4 พ.ย. 2020 เวลา 05:56 • การศึกษา
ศัพท์สยามกลับมาแล้วน๊าาเจ้าค่ะ ถึงเวลาที่เราจะต้องมาเริ่มต้นเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆ แต่เป็นคำศัพท์ที่เคยใช้มาก่อนเนินนานแล้ว ตั้งแต่สมัยอยุธยานู้นเลย ซึ่งล้วนแล้วแต่ทรงคุณค่าทางภาษาด้วยกันทั้งนั้นเจ้าค่ะ
แต่ก่อนที่เราจะไปเรียนรู้คำศัพท์ในวันนี้ หญิงก็อยากจะทดสอบพี่ท่านทุกคนสิว่าที่หญิงห่างหายไปเนี่ยไม่ได้มาเรียนกัน ลืมๆคำคัพท์ที่สอนมาไปแล้วบ้างหรือยัง ถ้าพร้อมแล้วก็ไปทำแบบทดสอบกันได้เลยน๊าเจ้าค่ะ
แบบทดสอบเกี่ยวกับคำศัพท์สยาม
แบบทดสอบที่ 1 จงตอบว่าข้อใดมีคำศัพท์และมีความหมายที่ถูกต้องตรงกันบ้าง
1. ว่อง หมายถึง การวิดน้ำขึ้นมาบนฝั่งอย่างรวดเร็ว (ไม่ถูกต้อง)
2. ขัว หมายถึง สะพาน
3. พี หมายถึง อ้วน
4. หน่าย หมายถึง การจำหน่ายสินค้าออก
5. เสี้ยง หมายถึง ให้หมดสิ้นไป
6. พิศดาร หมายถึง แปลก แตกต่าง
7. หัว หมายถึง หัวเราะต่อกระซิบ
8. เยีย หมายถึง ผ้าเยียรบับ
9. สอด หมายถึง การขอเพื่อแต่งงาน
10. สู หมายถึง ท่าน คุณ
เป็นอย่างไรกันบ้างเจ้าค่ะการทดสอบ ยังคงจดจำคำศัพท์สยามของเรากันได้เยอะอยู่หรือไม่ หากยังได้เยอะอยู่ ฉันต้องขอบคุณอย่างมากเจ้าค่ะที่ได้สืบสานอนุรักษ์และร่วมจดจำไว้ด้วยกัน
วันนี้เรามาเรียนรู้เพิ่มอีกหนึ่งคำกันเถอะเจ้าค่ะ ซึ่งวันนี้ฉันของนำเสนอคำว่า
"เบือน" หมายถึง หัน
ตัวอย่างทางการจาก พจน.อนินุทธ,176
"คางเบือนเบือนสู่หมอยา แก้มช้ำชายหา
แม่มดมาดูดูดาย"
คำว่า "เบือน" ในปัจจุบันนี้ไม่ปรากฎเป็นคำเดี่ยวในพจนานุกรมปัจจุบันแล้ว แต่ยังปรากฎเป็นคำซ้อนและคำประสมอยู่ในพจนานุกรมปัจุบัน ดังนี้
คำซ้อน "บิดเบือน" หมายถึง ทำให้ผิดแผกไปจากข้อเท็จจริง หรือ ำให้ผิดแผกแปลกไปจากเดิม
1
คำประสม "เบือนหน้า" หมายถึง หันหน้าหนี
นอกจากนี้เรายังพบเป็นคำเดี่ยวในพจนานุกรมภาษาถิ่นล้านนา (เหนือ) และอีสาน โดยใช้คำว่า "เบือน" ในบริบทเดี่ยวกันกับในสมัยอยุธยา แต่ใช้ในความหมายที่กว้างกว่ามากในปัจจุบัน คือ บิด, ไม่ตรง, คด, หัน, ผัน , เหไป เป็นต้น
(อ้างอิง: นิตยา มีสุวรรณ, การศึกษาคำเดี่ยวในวรรณกรรมไทยสมัยอยุธยาที่ไม่ปรากฎเป็นคำเดี่ยวในพจนานุกรมปัจจุบัน)
ตัวอย่างทั่วไป
อมร : พี่ท่านเหตุใดจึงเบือนหน้าหนีน้องเยี่ยงนั้นละเจ้าค่ะ
อนินุธ : เพราะข้ารังเกียจเจ้า
และนี้ก็คือคำศัพท์สยามที่ฉันนำมาฝากพี่ท่านทั้งหลายในวันนี้เจ้าค่ะ อย่างไรเสียก็ลองเอาคำศัพท์แต่ประโยคใช้กันดูนะเจ้าค่ะ
ลองพิมพ์รูปประโยคกันมาเลยลองดูน๊าาา 🥰✌🏻👏🏻
Le Siam
"สยาม ... ที่คุณต้องรู้"
Font Cr. : ดีอาร์โบราณ, ไทยย่อ๒๒๗๙, ไทยศรีศักดิ์ Cloud, Helvetica, Birch Std, Bilal

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา