11 พ.ค. 2021 เวลา 00:30 • การศึกษา
ฤกษ์งามยามดีแบบนี้ ได้เพลาที่เราจะกลับมาเรียนรู้คำศัพท์สยามกันแล้วละเจ้าค่ะ หลังจากที่เราไม่ได้เรียนรู้กันนานโขเลย
1
สำหรับวันนี้เนื่องด้วยการพบปะกันอีกครั้งของพวกเรา หญิงจึงขอนำเสนอคำศัพท์คำนี้เจ้าค่ะ กับคำว่า "พาน"
"พาน" เป็นคำเดี่ยวที่ใช้กันมาแต่โบราณปรากฎมีหลักฐานในสมัยอยุธยา มีความหมายถึง "การพบปะ" เจ้าค่ะ
ตัวอย่างทางการ :
- มหาชาติ กัณฑ์กุมาร
"ท้าวธก็มี พระเสาวณี ดูกรนางพญา อันว่าความกฤดีกา แต่สองราแรกทรงพรต กำหนดว่าใช่กาลบมิพาน ไปมาสู่สถานด่งงฤา"
- เสือโค
"บพบบพาน บรู้อาการ โทษาคุณา ไข้เจ็บเหน็บเหนื่อย มล้าเมเลื่อยโรคา บ่เห็นแก่ตา แม่เจ้าทั้งสอง"
"พาน" ปัจจุบันไม่พบเป็นคำเดี่ยวในพจนานุกรรมภาษาไทยแล้ว แต่ยังปรากฎใช้เป็นคำซ้อนและคำประสมอยู่ในพจนานุกรมปัจจุบัน เช่น
ในคำซ้อน
- "พบพาน" หมายถึง ปะกัน,เจอกัน, นิยมใช้ในความปฎิเสธ เช่น ไม่ประสบพบพาน เป็นต้น
- "พ้องพาน" หมายถึง ประสบ, แตะต้อง เช่น ขออย่าให้มีภัยอันตรายมาพ้องพาน เป็นต้น
ในคำประสม
-"แผ้วพาน" หมายถึง รบกวน เช่น ภัยอันตรายอย่างได้มาแผ้วพาน
นอกจากนี้แล้วยังพบปรากฎใช้เป็นคำเดี่ยวในพจนานุกรมภาษาถิ่นเหนือ และ ใต้อีกด้วย โดยใช้คำว่า "พาน" เหมือนกันกับสมัยอยุธยา โดยให้ความหมายถึง พบ,กระทบ,ค้างอยู่,ติดอยู่,ระไป ส่วนในถิ่นใต้นั้นให้ความหมายถึง การปะทะ เช่น วิ่งพานเชียก หมายถึง วิ่งไปถูกเชือก เป็นต้น
(อ้างอิง: นิตยา มีสุวรรณ, การศึกษาคำเดี่ยวในวรรณกรรมไทยสมัยอยุธยาที่ไม่ปรากฎเป็นคำเดี่ยวในพจนานุกรมปัจจุบัน)
ตัวอย่างทั่วไป
ขุนช้าง : วันทองน้องรัก พี่ดีใจหนักหนาที่ได้พบได้พานน้องหญิงอีกคร่า
วันทอง : ข้าหาได้ดีใจเหมือนพี่ท่านไม่ หากบุญข้ายังพอจักมีอยู่ ขออย่าได้พบได้พานกับพี่ท่านอีกเลย
และนี้ก็คือคำศัพท์สยามที่ฉันนำมาฝากพี่ท่านทั้งหลายในวันนี้เจ้าค่ะ อย่างไรเสียก็ลองเอาคำศัพท์แต่ประโยคใช้กันดูนะเจ้าค่ะ
ลองพิมพ์รูปประโยคกันมาเลยลองดูน๊าาา 🥰✌🏻👏🏻
Le Siam
"สยาม ... ที่คุณต้องรู้"

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา