12 พ.ย. 2020 เวลา 23:30 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
แผลรักษาตัวเองได้อย่างไร?
ทำไม? แผลและผิวหนังที่เพิ่งหายนั้นดูแตกต่างจากผิวบริเวณรอบ ๆ
กระบวนการสร้างเนื้อเยื่อใหม่เป็นเช่นไร?
เริ่มต้นโดยทำการรู้จักผิวหนัง
1
ผิวหนัง อวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายของคุณ
ในผู้ใหญ่นั้น มีพื้นที่ผิวประมาณ 20 ตารางฟุต
แผลรักษาตัวเองได้อย่างไร?
ถึงแม้ว่าผิวหนังในแต่ละพื้นที่นั้นมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน
แต่! โดยส่วนใหญ่แล้ว...
ผิวของเราประกอบชั้นผิวต่าง ๆ 3 ชั้นผิว
คือ...
1
1) ชั้นหนังกำพร้า (Epidermis)
ทำหน้าที่ในการช่วยปกป้องผิวจากแบคทีเรีย และมลภาวะต่าง ๆ รวมไปถึง ปกป้องการสูญเสียน้ำในชั้นผิว
2) ชั้นหนังแท้ (Dermis)
ในชั้นนี้จะมีรากผม เส้นประสาท เส้นเลือด และต่อมเหงื่อที่ช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกายและกำจัดของเสีย ผิวชั้นหนังแท้ยังมีต่อมไขมัน (Sebaceous) ที่ช่วยให้ผิวของคุณดูนุ่มนวลเรียบเนียนและกันน้ำด้วย
1
3) ชั้นไขมันใต้ผิวหนัง (Subcutaneous Fat Layer)
บริเวณที่ใช้เก็บสะสมไขมัน เนื้อเยื่อส่วนนี้ประกอบไปด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่ยึดผิวหนังชั้นหนังแท้กับกล้ามเนื้อและกระดูก และยังช่วยรองรับหลอดเลือด, เส้นประสาท และต่อมต่าง ๆ ในผิวชั้นหนังแท้
พื้นผิวนี้ทำหน้าที่คล้าย ๆ กัน
เช่น...
- ขับเหงื่อ
- รับรู้สึกถึงความร้อน และเย็น
- สร้างขน
หากชั้นผิวโดนบาดลึก หรือเป็นแผล
ผิวหนังที่เพิ่งหายนั้น จะดูแตกต่างจากผิวบริเวณรอบ ๆ
และอาจไม่ได้ฟื้นฟูความสามารถทุกอย่างกลับมาสักช่วงระยะหนึ่ง หรือตลอดไป
ทำไมมันจึงเป็นเช่นนั้น?
เราต้องมาดูที่โครงสร้างผิวหนังของมนุษย์กัน
ชั้นนอกสุด เรียกว่า...
ผิวชั้นหนังกำพร้า (Epidermis)
ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยเซลล์แข็ง ที่เรียกว่า คีราติโนไซต์ (Keratinocytes) ทำหน้าที่ป้องกัน
เนื่องจากผิวหนังชั้นนอกที่มีการผลัด และสร้างเนื้อเยื่อขึ้นมาใหม่อยู่ตลอดเวลา มันค่อนข้างที่จะซ่อมแซมได้โดยง่าย
หากแผลลึกไปถึงชั้นหนังแท้ (Dermis) ที่ประกอบไปด้วยหลอดเลือด ต่อมต่าง ๆ และปลายประสาท ที่ช่วยทำให้ผิวหนังทำหน้าที่ต่าง ๆ
2
"สี่ขั้นตอนของกระบวนการสร้างเนื้อเยื่อใหม่"
+ ขั้นตอนแรก
การห้ามเลือดเป็นการตอบสนองของผิวทันทีต่อการเสียเลือด และชั้นผิวกำพร้าที่ถูกทำลาย (Hemostasis)
เมื่อชั้นผิวกำพร้าถูกทำลาย หลอดเลือดจะหดตัว เพื่อลดการเสียเลือด ในกระบวนการที่เรียกว่า หลอดเลือดหดตัว (Vasoconstricion)
ร่างกายจะทำการสร้างลิ่มเลือดโปรตีนชนิดพิเศษที่เรียกว่าไฟบริน ผสานเชื่อมโยงกันที่ด้านบนของผิว เป็นการป้องกันเลือดไม่ให้ไหลออก และไม่ให้แบคทีเรีย หรือเชื้อโรคเข้ามา
+ ขั้นตอนที่สอง
หลังจากนี้ไปประมาณสามชั่วโมง ผิวหนังจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีแดง ส่งสัญญาณให้เกิด การอักเสบ (Inflammation)
เมื่อควบคุมการเสียเลือด และชั้นผิวนั้นปลอดภัยแล้ว ร่างกายจะส่งเซลล์พิเศษ เพื่อสู้กับเชื้อโรคที่ผ่านเข้ามา
ในบรรดาเซลล์ทั้งหมด เซลล์ที่สำคัญที่สุดคือ เซลล์เม็ดเลือดขาว ที่เรียกว่า มาโครฟาร์จ (Macrophages) จะจัดการแบคทีเรีย และเนื้อเยื่อที่เสียหาย ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า ฟาโกไซโตซิส นอกเหนือไปจากการสร้างโกรธเฟคเตอร์ เพื่อช่วยในการฟื้นฟู
เพราะว่าเซลล์เม็ดเลือดขาวเหล่านี้ต้องเดินทาง ผ่านเลือดเพื่อไปบริเวณที่มีบาดแผล หลอดเลือดที่เคยหดตัว ตอนนี้กลับมาขยาย ในกระบวนการที่เรียกว่า การขยายหลอดเลือด (Vasodilation)
+ ขั้นตอนที่สาม
หลังจากเกิดแผลได้สองถึงสามวัน ระยะการเพิ่มจำนวน (Proliferative) เกิดขึ้น
เมื่อเซลล์ไฟโบรบลาสต์ เริ่มเข้าไปที่แผล ในกระบวนการสะสมคอลลาเจน พวกมันสร้างเส้นใยโปรตีน ที่เรียกว่าคอลลาเจน ในบริเวณที่เป็นแผล เพื่อสร้างเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน แทนที่ไฟบรินเดิม
เมื่อเซลล์ชั้นหนังกำพร้าแบ่งตัว เพื่อที่จะสร้างผิวชั้นนอก ชั้นหนังแท้จะหดตัวเพื่อปิดแผลในที่สุด
+ ขั้นตอนที่สี่
แผลนั้นเกือบหายดีเมื่อคอลลาเจนที่ถูกสะสม ถูกจัดวางตัวใหม่และเปลี่ยน ไปเป็นรูปแบบเฉพาะ
ด้วยกระบวนการนี้ ซึ่งอาจใช้เวลามากกว่าหนึ่งปี ความต้านทานต่อแรงดึงของผิวใหม่นั้นดีขึ้น และหลอดเลือด และการเชื่อมโยงต่าง ๆ นั้น แข็งแรงขึ้น
#สาระจี๊ดจี๊ด
เนื้อเยื่อใหม่นั้น อาจมีประสิทธิภาพการทำงานถึง 50-80% ของการทำงานของมันในภาวะปกติ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของแผลในครั้งนั้น และการทำงานของตัวมันเอง
เพราะว่าผิวไม่สามารถฟื้นตัวเต็มที่ แผลเป็นกลายมาเป็นปัญหาสำคัญ สำหรับแพทย์ทั่วโลก และถึงแม้ว่านักวิจัย จะมีความพยายามอย่างมาก ในการทำความเข้าใจต่อกระบวนการฟื้นตัว ความลึกลับพื้นฐานมากมาย ก็ยังคงไม่ได้รับการเปิดเผย
ยกตัวอย่างเช่น...
- เซลล์ไฟโบรบลาสต์นั้น มาถึงบริเวณแผลผ่านทางหลอดเลือด หรือมาจากเนื้อเยื่อผิวหนังที่อยู่ติดกับแผล
- ทำไมสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น เช่น กวาง สามารถรักษาแผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสมบูรณ์มากกว่ามนุษย์อย่างมาก
จากการค้นหาคำตอบต่อคำถามเหล่านี้ และคำถามอื่น ๆ สักวันหนึ่งเราอาจจะสามารถรักษาตัวเองได้ดี จนแผลเป็นนั้นกลายเป็นเพียงแค่ความทรงจำ
#สาระตึ๊บตึ๊บ
แผลที่ชั้นผิวรักษาตัวเองได้
แผลที่ชั้นใจรักษาตัวเองไม่ได้
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
พิสูจน์อักษรโดย วาลีพ
แหล่งที่มา
sarthak sinha
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา