Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Wasabi
•
ติดตาม
25 ต.ค. 2020 เวลา 00:00 • สุขภาพ
โดพามีน (Dopamine) คืออะไร?
โดพามีน เป็นเคมีแห่งความรัก จริง ๆ เหรอ?
โดพามีน คือ สารเคมีในสมองที่เกิดจากกรดอะมิโนชนิดไทโรซีน และเอนไซม์ไทโรซีนไฮดร็อกซิเลส ที่ทำงานควบคู่กัน ซึ่งถือเป็นสารที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มแคทีโคลามีนที่ประกอบไปด้วยนอร์เอพิเนฟริน, อิพิเนฟริน และโดพามีนนั่นเอง
จริง ๆ แล้ว Dopamine เป็นสารเคมีธรรมชาติที่ เป็น immediate precursor ของ norepinephrine (NE) นั่นเอง โดยสารที่หลั่งออกมานั้นจะถูกรับโดยโปรตีนในสมองและเส้นประสาททั่วร่างกาย
โดพามีน (Dopamine) คืออะไร?
โดพามีนทำหน้าที่อะไรบ้าง?
โดพามีน (Dopamine) ทำหน้าที่ในการ
+ ควบคุมอารมณ์
- ความพึงพอใจ
- ความปิติยินดี
- ความรักใคร่ชอบพอ
+ การเรียบเรียงความนึกคิด
+ การทำหน้าที่ของสมองในการควบคุมการเคลื่อนไหว
#สาระจี๊ดจี๊ด
โดพามีน ส่งผลกระทบต่อการควบคุมอารมณ์ของเราเช่นนี้ เราจึงควรรับประทานอาหารที่อุดมด้วยโปรตีน เนื่องจากโดพามีนผลิตได้จากกรดอะมิโนชนิดไทโรซีน เช่น
รับประทานพวก
+ เนื้อสัตว์ต่าง ๆ
+ นม
+ ไข่
+ ถั่วเหลือง
เพื่อส่งเสริมให้ร่างกายได้รับสารโดพามีนอย่างเหมาะสม ไม่มาก หรือน้อยจนเกินไป
1
โดพามีนมีประโยชน์อะไร?
เพราะเมื่อสารนี้เข้ามากระตุ้นการทำงานของสมอง
จะทำให้คุณ...
- มองโลกในแง่ดีมากยิ่งขึ้น
- รู้สึกอารมณ์ดีและรู้สึกดีได้ง่าย ๆ ต่อสิ่งรอบตัว
- ช่วยทำให้คุณกลายเป็นคนจดจำได้แม่นยำยิ่งขึ้น
- สามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว
- ระบบการเคลื่อนไหวต่าง ๆ โดยเฉพาะระบบกล้ามเนื้อจะทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- มีความกระฉับกระเฉง มีความตื่นตัวอยู่เสมอ
1
#สาระจี๊ดจี๊ด
ในขณะที่คุณออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาจะรู้สึกได้ทันทีว่าร่างกายสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างใจต้องการ นั่นเป็นเพราะสารโดพามีนด้วยส่วนหนึ่งที่ทำให้ระบบสมอง และระบบร่างกายทำงานควบคู่กันได้อย่างลงตัว
#สาระจี๊ดจี๊ด
สารโดพามีนจะหลั่งตลอดชีวิต แต่ช่วงของการเจริญพันธุ์คือ
ระหว่างอายุ 12 – 30 ปี จะพบได้มากที่สุด
เนื่องจากเป็นช่วงที่ร่างกายไวต่อสิ่งกระตุ้นรอบตัวต่าง ๆ
อีกทั้งยังเป็นช่วงอายุที่ร่างกายมักจะมองหาคู่รัก หรือเพศตรงข้ามมากขึ้น
จึงทำให้สารนี้หลั่งออกมาจนถูกขนานนามมาเป็น "เคมีแห่งความรัก"
จะเกิดอะไรเมื่อร่างกายขาดสารโดพามีน?
หากร่างกายขาดสารโดพามีนมากจนเกินไป จะทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลายชนิด เช่น โรคพาร์กินสัน โรคเรตส์ โรคจิตเภท โรคซึมเศร้า
ซึ่งมีสาเหตุหลัก ๆ มาจากการที่เซลล์สมองไม่สามารถสร้างสารโดพามีนได้ หรือเซลล์สมองบางส่วนที่ทำหน้าที่สร้างสารโดพามีนเกิดตายลง จนทำให้การควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายเป็นไปได้โดยยาก และผิดปกติลงในที่สุด
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
พิสูจน์อักษรโดย วาลีพ
แหล่งที่มา
https://il.mahidol.ac.th/e-media/nervous/ch1/chapter1/link11.html
https://www.scimath.org/article-science/item/3345-2013-02-08-06-46-54
https://web.facebook.com/216848761792023/posts/1467072070103013/?_rdc
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง
เพจวาซาบิ
พัฒนาตัวเอง
ความสุข
13 บันทึก
29
9
16
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
สุขภาพ โรคภัย การแพทย์
13
29
9
16
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย