Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Wasabi
•
ติดตาม
16 พ.ย. 2020 เวลา 23:30 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เราฝันเพื่ออะไร?
ทำไมเราจึงฝัน?
ฝันอย่างไรให้ได้ประโยชน์?
ทฤษฎีความฝันมีอะไรบ้าง?
เราฝันเพื่ออะไร? ทำไมเราจึงฝัน?
ความฝันคืออะไร?
ความฝัน เกิดจากการที่สมองส่วนต่าง ๆ ถูกกระตุ้นให้ส่งผ่านชุดความจำเข้ามาในหัวเราขณะที่เรากำลังหลับอยู่
ทำไมเราจึงฝัน?
- สามพันปีก่อนคริสตกาล
กษัตริย์แห่งเมโสโปเตเมียได้บันทึก และแปลความหมายของความฝันลงบนแผ่นไม้เคลือบเงา
- หลายพันปีต่อมา
ชาวอียิปต์โบราณได้เขียนหนังสือแห่งความฝัน รวบรวมหลายร้อยความฝันที่พบบ่อย และความหมายของพวกมัน
- หลายปีนับแต่นั้นมา
เราไม่ได้หยุดการค้นหาของเรา เพื่อที่จะเข้าใจว่าทำไมเราจึงฝัน
แล้วทำไมเราจึงฝันกันแน่?
หลังจากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์มากมาย ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และความเพียรพยายาม "เรายังคงไม่มีคำตอบใด ๆ ที่ชัดเจน"
แต่เรามีทฤษฎีที่น่าสนใจ!
ทฤษฎีความฝันมีอะไรบ้าง?
1. เราฝันเพื่อที่จะเติมเต็มความปรารถนาของเรา
ในตอนต้นของยุค 1900 ซิกมันด์ ฟรอยด์ กล่าวว่า...
ทั้งฝันดีและฝันร้ายของพวกเรา
มันเป็นภาพที่เรารวบรวมไว้ ตอนที่เรามีสติรับรู้สิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน
ภาพเหล่านั้นมันมีความหมายเชิงสัญลักษณ์ด้วย ซึ่งสัญลักษณ์นั้นเกี่ยวข้องกับการเติมเต็มความปรารถนาภายใต้จิตสำนึกของพวกเรา
ทฤษฎีของฟรอยด์กล่าวว่า...
ทุกสิ่งที่เราจำได้ตอนที่เราตื่นจากฝัน เป็นตัวแทนเชิงสัญลักษณ์ ของความคิดพื้นฐานใต้จิตสำนึก แรงกระตุ้น และความปรารถนาของเรา
ฟรอยด์เชื่อว่า...
หากเราลองวิเคราะห์องค์ประกอบต่าง ๆ ในฝัน จะเห็นว่าภาพฝันเหล่านั้นเกิดมาจากจิตใจสำนึกของเราเอง รวมไปถึงปัญหาทางด้านจิตใจด้วย เพราะกลไกของสมองนั้นทำงานซับซ้อน และบางครั้งก็ใช้ฝันมาหลอกเรา
2. เราฝันเพื่อที่จะจำ
เพื่อที่จะเพิ่มประสิทธิภาพ การทำงานบางอย่างของจิตใจ
"การนอนเป็นสิ่งที่ดี แต่การฝันขณะหลับนั้นดีกว่า"
ในปี ค.ศ. 2010 นักวิจัยพบว่า...
กลุ่มตัวอย่างสามารถผ่านวงกตสามมิติที่ซับซ้อนได้ดีกว่า ถ้าหากพวกเขาได้งีบหลับ และฝันถึงวงกตนั้น ก่อนพยายามฝ่าเขาวงกตเป็นครั้งที่สอง
จริง ๆ แล้ว พวกเขาสามารถทำได้ดีกว่า สูงสุดถึงสิบเท่า
เมื่อเทียบกับกลุ่มที่คิดถึงวงกตแค่ตอนตื่น และกลุ่มที่งีบหลับแต่ไม่ได้ฝันถึงวงกต
นักวิจัยตั้งทฤษฎีว่า...
กระบวนการความทรงจำบางอย่าง สามารถเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเรานอนหลับ และความฝันของเรานั้น เป็นสัญญาณว่ากระบวนการนี้กำลังเกิดขึ้น
3. เราฝันเพื่อที่จะลืม
ระบบประสาทในสมอง มีการเชื่อมต่อประมาณ 10,000 ล้านล้านครั้ง เพื่อเชื่อสิ่งที่คุณคิดและคุณทำเข้าด้วยกัน
ทฤษฎีเกี่ยวกับความฝันเชิงประสาทวิทยา จากปี ค.ศ. 1983 ชื่อว่า...
"การเรียนรู้แบบย้อนกลับ" กล่าวว่า...
ขณะหลับ และโดยเฉพาะการหลับในช่วง REM สมองชั้นนอก (neocortex) ของคุณทบทวนการเชื่อมประสาทเหล่านี้ และเอาส่วนที่ไม่จำเป็นออกไป
หากปราศจากกระบวนการการลืมนี้ที่ซึ่งส่งผลให้เกิดความฝัน
สมองของคุณอาจจะเต็มไปด้วย "การเชื่อมต่อที่ไร้ประโยชน์" และความคิดที่เป็นกาฝากพวกนี้ อาจรบกวนความคิดที่จำเป็น ที่คุณต้องการจะทำเวลาที่คุณตื่น
4. เราฝันเพื่อให้สมองของเราทำงาน
ทฤษฏีการกระตุ้นต่อเนื่อง (continual activation) คาดว่าความฝันของคุณเป็นผลมาจาก สมองของคุณต้องการที่จะรวบรวม และสร้างความจำระยะยาวอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะทำงานได้อย่างเหมาะสม
ดังนั้น เมื่อข้อมูลจากภายนอก ลดลงต่ำกว่าระดับหนึ่ง อย่างเช่น ตอนที่คุณหลับ สมองของคุณจะกระตุ้น การสร้างข้อมูลจากหน่วยความจำ โดยอัตโนมัติ ซึ่งปรากฏแก่คุณในรูปแบบของความคิด และความรู้สึก ที่คุณได้รับรู้ในความฝันของคุณ
หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ความฝันของคุณอาจจะเป็น ภาพพักหน้าจอที่สมองของคุณเปิดขึ้นมา เพื่อที่มันจะไม่ได้ปิดตัวลงอย่างสมบูรณ์
5. เราฝันเพื่อฝึกซ้อม
ฝันที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่คุกคาม และเป็นอันตรายนั้นพบได้บ่อยมาก
ทฤษฏีการซ้อมสัญชาตญาณพื้นฐาน (primitive instinct rehearsal) กล่าวว่า...
เนื้อหาของความฝัน มีนัยสำคัญต่อจุดประสงค์ของมัน ไม่ว่าจะเป็นคืนที่เต็มไปด้วยความเครียด แห่งการถูกไล่ล่าในป่าโดยหมี หรือการต่อสู้กับนินจาในซอยมืด
ความฝันเหล่านี้ให้โอกาสคุณฝึกสัญชาตญาณ การหนี หรือการต่อสู้ (fight or flight instinct) และเป็นการลับคมทำให้มันพร้อมใช้ และพึ่งพาได้ เผื่อว่าคุณจะต้องใช้มันในสถานการณ์จริง ๆ
แต่มันก็ไม่จำเป็นที่จะต้องไม่น่าพึงประสงค์ทุกครั้ง เราอาจมีความฝันเกี่ยวกับ เพื่อนบ้านหน้าตาดีของคุณ สามารถฝึกสัญชาตญาณการสืบพันธ์ุของคุณได้เช่นกัน
6. เราฝันเพื่อรักษา
สารสื่อประสาทความเครียดในสมองนั้น ทำงานได้น้อยลงมาก ในช่วงของการนอนหลับระยะ REM และฝันถึงสิ่งที่เกี่ยวกับบาดแผลทางจิตใจ
ทำให้นักวิจัยตั้งทฤษฏีที่ว่า... เป้าหมายหนึ่งของการฝันก็คือ การทำให้ประสบการณ์ที่เจ็บปวดนั้นทุเลาลง เพื่อรักษาสภาพจิตใจ
การทบทวนเหตุการณ์ในความฝัน ที่ส่งผลให้เกิดความเครียดทางจิตใจนั้น จะทำให้คุณมีมุมมองที่ชัดเจนขึ้น และทุเลาบาดแผลในใจลงได้
คนที่มีความผิดปกติทางอารมณ์ และเป็นโรคเครียดจากเหตุการณ์ร้ายแรง (PTSD) มักมีปัญหาในการนอน ทำให้นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่า การไม่ฝันนั้นอาจเป็นปัจจัย ที่ส่งผลความความเจ็บป่วยของพวกเขา
7. เราฝันเพื่อที่จะแก้ปัญหา
เมื่ออยู่ในโลกความฝัน ก็ไม่ต้องสนใจความเป็นจริง
จิตของคุณสามารถสร้างสถานการณ์ ที่ไร้ขีดจำกัดได้ในความฝันของคุณ เพื่อช่วยให้คุณเข้าใจปัญหา และหาวิธีการแก้ไขที่คุณอาจจะไม่ได้นึกถึงเวลาที่ตื่น
จอห์น สเตน์เบค เรียกมันว่า "คณะกรรมการแห่งฝัน" และนักวิจัยได้แสดงให้เห็น ถึงประสิทธิภาพของการฝันในการแก้ปัญหา
มันยังเป็นวิธีการของนักเคมีที่มีชื่อเสียง ออกัส เคคูเล ที่ใช้เพื่อการค้นพบโครงสร้างโมเลกุลของเบนซีน
มันเป็นเหตุผลที่ว่า... บางครั้งการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด คือการ "นอนฝันถึงมัน"
ทั้งหมดนี้เป็นแค่ส่วนหนึ่ง ของทฤษฏีต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียง
วันหนึ่ง เมื่อเทคโนโลยีเพิ่มขีดความสามารถไปสู่ระดับที่สูงขึ้น เราอาจหากุญแจสู่การไขความลับของความฝันเจอ
แต่ก่อนที่เวลานั้นจะมาถึง พวกเราก็คงต้องฝันกันต่อไปก่อน
#สาระจี๊ดจี๊ด
ประเภทของความฝัน
1. ฝันแบบรู้ตัว (Lucid dream)
ความฝันประเภทนี้เป็นความฝันที่ผู้ฝันทราบว่าตนเองกำลังอยู่ในความฝัน
2. ฝันซ้ำ (Recurrent dream)
ฝันซ้ำมักมีรูปแบบความฝันที่เกี่ยวข้องกับความผิดพลาดหรือล้มเหลว อย่างการถูกทำร้าย ถูกไล่ล่า ถูกขัง ล้ม สอบตก หรือพลาดงานสำคัญ
3. ฝันร้าย
ฝันร้ายเป็นการนิยามลักษณะของความฝันที่น่าหวาดกลัวหรือสร้างความรู้ในด้านลบกับผู้ที่ฝัน ฝันร้ายสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนและฝันร้ายอาจสะท้อนหรือบ่งบอกถึงสิ่งที่น่ากังวลได้หลายอย่างในชีวิตจริง
แล้วเราฝันเพื่ออะไร? (โหวต)
1. เราฝันเพื่อที่จะเติมเต็มความปรารถนาของเรา
2
2. เราฝันเพื่อที่จะจำ
3. เราฝันเพื่อที่จะลืม
4. เราฝันเพื่อให้สมองของเราทำงาน
5. เราฝันเพื่อฝึกซ้อม
2
6. เราฝันเพื่อรักษา
7. เราฝันเพื่อที่จะแก้ปัญหา
1
อ่านเพิ่มเติม
"จิตวิทยาความฝัน (Dream Psychology)"
https://www.blockdit.com/posts/5f43a7dc7eb17617180f5379
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
พิสูจน์อักษรโดย วาลีพ
แหล่งที่มา
Why do we dream? - Amy Adkins
https://youtu.be/2W85Dwxx218
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง
13 บันทึก
15
5
14
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
จิตวิทยา พัฒนาตนเอง
สุขภาพ โรคภัย การแพทย์
Sleep Rest Relaxation
13
15
5
14
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย