Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Wasabi
•
ติดตาม
29 พ.ย. 2020 เวลา 23:00 • อาหาร
ทำไมผงชูรสจึงทำให้อาหารอร่อยขึ้น?
บริโภคผงชูรสเป็นประจำ อันตรายหรือไม่?
ทำไมผงชูรสจึงทำให้อาหารอร่อยขึ้น?
คุณเคยทราบ หรือเคยสังเกตกันหรือเปล่าว่า...
ทำไมอาหารต่าง ๆ ถ้าได้ใส่เครื่องปรุงรส ที่มีส่วนผสมของผงชูรสไปแล้วละก็ อาหารชนิดนั้นจะรู้สึกกลมกล่อมขึ้นมาทันที
ผงชูรส คือ สารเคมีชนิดหนึ่ง ที่มีชื่อว่า โมโนโซเดียมกลูตาเมต มีลักษณะเป็นผงผลึกสีขาว ไม่กลิ่น ไม่มีรสชาติของตัวเอง
ที่มาของผงชูรส
ผงชูรสมีที่มาจากประเทศญี่ปุ่น เกิดจากการค้นพบรสชาติ ที่สกัดได้จากสาหร่ายทะเล เรียกว่า”รสอูมามิ” หรือรสอร่อยนั่นเอง
ผงชูรสได้ถูกค้นพบมาเป็น ร้อย ๆ ปีแล้ว (พ.ศ. 2451) หลังจากนั้นก็เริ่มมีการผลิตผงชูรสในระบบอุตสาหกรรมมากขึ้น แต่ในภายหลังได้เปลิ่ยนทั้งวัตถุดิบ และวิธีการผลิต
ซึ่งในปัจจุบันผลิตจากแป้งมันสำปะหลัง ผ่านกระบวนการทางเคมีหลายขั้นตอน จนสกัดได้ออกมาเป็นผงผลึกสีขาว อย่างที่เห็นในปัจจุบัน
#สาระจี๊ดจี๊ด
ผงชูรส มีการนำเข้ามาในประเทศไทยในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีการผลิตในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อปี 2502 โดยบริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด
เชื่อว่าหลายคนในปัจจุบันนี้ คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ไม่เคยกินผงชูรสเลย
เพราะว่าผงชูรสนั้น ถือว่าเป็นเครื่องปรุงที่ผสมอยู่ในอาหารหลาย ๆ อย่างอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นอาหารตามร้านต่าง ๆ ที่เคยไปทานกัน หรือแม้แต่ขนมขบเคี้ยวต่าง ๆ รวมถึงบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป หรืออื่น ๆ มากมายหลายอย่างเป็นต้น
ผงชูรสทำให้อาหารต่าง ๆ นั้น อร่อยขึ้นได้อย่างไร?
จริง ๆ แล้ว ผงชูรสนั้น ไม่ได้ช่วยให้อาหารอร่อยขึ้นแต่อย่างใด!
เพราะผงชูรสไม่มีกลิ่น ไม่มีคุณค่าทางสารอาหาร และไม่มีรสชาติเป็นของตัวเอง เหมือนเครื่องปรุงอาหารชนิดอื่น ๆ
แต่ที่เรารู้สึกว่าอาหารนั้นอร่อยขึ้น เพราะว่า คุณสมบัติของผงชูรสนั้น จะไปกระตุ้นต่อมรับรส ที่ลิ้นให้ขยายตัวโดยไปเพิ่ม รสชาติพื้นฐาน 4 รส ที่ลิ้นสามารถสัมผัสได้ชัดมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นรส หวาน เค็ม เปรี้ยว และขม ซึ่งเวลากินอาหารชนิดนั้นเข้าไป จะช่วยให้รสต่าง ๆ ค้างอยู่ในปากนานขึ้นกว่าเดิม จึงทำให้เรารู้สึกว่ารสชาตินั้นกลมกล่อมขึ้นนั้นเอง
1
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเราควรพยายามหลีกเลี่ยงที่จะใส่ผงชูรสลงไปในอาหารมากเกินไป หรือควรใส่ในปริมาณที่พอเหมาะด้วย เพราะถ้าหากร่างกายได้รับมากเกินไปจะส่งผลเสียต่าง ๆ ต่อร่างกายแน่นอน เช่น ลิ้นชา รู้สึกหิวน้ำมาก ๆ ร้อนที่หน้า ปวดหัว อาเจียน มีผื่นขึ้น รวมถึงอาการต่าง ๆ แล้วแต่ละบุคคล
1
ความปลอดภัยของผงชูรส
FAO/WHO ร่วมกันประเมินความปลอดภัยของผงชูรสจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกว่า 200 ผลงาน โดยมีมติสรุปผลการประเมินว่า...
"มนุษย์สามารถบริโภคผงชูรสได้ทุก ๆ วันตลอดชีวิตอย่างปลอดภัยโดยไม่จำเป็นต้องกำหนดปริมาณบริโภคต่อวัน"
1
สหรัฐอเมริกาได้จัดผงชูรสให้เป็น Generally Recognized as safe (GRAS) ที่หมายถึง สามารถบริโภคได้อย่างปลอดภัย และจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับ เกลือ น้ำตาล และพริกไทย
#สาระจี๊ดจี๊ด
ในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2522 สำนักคณะกรรมการอาหารและยา ได้ประกาศให้ผงชูรสเป็นวัตถุปรุงแต่งอาหาร และสามารถใช้ได้กับอาหารทุกชนิด
ปี 2538 สหพันธ์อเมริกันเพื่อการทดลองทางชีววิทยา (Federation of American Societies for Experimental Biology : FASEB) ได้ประเมินความปลอดภัยของการบริโภคผงชูรสอีกครั้ง ผลการประเมินชี้ว่า การบริโภคผงชูรสมีความปลอดภัยในระดับปกติ ไม่พบความเกี่ยวข้องจาการเกิดโรคทั้งในระยะสั้น และระยะยาว
"การบริโภคผงชูรสในทุกวันปลอดภัย ยกเว้นคนที่มีอาการแพ้"
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
พิสูจน์อักษรโดย วาลีพ
แหล่งที่มา
https://youtu.be/F1-t84O9b6w
https://www.siamchemi.com/%E0%B8%9C%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B9%E0%B8%A3%E0%B8%AA
http://www.medicthai.com/%E0%B8%9C%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B9%E0%B8%A3%E0%B8%AA
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง
15 บันทึก
59
18
28
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
โภชนาการ อาหารสุขภาพ
15
59
18
28
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย