Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
I am pm
•
ติดตาม
3 ธ.ค. 2020 เวลา 05:30 • การศึกษา
EP.10 แตกโครงการ เป็นงานเล็กๆ (Work Breakdown Structure)
ซีรี่ส์ วงจรชีวิตโครงการ (Project Life Cycle)
เฟสที่ 2 Planning การวางแผนโครงการ
ชื่อก็บอกแล้วค่ะ ว่า Breakdown เพราะมันคือ การแบ่งออกเป็นส่วนๆ
ตัวอย่าง WBS
ทำไมเราควรทำ WBS ? นั่นก็เพราะการวิเคราะห์โครงการ แล้วแตกออกมาเป็นงานส่วนต่างๆ ทำให้เราเห็นรายละเอียดภายใต้โครงการ ว่า มีงานอะไรที่ต้องส่งมอบบ้าง มีอะไรที่ต้องทำ ใช้เวลาทำเท่าไร และ ต้องใช้ทรัพยากรอะไรบ้าง
ขณะเดียวกันก็เป็นการบอกว่า อะไรที่ไม่ได้อยู่ใน WBS นั่นคือสิ่งที่ไม่จำเป็นต้องทำ !
การแตกโครงสร้างงาน
การทำ WBS เกี่ยวข้องกับสามกิจกรรม ดังนี้ค่ะ
การแยกย่อยงาน – นำโครงการมาแตกเป็นงานย่อยต่างๆ
การกำหนดเวลา – ประมาณเวลาที่ต้องใช้ในการทำแต่ละงานย่อย
การประมาณต้นทุน – ประเมินค่าใช้จ่ายสำหรับแต่ละงานย่อย
วิธีสร้าง WBS ก็มีหลายวิธีค่ะ เช่น
การใช้คำแนะนำ (Using guidelines)
การเปรียบเทียบ (Analogy approach)
การสร้างจากบนลงล่าง (Top-down approach)
การสร้างจากล่างขึ้นบน (Bottom-up approach)
การวางแผนจากความคิด (Mind-mapping approach)
ที่ I am pm จะนำเสนอในวันนี้คือ
การสร้างจากบนลงล่าง (Top-down approach)
การวางแผนจากความคิด(Mind-mapping approach)
เพราะเป็นวิธีที่นิยมใช้กัน ในการระดมความคิดและข้อมูลต่างๆ ร่วมกับทีมงานค่ะ
การสร้างจากบนลงล่าง (Top-down approach)
เริ่มต้นจากการกำหนดงานที่มีขนาดใหญ่ที่สุดก่อน แล้วจึงแบ่งออกเป็นงานย่อย ที่มีขอบเขตอยู่ภายใต้งานหลัก
งานต่างๆจะถูกลงรายละเอียด และแจกแจงให้มีขนาดที่เล็กลงและพร้อมที่จะดำเนินการได้ในระดับที่ต่ำลงไป
หากมีข้อมูลเพียงพอ ก็จะมีการใส่งบประมาณ และ ระยะเวลาที่ใช้ ใน WBS ด้วย ตามรูปด้านล่างค่ะ
การสร้างจากบนลงล่าง (Top-down approach)
การวางแผนจากความคิด (Mind-mapping approach)
เป็นการแตกความคิดหลักออกเป็นกิ่งก้านสาขาที่สร้างความคิดย่อย ๆ ที่สัมพันธ์กัน
วิธีการนี้เป็นการระดมสมองของสมาชิกในทีมงาน เน้นการมีส่วนร่วม สนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ของสมาชิกในทีมงาน ไม่ต้องมีโครงสร้างที่เป็นทางการเหมือนอย่างการสร้าง WBS วิธีอื่น
การวางแผนจากความคิด (Mind-mapping approach)
สรุป ประโยชน์ของการทำ WBS คือ
- รู้รายละเอียดของงานในโครงการทั้งหมด เพื่อใช้กำหนดขอบเขตงานของโครงการ
- รู้ความสัมพันธ์ระหว่างงานต่าง ๆ ในกลุ่มงานเดียวกัน บุคลากรที่อยู่ในทีมงานเดียวกัน จะรู้ถึงความสัมพันธ์ของงาน ว่าเป็นอย่างไร
- ลดความผิดพลาดในการวางแผน รวมทั้งขั้นตอนต่างๆที่อาจถูกมองข้าม
- เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนด้านเวลา ค่าใช้จ่าย และคุณภาพงาน
มาถึงตรงนี้ แผนงานโครงการเริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาแล้วนะคะ เราเริ่มรู้ละ ว่ามีอะไรต้องทำบ้างในโครงการนี้ ขั้นตอนต่อไปจะเป็นวิธีกำหนด / มอบหมายงาน ให้ทีมงานค่ะ
ขอเชิญรีวิวบทความหรือแสดงความคิดเห็น เพื่อเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนทัศนะและความรู้ร่วมกันนะคะ ^^
#บริหารจัดการ #Project Management #พัฒนาตัวเอง #management
2 บันทึก
2
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
วงจรชีวิตโครงการ (Project Life Cycle)
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย