Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ออมให้เงินโต แบบเข้าใจง่ายๆ
•
ติดตาม
31 ต.ค. 2020 เวลา 01:36 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ออมให้เงินโต ภาคกองทุนรวม EP24
“กองทุนหุ้นตอนที่ 5 กองทุนดัชนีในประเทศ
สวัสดีครับ นึกว่าจะจบกองทุนหุ้นแล้วใช่มั๊ยครับ ยังๆๆ 5555 วันนี้เราจะมาพูดถึงกองหุ้นอีกกลุ่มที่น่าสนใจ เป็นกองทุนที่ตำราวางแผนการเงินมักจะแนะนำให้เรามีไว้ เป็นตัวหลักในพอร์ตการลงทุน กองทุนนั้นคือกองทุนดัชนี (Index Fund)
กองทุนดัชนีนั้น แน่นอนว่าอย่างที่เคยคุยกับไปแล้ว เขาจะลงทุนให้ได้ผลตอบพอๆกับดัชนีนั้นๆ (นโยบายลงทุนแบบ Passive) ซึ่งการลงทุนแบบนี้มีข้อดีชัดๆคือ ค่าธรรมเนียมถูก อย่างกองในบ้านเราจะเห็นว่ากองดัชนีนั้นมีค่าธรรมเนียมบริหารจัดการ (TER) อยู่แถวๆ 0.5-0.7% ซึ่งถูกมาก เมื่อเทียบกับกองแอคทีฟอื่นๆที่มี TER อยู่แถวๆ 1.5-2.0%
โดยเฉพาะกองของ บลจ.ไทยพาณิชย์คือ SCBSET และ SCBSET50 มีการแบ่งกลุ่มหน่วยลงทุนออกมาเรียกว่า Class E (หน่วยลงทุน E) ซึ่งเจ้า Class E เนี่ย เราจะต้องส่งคำสั่งซื้อออนไลน์ด้วยตัวเอง โดยจะได้ค่าธรรมเนียมจะถูกมากๆๆ จึงจำกัดการลงทุนที่คนละไม่เกิน 1 ล้านบาท โดยจะนับจากเงินที่ลงทุนนะครับ ไม่นับผลกำไร อันนี้ไม่ได้ค่าโฆษณาใดๆนะ แค่เห็นว่าน่าสนใจดี
ด้วยความที่กองทุนดัชนีจะพยายามทำผลตอบแทนให้เท่ากับดัชนีนั้นๆ และ ดัชนีส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นตัวแทนตลาดในประเทศนั้นๆ มันก็พอจะพูดได้ว่า การลงทุนในกองทุนดัชนีก็คือการที่เราลงทุนให้เงินของเราเติบโตไปกับประเทศนั้นๆ
ของต่างประเทศ เอาที่น่าจะเคยได้ยินกันก็ได้แก่ ดัชนี S&P500 ของอเมริกา, ดัชนี A Share และ H-Share ของจีน
นอกจากประเทศแล้ว เรายังมีดัชนีที่อิงกับภูมิภาค เช่น EURO STOXX 50 ของทวีปยุโรป หรือ แม้แต่ดัชนีโลกอย่าง MSCI ACWI ซึ่งกองดัชนีต่างประเทศขออนุญาตยกไปไว้ EP ท้ายๆนะครับ วันนี้มาดูเฉพาะกองดัชนีในบ้านเราก่อน
การเลือกกองดัชนีในบ้านเรานั้น มีข่าวร้ายอย่างนึงคือ เราไม่สามารถใช้เว็บ Morningstar หรือ Wealthmagik ในการคัดกรองกองทุนกลุ่มนี้ออกมาได้นะครับ เราจะคัดได้แต่กองทุนหุ้น (Equity Fund) เท่านั้น ส่วนกองหุ้นแบบ Passive หรือ Index Fund นั้นไม่มีให้เลือก
(ถาม) แล้วเราจะหากองดัชนีได้ยังไง?
(ตอบ) สามารถทำได้ 3 วิธีครับ
1. สะสมประสบการณ์ ด้วยการติดตามข่าวสาร ศึกษาอย่างต่อเนื่อง ระหว่างทางของการศึกษาหาความรู้ เราจะรู้จักกอง Passive มาจำนวนนึง แต่วิธีนี้ใช้เวลาเยอะ อย่างต่ำๆ 1-2 ปีต้องมี แล้วจะพูดถึงทำไม 555
2. ใช้ความถึกเข้าว่า ด้วยการคัดมาเฉพาะกองหุ้น จากนั้นไล่ดู Fund Fact Sheet ทีละกองๆ วิธีดูก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไร ใน Fund Fact Sheet จะระบุไว้ชัดเจนว่า กองนี้บริการแบบ Passive นะจ๊ะ ตามรูป
บางกองใจดีหน่อย บอกตั้งแต่หน้าแรกๆเลยว่า นี่คือกองดัชนี (Index Fund) นะครับ
วิธีนี้เร็วกว่าวิธีแรก แต่ก็นั่นแหละ ต้องอาศัยความอึด ถึก ทน พอสมควร
3. ใช้ Google สิครับ ข้อนี้เร็วสุด ค้นหาโดยใช้คำว่า กองทุนดัชนี SET หรือ SET50 ก็ได้
แหม่ ทำไมเพิ่งมาบอก 555
เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา ผมใช้ทั้ง 3 วิธี รวบรวมกองทุนดัชนีที่ลงทุนในบ้านเรามาให้แล้วครับ เฮ้ๆๆๆ ซึ่งส่วนใหญ่ลงทุนในดัชนี SET50 โดยขออนุญาตตัดกองทุนที่มีการจ่ายปันผล, กองทุน RMF และ SSF ออกไปนะครับ
คำถามต่อมา พอได้รายชื่อกองทุนมาแล้ว เราจะเลือกยังไง? ต้องทำตารางเปรียบเทียบแบบกองทุนหุ้นทั่วๆไปหรือเปล่า?
(ตอบ) เลือกจากผลตอบแทนในตารางได้เลยครับ
เฮ้ย จริงดิ ง่ายไปมั๊ย 55555
ครับ คืองี้ เนื่องจากกองทุนดัชนีนั้น เขาลงทุนให้ได้ผลตอบแทนตามดัชนี สังเกตจากผลตอบแทนในตารางมันไม่ต่างกันมาก ดังนั้นเราสามารถจิ้มตัวไหนก็ได้ โดยดูจากผลตอบแทนที่มากที่สุด หรือ ดูจาก TER ที่น้อยที่สุด แค่นี้แหละ (ในตารางไม่ได้ใส่ค่าธรรมเนียมซื้อขายไว้ด้วย ซึ่งเวลาเลือกเราควรเอามาร่วมพิจารณนาด้วยนะครับ)
อย่างไรก็ตามถ้าว่ากันตามตำรา เขาจะบอกว่า เวลาเลือกกองทุนดัชนี ให้เราดูจาก Tracking error (อ่านว่า แทร็คกิ้งเออเร่อ) มันคืออะไร?
(ตอบ) Tracking error แปลตรงๆได้ว่าความผิดพลาดออกนอกเส้นทาง
อย่างที่เรารู้กัน กองดัชนีลงทุนให้ได้เท่ากับดัชนี โดยดัชนีเปรียบเสมือนเป็นคนเดินนำ ส่วนกองทุนมีหน้าที่เดินตามให้ตรงเป๊ะๆ ถ้าเดินตามไม่ตรง แปลว่า มีความผิดปกติเกิดขึ้นแล้วสิ ไม่เมาก็ต้องมีปัญหาทางสายตาแน่นอน และยิ่งเดินไม่ตรงมาก ค่า Tracking Error ก็จะยิ่งมากตามไปด้วย
แต่ทว่าในความเป็นจริง กองทุนจะเดินได้ไม่ตรงตามดัชนีเป๊ะๆหรอกนะ เพราะว่ากองทุนนั้นมีการเก็บค่าบริหารจัดการด้วย ซึ่งผลตอบแทนของกองทุนรวมเนี่ยก็จะน้อยกว่าดัชนีอยู่นิดหน่อย
Tracking Error ในระยะสั้นๆแบบ 3 เดือน 6 เดือน เราจะต้องคำนวณเองซึ่งค่อนข้างวุนวาย ผมแนะนำให้ดูจาก Fund Fact Sheet ได้เลย โดยดูที่กราฟผลการดำเนินงาน เทียบกับตัวชี้วัด (Benchmark) ตามรูปเลยครับ
จากรูปจะเห็นว่า Tracking Error แต่ละปีดูด้วยตาเปล่าอยู่แถวๆ 1% นิดๆ ซึ่งมันก็ประมาณนี้แหละ แต่ที่สำคัญสุดๆคือตัวชี้วัดที่เอามาเทียบต้องเป็นดัชนี TRI (Total Return Index) เท่านั้น เช่น ในรูป กองทุนลงทุนในดัชนี SET50 เราต้องเทียบ Tracking Error ระหว่างกองทุนกับ SET50 TRI เท่านั้น
ในกรณีที่กองทุนลงทุนให้ได้ตามดัชนี SET เราก็ต้องเทียบกับดัชนี SET TRI
ซึ่งการหาดัชนี TRI มาเปรียบเทียบเองเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความพยายามพอสมควร ดังนั้นดูจากกราฟเอาเลยง่ายกว่า
และจะง่ายที่สุด ถ้าเราดูเปรียบเทียบผลตอบแทนแบบที่บอกตอนแรก เพราะถ้ากองไหนมีค่า Tracking Error ที่แย่ ผลตอบแทนมันจะต่างจากกองอื่นๆแบบชัดเจนนะครับ ตามตารางที่ทำมาจะเห็นว่ากองทุน JB25 ผลตอบแทน 5 ปี ก็ค่อนข้างต่างจากชาวบ้านเยอะเหมือนกัน เข้าใจว่าเป็นเพราะกองทุนเลือกลงทุนในหุ้น 25 ตัวแทนที่จะเป็น 50 ตัว
ข้อดีของกองทุนดัชนี
1. แน่นอน ค่าธรรมเนียมถูก
2. กระจายความเสี่ยงดีกว่า กองดัชนีต้องซื้อหุ้นหลายๆตัว และส่วนใหญ่หุ้นพวกนั้นมักจะเป็นหุ้นขนาดใหญ่ด้วย เช่น กองที่เลียนแบบดัชนี SET50 ก็ต้องลงหุ้น 50 ตัว เพื่อให้ได้ผลตอบแทนตามดัชนี แต่กอง Active บางกองอาจจะมีหุ้นแค่ 10 ตัวเท่านั้น
ข้อเสียของกองทุนดัชนี
ขึ้นและลงตามดัชนี คือตอนขึ้นไม่เท่าไหร่ แต่ตอนลงนี่สิ จากในตารางกองทุนดัชนีในบ้านเรา ณ ตอนนี้ (เดือนตุลาคม พ.ศ.2563) ผลตอบแทนก็โดนวิกฤตโควิดเล่นงาน ติดลบไปพร้อมตลาดหุ้นเรียบร้อย ผลตอบแทนระยะยาว 10 ปี ก็เหลือแถวๆ 4% เท่านั้น เทียบกับกอง Active ที่เราเพิ่งคัดกันไป ผลตอบแทน 10 ปียังอยู่แถวๆ 7-9%
วันนี้น่าจะเข้าใจกองดัชนีกันมากขึ้นแล้วเนาะ ซึ่งความรู้ตรงนี้แหละ จะช่วยให้เราเข้าใจอะไรๆง่ายขึ้นเวลาไปหากองดัชนีต่างประเทศ ซึ่งจะได้พูดถึงใน EP หลังๆนะครับ
วันนี้จบเรื่องกองทุนหุ้นแล้ว อาทิตย์หน้าเราจะมาเจอกับกองทุนผสมครับ สวัสดีครับ ชุบ ชุบ
อ้างอิง:
สรุปข้อมูลสำคัญการลงทุน กองทุนเปิดทหารไทย SET50 ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2563
สรุปข้อมูลสำคัญการลงทุน กองทุนเปิด JUMBO 25 ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2563
สรุปข้อมูลสำคัญการลงทุน กองทุนเปิดกรุงไทย SET50 ชนิดสะสมมูลค่า ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2563
สรุปข้อมูลสำคัญการลงทุน กองทุนเปิดเค เซ็ท 50 ณ วันที่ 30 กันยายน 2563
สรุปข้อมูลสำคัญการลงทุน กองทุนเปิดธนชาต SET50 ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2563
สรุปข้อมูลสำคัญการลงทุน กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ SET50 INDEX (ชนิดสะสมมูลค่า) ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2563
สรุปข้อมูลสำคัญการลงทุน กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ เซ็ท อินเด็กซ์ ฟันด์ (ชนิดสะสมมูลค่า) ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2563
สรุปข้อมูลสำคัญการลงทุน กองทุนเปิดพรินซิเพิล เดลี่ เซ็ท 50 อินเด็กซ์ชนิดสะสมมูลค่า ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2563
ออมให้เงินโต วางแผนการเงินด้วยตัวเอง ใช้ภาษาบ้านๆ เข้าใจง่าย อ่านฟรีครับ
https://bit.ly/3mBhhio
อ่านแล้วมีคำถาม ถามได้ที่เพจตลอดเวลา ยินดีตอบคำถามอย่างมากๆครับผม
https://www.facebook.com/EzyFinPlan
ถ้าอ่านแล้วชอบ สั่งซื้อหนังสือออมให้เงินโตได้จากช่องทางต่อไปนี้นะครับ
Line : @proudorder
คลิก >
https://bit.ly/33z7RLe
หรือ > Lazada : PROUD
คลิก >
https://s.lazada.co.th/s.ZRnKa
1 บันทึก
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ออมให้เงินโต ภาคกองทุนรวม
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย