24 ส.ค. 2020 เวลา 11:43 • สุขภาพ
"จิตวิทยาความฝัน (Dream Psychology)"
"ความฝัน (Dream) คืออะไร?"
ความฝัน (Dream) คือ การแสดงออกของความนึกคิด ความรู้สึก และเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาในสมอง
"จิตวิทยาความฝัน (Dream Psychology)"
#สาระจี๊ดจี๊ด
คนเรามักจะฝันคืนละ 4-6 ครั้ง
และคนกว่า 90% ทั่วโลก
มักจะลืมความทรงจำเกี่ยวกับความฝัน
หลังจากที่ตื่นนอนภายในเวลา 10 นาที
ความฝันนั้นเป็นสิ่งที่ลึกลับน่าค้นหา
และมนุษย์ก็พยายามทำความเข้าใจเกี่ยวกับมันมานานหลายพันปีแล้ว
+ ชาวโรมันโบราณ เชื่อว่า ความฝันคือสารจากพระเจ้า
+ ชาวอียิปต์โบราณ เชื่อว่า ผู้ที่จดจำความฝันได้คือผู้มีพลังพิเศษ
+ ชาวจีนโบราณ เชื่อว่า คือหนทางในการติดต่อกับบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ
+ ชาวเม็กซิกันปัจจุบัน เชื่อว่า ความฝันคือโลกคู่ขนานที่พยายามเชื่อมต่อกับเรา
1
ความฝันมักเป็นแบบนี้
บางครั้งก็มีรูปแบบที่แน่นอนชัดเจน
บางครั้งก็มีรูปแบบที่แปลกประหลาด
หรือไม่ก็ทำให้เราหวาดกลัวไปเลย
หรือความหลากหลายนี้อาจจะเกิดขึ้นพร้อม ๆ กันได้
"การแปลความฝัน"
1
ความหมายของความฝัน และวัตถุประสงค์ที่แท้จริงยังคงเป็นเรื่องลี้ลับ
แต่ผู้เชี่ยวชาญหลาย ๆ คนเชื่อว่า...
"ความฝันนั้นมีความหมายอย่างแน่นอน"
แนวคิดเชิงจิตวิทยาต่าง ๆ เกี่ยวกับความฝัน
1. G William Domhoff
แนวคิด "ความฝันคือสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงการดำเนินชีวิต"
งานวิจัย ของ G William Domhoff บอกว่า...
"โดยส่วนใหญ่แล้วความฝันมีแนวโน้มที่จะเติมเต็มความต้องการที่ยังไม่สามารถบรรลุได้ในโลกความเป็นจริงของเรา"
G William Domhoff พบว่า...
+ ความฝันได้สะท้อนความคิดและความกังวลที่เกิดขึ้นในชีวิตประจําวันของตัวผู้ฝันเอง
+ รูปแบบระบบประสาทด้านการรู้คิดของความฝันที่ซึ่งเป็นกระบวนการของความฝันนั้นมีผลมาจากกระบวนการทางประสาทและระบบของโครงสร้างทางความคิด (system of schema)
1
2. Sigmund Freud
แนวคิด "ความฝันเป็นดั่งเส้นทางสู่จิตไร้สำนึก (Unconscious)"
ในหนังสือ "the interpretation of dreams" ของ Sigmund Freud
เขาได้บอกว่า...
"เนื้อหาของความฝันนั้นเกี่ยวข้องกับการเติมเต็มความต้องการของมนุษย์"
Sigmund Freud เชื่อว่า...
Manifest Content (เนื้อหาของความฝันที่ตรงกับความปรารถนาที่ถูกกดไว้)
เป็นตัวที่ทำหน้าที่ "ปิดบัง"
Latent Content (เนื้อหาของความฝันที่ถูกปรุงแต่งขึ้นหรือมีการแอบซ่อนอยู่ในรูปของสัญลักษณ์)
Sigmund Freud บอกว่า...
นี่คือ 4 องค์ประกอบของกระบวนการ ที่ตัวเขาใช้อ้างอิงการทำงานของความฝัน
1. Condensation คือ การรวบรวมหลาย ๆ ซึ่งแนวความคิดต่าง ๆ ที่นำมารวมกันเป็นเรื่องเดียว โดยข้อมูลจะมีการรวบรวมจากภาพความฝันหลาย ๆ ภาพหรือความคิดของเจ้าของความฝันหลาย ๆ ความคิด
2. Displacement กลไกป้องกันทางจิตโดยการแทนที่ องค์ประกอบนี้ทำงานโดยการปิดบังความหมายทางด้านอารมณ์ของ Latent Content โดยจะมีการบิดเบือนหรือสลับที่เพื่อปิดบังความหมายที่เป็นสลักสำคัญยิบย่อยเอาไว้
3. Symbolization ตัวแทน การทำให้สิ่งต่าง ๆ ออกมาในรูปของความหมายเชิงสัญลักษณ์ (เป็นการแปรรูปอย่างหนึ่ง เช่น เราอาจจะอยากมี Sex กับคนรักมาก แต่ไม่สามารถมีได้ เราอาจจะฝันว่าได้ไปเที่ยวป่า แล้วมีช่วงเวลานั่งเล่นลูกดอกธนู ลูกดอกธนูนี่คือ Symbolic ของอวัยะเพศชาย การที่คนรักและตนได้เล่นดอกธนูร่วมกัน หมายถึงช่วงเวลาที่ได้ทำกิจกรรมร่วมเพศกัน)
4. Secondary Revision ในช่วงสุดท้ายของกระบวนการเขาบอกว่าองค์ประกอบต่าง ๆ ที่แปลกประหลาดของความฝันนั้นสามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างได้เพื่อที่จะทำให้ความฝันนั้นสามารถเข้าใจได้ด้วยเหตุนี้จึงมีการสร้าง manifest content ขึ้นมาในความฝัน
3. Carl Gustav Jung
แนวคิด "Archetype (แม่แบบ) และ Collective Unconscious" (จิตไร้สำนึกที่ถูกสั่งสมมาจากบรรพบุรุษ)
Carl Gustav Jung เชื่อว่า...
ความฝันทำหน้าที่ชดเชยในส่วนของจิตใจที่ยังไม่ได้มีการพัฒนาในชีวิตประจำวัน (Fixation)
Carl Gustav Jung แนะนำว่า
Archetype อย่างเช่น
+ Animus (ลักษณะของความเป็นชายที่มีอยู่ในหญิง)
+ Anima (ลักษณะของความเป็นหญิงที่มีอยู่ในชาย)
+ Shadow (สัญชาตญาณแบบสัตว์ในบุคคลซึ่งสะท้อนถึงพฤติกรรมที่ยังไม่ได้ขัดเกลาซึ่งเป็นพฤติกรรมที่สังคมไม่ยอมรับ)
บ่อยครั้งก็เป็นตัวแทนของสัญลักษณ์ของวัตถุหรือบุคคลในความฝันนั้น
โดยสัญลักษณ์เหล่านี้เขาเชื่อว่าเป็นตัวแทนของทัศนคติที่ถูกกดทับ (Repress)ไว้
โดยจิตสำนึก ไม่เหมือน Sigmund Freud ที่บอกว่าสัญลักษณ์ที่พิเศษก็เป็นตัวแทนของความคิดที่พิเศษของจิตไร้สำนึกด้วยเช่นกัน
Carl Gustav Jung เชื่อว่า...
ความฝันสามารถบ่งบอกถึงเรื่องที่เป็นส่วนตัวมาก ๆ และการตีความมันออกมาอาจเกี่ยวข้องจัดการนำไปเป็นข้อต่อรองเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ของตัวบุคคลนั้นได้
4. Calvin S. Hall
แนวคิด "ความฝันคือกระบวนการทางความคิด"
Calvin S. Hall เชื่อว่า...
ความฝันทำหน้าที่เป็นเหมือนองค์ประกอบของแนวคิดของตัวบุคคลนั้น
ทฤษฎีของ Calvin S. Hall บอกว่า...
ในการที่จะอธิบายความฝันมีสิ่งที่เราต้องรู้ คือ
- สิ่งที่ตัวบุคคลได้ทำลงไปในความฝัน
- วัตถุแล้วบุคคลต่าง ๆ ในความฝัน
- การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ฝันและบุคคลในความฝัน
- ทิศทางของความฝันและการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
Calvin S. Hall ยังได้บอกอีกว่า...
"จุดสุดท้ายของการแปลความฝันไม่ใช่การเข้าใจความฝันแต่เป็นการเข้าใจผู้ฝันต่างหาก"
การแปลความฝันเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในช่วงปี 1970
Ann Faraday เขียนหนังสือ "The Dream Game" ซึ่งถ่ายทอดเทคนิคและแนวคิดในการตีความความฝันที่เกินกว่าใครจะคิดได้
ทำให้ทุกวันนี้มีคนเราสามารถเข้าถึงการตีความความฝันได้หลากหลายมากขึ้นโดยผ่านพจนานุกรมความฝัน
Carey Morewedge และ Michael Norton ได้ทำการศึกษาความฝันจากผู้เข้าร่วมการวิจัยมากกว่า 1 พันคนจากสหรัฐอเมริกา อินเดีย และเกาหลีใต้ เขาค้นพบว่านักศึกษาบางมหาวิทยาลัยในงานวิจัยนี้เชื่อว่าความฝันของพวกเขานั้นมีการตอบสนองกับสิ่งเร้าแบบสุ่ม กลับกันแทนที่จะเป็นไปตามแนวคิดของ Fried ที่ว่าความฝันคือการเปิดเผยถึงความต้องการและแรงกระตุ้นจากเบื้องลึกของจิตใจ
สิ่งที่เขาสองคนได้ค้นพบอีกก็คือ
+ ผู้คนมีแนวโน้มที่จะจำฝันที่ไม่ดีถ้าหากว่าพวกเขาอยู่กับบุคคลที่พวกเขาไม่ชอบ
+ ผู้คนมีแนวโน้มที่จะฝันไปในทางที่ดีถ้าได้อยู่กับเพื่อนของเขาหรือคนที่เขารัก
#สาระจี๊ดจี๊ด
"ความฝัน อาจมีความหมาย หรือ ไม่มีความหมาย ในตัวของมันก็ได้
แต่ในความจริงที่ยังมีอยู่ คือ 'การแปลความฝัน' ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในช่วงเวลาที่ผ่านมา และแม้กระทั่งบางคนก็ตัดสินใจทำอะไรใหญ่ ๆ ด้วยการดูที่ความฝันนั้น ๆ"
ความฝัน = สนับสนุนความเชื่อ = ลางสังหรณ์ = เติมเต็มความต้องการ
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
พิสูจน์อักษรโดย วาลีพ
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา