2 พ.ย. 2020 เวลา 11:07 • ประวัติศาสตร์
“การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 (Siamese revolution of 1932) การปฏิวัติที่เป็นจุดเปลี่ยนของประวัติศาสตร์ไทย” ตอนที่ 3
2
วันลงมือ
คณะราษฎรได้วางแผนก่อการ หากแต่แผนการของพวกเขาก็ดันรั่ว หลุดไปถึงตำรวจ
1
เมื่อทราบเรื่อง ในวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ.2475 อธิบดีกรมตำรวจ จึงได้โทรศัพท์หากรมพระนครสวรรค์วรพินิต เพื่อทูลให้ทรงทราบ พร้อมขอให้ประทานพระอนุญาต จับกุมคณะผู้ก่อการทุกคน
5
หากแต่กรมพระนครสวรรค์วรพินิตก็ทรงเห็นว่ารายชื่อที่กราบทูลมานั้น ล้วนแต่เป็นผู้ที่มีอำนาจ หากทำการจับกุม อาจจะมีปัญหา จึงให้เลื่อนการจับกุมออกไป
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
ในเย็นวันนั้น คณะผู้ก่อการได้เริ่มลงมือ โดยหนึ่งในกลุ่มผู้สนับสนุนได้เกณฑ์เรือปืน ล่องมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา และในตอนเช้า ก็ได้เล็งปืนไปยังวังบางขุนพรหมของกรมพระนครสวรรค์วรพินิต
2
จากนั้น ก็ได้มีการเกณฑ์กะลาสีกว่า 500 นายเพื่อเตรียมพร้อมยึดพระที่นั่งอนันตสมาคม ส่วนทางด้านร้อยโทประยูร ก็ได้สั่งการ ให้ทำการยึดที่ทำการไปรษณีย์และโทรเลขรอบพระนคร ทำให้การสื่อสารระหว่างพระบรมวงศานุวงศ์และฝ่ายบริหาร ถูกตัดขาดจากกัน
2
ในเวลาเช้ามืดของวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 พระยาทรงสุรเดชและผู้ร่วมแผนการจำนวนหนึ่ง ได้เดินทางไปยังค่ายทหารของกรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ ซึ่งเป็นที่เก็บยานยนต์หุ้มเกราะ และใช้อุบาย แสร้งตำหนินายทหารที่หลับในค่าย โดยกล่าวว่าเกิดการจลาจลของชาวจีนในพระนคร ทำให้เกิดความโกลาหล ก่อนที่พระประศาสน์พิทยายุทธจะจับกุมตัวผู้บัญชาการกรมทหารและนำตัวไปคุมขัง
4
จากนั้น เหล่าผู้ก่อการก็ได้มุ่งหน้าไปยังพระที่นั่ง โดยมีทหารในพื้นที่ใกล้เคียงได้เข้าร่วมกับผู้ก่อการ
ทหารราบและทหารม้ามาถึงลานพระราชวังดุสิตเมื่อเวลา 6.00 น. โดยมีประชาชนมาชุมนุมเป็นจำนวนมาก
3
ประชาชนต่างสับสน ไม่ทราบว่าเกิดการจลาจลของชาวจีนจริงๆ หรือเป็นการซ้อมรบทางทหาร
2
ทันใด พระยาพหลพลพยุหเสนาก็ได้ปีนขึ้นไปบนยอดของรถหุ้มเกราะ และอ่านประกาศคณะราษฎร
2
พระยาพหลพลหยุหเสนา
“ราษฎรทั้งหลาย เมื่อกษัตริย์องค์นี้ได้ครองราชสมบัติสืบต่อจากพระเชษฐานั้น ในขั้นต้นราษฎรบางคนได้หวังกันว่ากษัตริย์องค์ใหม่นี้คงจะปกครองให้ราษฎรได้ร่มเย็น แต่การก็หาได้เป็นไปตามที่คิดหวังกันไม่”
12
“กษัตริย์คงทรงอำนาจเหนือกฎหมายตามเดิม ทรงแต่งตั้งญาติวงศ์และคนสอพลอไร้คุณความรู้ให้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญ ๆ ไม่ทรงฟังเสียงราษฎร ปล่อยให้ข้าราชการใช้อำนาจหน้าที่ในทางทุจริต มีการรับสินบนในการก่อสร้างและซื้อของใช้ในราชการ หากำไรในการแลกเปลี่ยนเงิน ผลาญเงินของประเทศ ยกพวกเข้าขึ้นให้สิทธิพิเศษมากกว่าราษฎร กฎขี่ข่มเหงราษฎร ปกครองโดยขาดหลักวิชา ปล่อยให้บ้านเมืองเป็นไปตามยถากรรม ดังที่จะได้เห็นจากความตกต่ำในทางเศรษฐกิจและความฝืดเคืองในการทำมาหากิน”
20
“รัฐบาลของกษัตริย์ได้ปกครองอย่างหลอกลวง ไม่ซื่อตรงต่อราษฎร มีเป็นต้นว่าหลอกว่าจะบำรุงการทำมาหากินอย่างโน้นอย่างนี้ แต่ครั้นคอย ๆ ก็เหลวไป หาได้ทำจริงจังไม่ มิหนำซ้ำกลับกล่าวคำหมิ่นประมาทราษฎร ผู้มีบุญคุณเสียภาษีให้เจ้ากิน ว่าราษฎรยังมีเสียงทางการเมืองไม่ได้ เพราะราษฎรยังโง่ คำพูดของรัฐบาลเช่นนี้ใช้ไม่ได้ ถ้าราษฎรโง่เจ้าก็โง่ เพราะเป็นคนชาติเดียวกัน”
6
“ที่ราษฎรรู้ไม่ถึงเจ้านั้นไม่ใช่เพราะโง่ เป็นเพราะขาดการศึกษาที่พวกเจ้าปกปิดไว้ไม่ให้เรียนเต็มที่ เพราะเกรงว่าเมื่อราษฎรได้มีการศึกษา ก็จะรู้ความชั่วร้ายที่ทำไว้ และคงจะไม่ยอมให้ทำนาบนหลังคน”
7
“ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่าประเทศเรานี้เป็นของราษฎร ไม่ใช่เป็นของกษัตริย์ตามที่เขาหลอกลวง บรรพบุรุษของเราเป็นผู้ช่วยกันกู้ให้ประเทศมีอิสรภาพพ้นจากมือข้าศึก พวกเจ้ามีแต่จะชุบมือเปิป เงินเหลือเท่าใดก็เอาไปฝากต่างประเทศ คอยเตรียมหนีเมื่อบ้านเมืองทรุดโทรม ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก การเหล่านี้ย่อมชั่วร้าย”
19
“คณะราษฎรเห็นว่า การที่จะแก้ความชั่วร้ายนี้ได้ ก็โดยที่จะต้องจัดการปกครองโดยมีสภา จะได้ช่วยกันปรึกษาหารือหลาย ๆ ความคิด ดีกว่าความคิดเดียว ส่วนผู้เป็นประมุขของประเทศนั้น คณะราษฎรไม่ประสงค์ทำการแย่งชิงราชสมบัติ ฉะนั้น จึ่งได้ขอเชิญให้กษัตริย์องค์นี้ดำรงค์ตำแหน่งกษัตริย์ต่อไป แต่จะต้องอยู่ใต้กฎหมายธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน”
12
“ถ้ากษัตริย์ตอบปฏิเสธ หรือไม่ตอบภายในกำหนด โดยเห็นแก่ส่วนตนว่า จะถูกลดอำนาจลงมา ก็จะชื่อว่า ทรยศต่อชาติ และก็เป็นการจำเป็นที่ประเทศจะต้องมีการปกครองแบบอย่างประชาธิปตัย กล่าวคือ ประมุขของประเทศจะเป็นบุคคลสามัญซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้เลือกตั้งขึ้นอยู่ในตำแหน่งตามกำหนดเวลา”
7
นี่คือประกาศคณะราษฎรซึ่งอ่านโดยพระยาพหลพลพยุหเสนา
1
เมื่อประกาศจบลง เหล่าผู้ก่อการและทหารต่างเปล่งเสียงด้วยความยินดี
หากแต่อันที่จริง พระยาพหลพลพยุหเสนาเพียงแค่ขู่เท่านั้น ท่านรู้ดีว่าเพียงแค่นี้ยังไม่จบ อันที่จริง มันเพิ่งจะเริ่มต้นเท่านั้น
พระประศาสน์พิทยายุทธ ได้รับหน้าที่ไปควบคุมองค์กรมพระนครสวรรค์วรพินิต และสมาชิกระดับสูงในรัฐบาล และพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์อื่นๆ
พระประศาสน์พิทยายุทธได้นำกำลังบุกวังบางขุนพรหม โดยมีเป้าหมายคือกรมพระนครสวรรค์วรพินิต
ในขณะนั้น กรมพระนครสวรรค์วรพินิตกำลังจะเสด็จหนีพร้อมครอบครัวไปทางท่าน้ำหลังวัง แต่ทางหลังวัง มีเรือของทหารเรือฝ่ายคณะราษฎรคอยดักอยู่ พระองค์จึงทรงลังเล และยินยอมให้คณะราษฎรควบคุมองค์
พระประศาสน์พิทยายุทธ
ในท้ายที่สุด เจ้าหน้าที่ราวๆ 40 คน ได้ถูกคณะราษฎรจับกุมและคุมขังไว้ในพระที่นั่งอนันตสมาคม หากแต่ “พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน” (พระยศขณะนั้น) เสนาบดีว่าการกระทรวงพาณิชย์และการสื่อสาร ได้เสด็จหนีไปทางหัวรถจักร มุ่งหน้าสู่หัวหินเพื่อทูลเตือนรัชกาลที่ 7 ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
4
เมื่อทางฝ่ายทหารประสบความสำเร็จด้วยดี ปรีดีหรือ “หลวงประดิษฐ์มนูธรรม” หัวหน้าคณะราษฎรฝ่ายพลเรือน จึงได้ทำการแจกแผ่นพับ ใบปลิว และกระจายเสียงทางวิทยุขอให้ประชาชนสนับสนุนคณะราษฎร
1
พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน
จากนั้น ทางคณะราษฎรได้ส่งโทรเลข ถวายรัชกาลที่ 7 โดยใจความของโทรเลขคือ
“หากรัชกาลที่ 7 ไม่ทรงต้องการจะเป็นกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ คณะราษฎรจะถอดพระองค์ออกจากตำแหน่งและแทนที่ด้วยพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์อื่น และหากสมาชิกราษฎรคนใดได้รับบาดเจ็บ พระบรมวงศานุวงศ์ที่ถูกควบคุมองค์ ก็จะถูกทรมาน”
3
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี
ตอนต่อไป น่าจะเป็นตอนที่สำคัญอีกตอนหนึ่ง
รัชกาลที่ 7 ทรงทราบเรื่องและต้องตัดสินพระทัยอย่างเร็ว
เหตุการณ์จะเป็นอย่างไรต่อไป ฝากติดตามด้วยนะครับ
1
โฆษณา