุฎีคำ ฯ
๑๐๓.ตั้งเมืองแรกตั้งต้อง เกณฑ์พล
อพยพเมืองรอบชน หมู่ถ้วน
แปงเมืองใหม่แปงดล จากว้าง
เจ้าเชียงตุงปักล้วน ไพร่ฟ้าหยั่งราก ฯ
....วัดกุฎีคำในอดีตหรือวัดธาตุคำในปัจจุบัน มีคนวิเคราะห์กันในหลายประเด็นแต่ส่วนใหญ่จะตีความว่าเป็นอารามหลวงและเก่าแก่ ในสมัยก่อนหรือที่พบบันทึกไว้ก็ในสมัยพระเจ้าติโลกราชนั่นเลยประมาณปีหนึ่งเก้าปลายๆนี่ก็ร่วมหกร้อยปี และเป็นที่แปลกกว่าที่อื่นในสถานที่มีการถมดินพูนสูงโดยเฉพาะในเขตพุทธาวาส ลักษณะเช่นนี้จะแทบไม่มีเลยในระบบการก่อสร้างของวัดที่เชียงใหม่ จนผ่านยุคที่เจ้ากาวิละมาตั้งเมืองใหม่จากที่ทิ้งเป็นเมืองร้าง ในย่านนี้(ถนนสุริยวงศ์)ก็จะมีสามวัดสำคัญ คือวัดยางกวง วัดนันทารามและวัดนี้ ตอนนั้นต้องไปอพยพ เจ้าสารัมพยภูมินนรินทราเขมาธิปติราชา เจ้าผู้ครองนครเชียงตุงและชาวไทลื้อ ไทเขิน จากสิบสองปันนา เข้ามาอยู่ในพื้นที่นี้ ตำแหน่งที่ชุมชนเข้ามาอยู่นั้นคือประตูเมืองด้านทิศใต้ อยู่ระหว่างประตูเมืองชั้นในและชั้นนอก ประตูเชียงใหม่นั้นเป็นประตูชั้นใน และประตูก้อม เป็นประตูชั้นนอก
๑๐๔.ยุคนี้ชนฝั่งโน้น ยังน้อม
ว่าวัดบรรพบุรุษค้อม นบน้าว
ดูป้ายจารึกเจ้าพร้อม บำรุง
เห็นเชื่อมต่อแดนด้าว พี่น้องเคยเป็น ฯ
๑๐๕.จึงเชิญเราท่านล้วน ชมศาสน์
ดูพุทธล้ำดูธาตุ คำแก้ว
ดูเจตตต่างคามผงาด ร่วมเกลียว
ต่างสีหนึ่งสัทธาแล้ว หยัดนั้นพุทธยืน ฯ
ทางแก้ว
โคลงชมวัด
เขียนวัด

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา