18 พ.ย. 2020 เวลา 04:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ออกจะเหมือน แต่ไม่ใช่ ‘ปลา’ เคลียร์กันให้ชัดๆ ว่าทำไม ‘วาฬ’ ถึงเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
123RF
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
วาฬ (Whale) ถูกจัดให้เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่อยู่ในอันดับฐานวาฬและโลมา (Cetacea) ที่อาศัยอยู่ในน้ำ และมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ที่มีรกเหมือนกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป เป็นสัตว์ที่มีรูปร่างเพรียวยาวมีครีบและหางคล้ายกับปลา หางของมันจะเป็นลักษณะแนวนอน ไม่เป็นแนวตั้งเหมือนปลา ถึงจะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่อาศัยอยู่ในทะเลแต่มันก็รักษาความอบอุ่นในร่างกายด้วยไขมันใต้ผิวหนังของพวกมัน
วาฬเป็นสัตว์ที่หายใจทางปอดเหมือนกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยชนิดอื่น โดยมันสามารถกลั้นหายใจได้โดยเฉลี่ยถึง 20 นาที หลังจากนั้นจะขึ้นมามาพ่นลมหายใจบนผิวน้ำและสูดอากาศล็อตใหม่เข้าไป ซึ่งในขณะที่พ่นลมหายใจนั้นมันก็จะพ่นไอน้ำขึ้นมาตามอวัยวะพิเศษด้านบนที่มีลักษณะรูอยู่บนหัวของมัน ทำหน้าที่เหมือนรูจมูกนั่นเอง หลายคนอาจจะสงสัยแล้วทำไมวาฬไม่สำลักน้ำ นั่นก็เพราะว่าวาฬมีกล้ามเนื้อพิเศษที่สามารถปิดรูจมูกไม่ให้น้ำเข้ามาสู่จมูกได้ และปากของมันก็ไม่ได้อยู่ติดกับปอดด้วย เพราฉะนั้นพวกมันจึงไม่สำลักน้ำ
123RF
วาฬออกลูกเป็นตัวสามารถออกลูกได้ครั้งละ 1 ตัว วาฬจะกินนมจากแม่เหมือนกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมทั่วไป โดยเต้านมของมันจะอยู่ในร่องท้อง การให้นมของวาฬในแต่ละครั้งนั้นจะรวดเร็วมาก โดยจ่อปากที่หัวนมและแม่วาฬจะปล่อยนมออกจากเต้าเข้าสู่ปากเพียงระยะสั้นๆ ไม่กี่วินาทีเท่านั้น นอกจากวาฬแล้วยังมี โลมา แมวน้ำ และพะยูนเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่อาศัยอยู่ในน้ำอีกด้วย
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
123RF

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา