Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Wasabi
•
ติดตาม
19 พ.ย. 2020 เวลา 23:30 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ความทรงจำของเราเป็นเรื่องจริงทั้งหมดใช่หรือไม่?
ความทรงจำของเราเป็นเรื่องจริงทั้งหมดใช่หรือไม่?
กรณีศึกษา
ในปี 1990 ผู้เข้าร่วมถูกทำให้นึกถึงช่วงเวลา ในวัยเด็กตอนที่พลัดหลงในห้างสรรพสินค้า บางคนสามารถเล่าได้อย่างชัดเจน บางคนจำรายละเอียดได้ชัดเช่นกัน
ทว่าความจริงนั้น ไม่มีใครเลยที่เคยหลงในห้างสรรพสินค้าจริง ๆ พวกเขาสร้างความทรงจำผิด ๆ ขึ้นมา
เมื่อนักจิตวิทยาที่ศึกษาเรื่องนี้ บอกพวกเขาว่าพวกเขาเคยหลง และถึงแม้ว่าพวกเขาจะไม่สามารถจำเหตุการณ์พลัดหลงนั้นได้ แต่ครอบครัวของพวกเขาก็ช่วยยืนยันอีกเสียงหนึ่ง
หนึ่งในสี่ของผู้เข้าร่วมทดสอบ คิดว่าตนจำได้ว่าเคยพลัดหลงทั้งที่ไม่เคย
การค้นพบนี้อาจจะฟังดูเหลือเชื่อ แต่มันค่อนข้างสะท้อนถึงความเป็นจริงพื้นฐานที่ว่า "ความทรงจำของเรานั้น บางครั้งก็เชื่อถือไม่ได้"
แต่ถึงอย่างนั้นพวกเรายังคงไม่รู้อย่างแน่ชัดว่าอะไรทำให้มันแย่ลง
ในทางประสาทวิทยา งานวิจัยได้ชี้ชัดว่า บางส่วนของความทรงจำของเรานั้น แตกต่างไปจากสิ่งที่เคยเกิดขึ้นจริง
งานศึกษาเรื่องห้างสรรพสินค้าแสดงให้เห็นว่าเราสามารถประมวลผลข้อมูลผิด ๆ จากปัจจัยภายนอก เช่น คนอื่น ๆ หรือข่าวสารต่าง ๆ มารวมเข้ากับความทรงจำของเราโดยไม่รู้ตัว
ในอีกกรณีศึกษาหนึ่ง
ผู้ศึกษานั้นได้แสดงภาพถ่ายแบบสุ่ม ให้กลุ่มศึกษา โดยในรูปเหล่านั้นมีรูปถ่ายมหาวิทยาลัย ที่พวกเขาไม่เคยไปเลยซักครั้ง
สามสัปดาห์ต่อมา
ผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่ในกลุ่มศึกษา บอกว่าพวกเขาอาจจะ หรือค่อนข้างมั่นใจว่าเคยไปที่มหาวิทยาลัยนั้น
ผู้เข้าร่วมนั้นเกิดข้อมูลที่ผิดเพี้ยน จากเพียงภาพถ่ายที่พวกเขาเคยเห็น ไปสู่ความทรงจำที่ พวกเขาเชื่อว่ามันเคยเกิดขึ้นจริง ๆ
ในการทดลองหนึ่ง
ผู้ทดลอง เห็นภาพแว่นขยาย และถูกบอกให้จินตนาการถึงภาพของอมยิ้ม พวกเขามักจะคิดว่าเขาเคยเห็น ทั้งแว่นขยายและอมยิ้มจริง ๆ พวกเขาต้องพยายามที่จะเชื่อมโยง วัตถุนั้นเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ไม่ว่าพวกเขาจะเคยเห็นมันจริง ๆ หรือแค่เพียงจินตนาการถึงมันก็ตาม
มีอีกการศึกษาหนึ่ง
ที่นักจิตวิทยาถามคำถามกับผู้เข้าร่วมกว่า 2,000 คน เกี่ยวกับความเห็นถึงการทำให้กัญชาถูกกฎหมาย ซึ่งงานนี้แสดงให้เห็นถึงอีกปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อความทรงจำ
ผู้เข้าร่วมตอบคำถามที่มีทั้ง ปี 1973 และปี 1982 กลุ่มที่อ้างว่าสนับสนุนกัญชาให้ถูกกฎหมายในปี 1973 นั้น แท้จริงแล้วกลับคัดค้านกฎหมายนี้ในปี 1982
มีแนวโน้วว่าอาจเกิดการคิดไปเองว่า ได้ต่อต้านการทำให้ถูกกฎหมายจริง ๆ ในปี 1973 ซึ่งนับเป็นการนำเอาทัศนคติเดิม ๆ ต่อเรื่องหนึ่งมาเปรียบกับทัศนคติใหม่ โดยความคิดเห็น ความรู้สึก และประสบการณ์ของเราในปัจจุบัน สามารถที่จะทำให้เกิดความขัดแย้ง ในด้านความรู้สึกต่อความทรงจำในอดีต
ในอีกงานวิจัยหนึ่ง
ผู้วิจัยได้ทำการแบ่งผู้เข้าร่วมออก เป็นสองกลุ่มและให้ข้อมูลพื้นฐาน เกี่ยวกับประวัติสงครามและให้พวกเขาเหล่านั้นโหวตว่าฝ่ายไหนจะชนะ
ผู้วิจัยให้ข้อมูลแต่ละกลุ่มเหมือนกันทุกอย่าง เว้นแต่ผู้วิจัยบอกว่าใคร จะชนะสงครามเพียงกับแค่หนึ่งกลุ่มเท่านั้น โดยที่อีกกลุ่มไม่ได้รู้ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร
ในทางทฤษฎีคำตอบของ ทั้งสองกลุ่มนั้นควรที่จะเหมือนกัน เพราะความน่าจะเป็น ที่แต่ละฝ่ายจะชนะนั้น ไม่ได้ส่งผลว่าใครจะชนะจริง ๆ
ถ้าบอกว่ามีโอกาสเพียง 20% ที่จะเกิด พายุฟ้าคะนองและพายุฟ้าคะนองเกิดขึ้นจริง ๆ นั่นไม่ได้ทำให้โอกาสที่จะเกิด พายุฟ้าคะนองกลายเป็น 100% ขึ้นมา
ถึงอย่างนั้นกลุ่มที่รู้คำตอบ ว่าสงครามจะจบอย่างไร ได้โหวตฝ่ายที่ชนะมากกว่าฝ่ายที่ท่าทาง เหมือนจะชนะมากกว่ากลุ่มที่ไม่รู้คำตอบ
"ความผิดเพี้ยนของความทรงจำทั้งหมด
สามารถที่จะส่งผลกระทบต่อโลกความเป็นจริง"
หากตำรวจสอบปากคำโดยใช้คำถามชี้นำกับพยาน หรือผู้ต้องสงสัย คำตอบที่ได้อาจจะระบุไม่ถูกต้อง หรือได้รับคำสารภาพที่ไม่น่าเชื่อถือ หรือแม้จะไม่ใช้คำถามชี้นำ การกล่าวอ้างหรือให้ข้อมูลผิด ๆ ของตำรวจก็สามารถที่นำไปสู่การให้การผิด ๆ ของพยานได้
ในศาล หากผู้พิพากษากล่าวว่า หลักฐานนั้นไม่เป็นที่ยอมรับ และให้คณะลูกขุนมองข้ามมันไป ก็ขัดคำผู้พิพากษาไม่ได้
ในทางการแพทย์ หากคนไข้นั้นมองหาความเห็นที่สองเพิ่มเติม และผู้ให้ความเห็นที่สองนั้นพะวง ถึงคำวินิจฉัยของคนแรก ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อข้อสรุปได้
#สาระจี๊ดจี๊ด
ความทรงจำนั้นไม่ได้เป็นตัวแทนที่หนักแน่นที่จะแสดงถึงความเป็นจริง แต่เป็นตัวแทนของการรับรู้ส่วนบุคคล และมันก็ไม่ได้ผิดอะไร
1
ปัญหาจะเกิดขึ้นเมื่อเราคิดว่า ความทรงจำนั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง แทนที่เราจะยอมรับว่ามันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน เกี่ยวกับธรรมชาติของความทรงจำ
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
พิสูจน์อักษรโดย วาลีพ
แหล่งที่มา
https://youtu.be/D-2p86FvqF4
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง
8 บันทึก
20
1
5
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
จิตวิทยา พัฒนาตนเอง
สุขภาพ โรคภัย การแพทย์
8
20
1
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย