1 ธ.ค. 2020 เวลา 05:28 • ประวัติศาสตร์
เหตุการณ์ตลาดหลักทรัพย์วอลล์สตรีทล่ม ค.ศ.1929 (Wall Street Crash of 1929)
การสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปีค.ศ.1919 (พ.ศ.2462) ทำให้สหรัฐอเมริกาเข้าสู่ยุคสมัยใหม่
ในเวลานั้น เป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้น เป็นช่วงเวลาที่เครื่องบินหรือวิทยุกำลังเริ่มแพร่หลาย ผู้คนตื่นเต้นและเชื่อมั่นในอนาคต
ในเวลานี้ ผู้คนเชื่อมั่นมากซะจนยอมเอาเงินเก็บทั้งชีวิตมาลงทุน โดยในยุค 20 (พ.ศ.2463-2472) ชาวอเมริกันต่างลงทุนใน “ตลาดหุ้น”
ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กในยุค 20
ตลาดหลักทรัพย์ดูเหมือนจะเป็นการลงทุนที่เสี่ยง ต้องอาศัยดวงและโชคอยู่เหมือนกัน แต่ดูเหมือนผู้คนในยุค 20 (พ.ศ.2463-2472) จะไม่คิดอย่างนั้น
สถานการณ์ในประเทศไม่มีทีท่าจะแย่ ทุกอย่างกำลังไปได้ดี
ชาวอเมริกันเริ่มจะนำเงินมาลงทุนในหุ้น ทำให้ราคาหุ้นเริ่มจะพุ่งสูงขึ้น ซึ่งราคาหุ้นก็เริ่มมีความผันผวนตั้งแต่ค.ศ.1925 (พ.ศ.2468) ขึ้นๆ ลงๆ ก่อนจะพุ่งสูงขึ้นในปีค.ศ.1927 (พ.ศ.2470) และบูมสุดขีดในปีค.ศ.1928 (พ.ศ.2471)
ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กในยุค 20
การบูมของตลาดหุ้นทำให้มุมมองของนักลงทุนเปลี่ยนไป พวกเขาเริ่มให้ความสนใจ และมองว่าการลงทุนในหุ้นเป็นการลงทุนระยะยาว
ในปีค.ศ.1928 (พ.ศ.2471) ตลาดหุ้นคือสถานที่ๆ ผู้คนเชื่อว่าเป็นที่ๆ ตนจะกลายเป็นคนรวย
3
เรื่องของ “หุ้น” กลายเป็นหัวข้อสนทนาของผู้คนทั่วบ้านทั่วเมือง ไม่ว่าจะเป็นในร้านอาหารหรือแม้แต่ร้านตัดผม ทุกคนเอาแต่คุยเรื่องหุ้น
1
หนังสือพิมพ์ต่างก็ลงข่าวที่คนธรรมดา ไม่ว่าจะเป็นคนขับรถ แม่บ้าน ต่างก็กลายเป็นเศรษฐีในชั่วข้ามคืนจากการลงทุนในตลาดหุ้น ทำให้เรื่องของหุ้นเป็นที่สนใจของผู้คนทั่วประเทศ
ผู้คนจำนวนมากต่างอยากลงทุนในหุ้น แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีเงินซื้อ ทำให้คนจำนวนมากเริ่มจะยืมเงินมาจากโบรกเกอร์เพื่อซื้อหุ้น
ในยุค 20 (พ.ศ.2463-2472) นี้ คนที่ซื้อหุ้นส่วนใหญ่จะลงเงินแค่ 10-20% ที่เหลืออีก 80-90% ของราคาหุ้น ก็ไปกู้ยืมเอา
การกู้ยืมเงินมาซื้อหุ้นนับว่าเสี่ยงมาก หากหุ้นตก โบรกเกอร์ก็ต้องรีบทวงเงินของผู้ที่กู้ยืมเงินไป ให้นำเงินมาคืนโดยเร็ว
แต่ถึงจะเสี่ยง คนส่วนมากก็ยังเชื่อมั่นในอนาคตของตลาดหุ้น มั่นใจว่าตนต้องสำเร็จ ประกอบกับราคาหุ้นที่เอาแต่พุ่งขึ้นเรื่อยๆ ทำให้หลายคนมองข้ามความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น
ต้นปีค.ศ.1929 (พ.ศ.2472) ผู้คนทั่วสหรัฐอเมริกาต่างมุ่งตรงสู่ตลาดหุ้น
กำไรจากหุ้นทำให้หลายคนฝันหวานถึงอนาคตที่สดใส แม้แต่บริษัทใหญ่ๆ ก็นำเงินมาลงในตลาดหุ้น ที่ร้ายกว่านั้นก็คือ แม้แต่ธนาคารหลายๆ แห่งก็นำเงินฝากของลูกค้ามาลงในตลาดหุ้น
1
แต่ทุกคนฝันหวานได้เพียงไม่นาน สิ่งที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น
25 มีนาคม ค.ศ.1929 (พ.ศ.2472) ตลาดหุ้นเริ่มจะตก ราคาหุ้นเริ่มตก ทำให้เกิดความตื่นตระหนกไปทั่ว หากแต่ธนาคารใหญ่ๆ ต่างยังคงเชื่อมั่นและปล่อยกู้ต่อไป ทำให้ความตื่นตระหนกเริ่มลดลง
2
ฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ.1929 (พ.ศ.2472) เริ่มมีสัญญาณบอกการชะลอตัวของเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมเหล็กเริ่มถดถอย การก่อสร้างเริ่มชะลอตัว ยอดขายรถยนต์ก็ตกลง
ในเวลานี้ นักเศรษฐศาสตร์บางคนเริ่มออกมาเตือนถึงภาวะวิกฤตที่จะเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้ แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังไม่สนใจ
สัญญาณการชะลอตัวของเศรษฐกิจและการออกมาเตือนของนักเศรษฐศาสตร์ กลายเป็นเรื่องตลกและไม่น่าเชื่อถือไปทันที เนื่องจากในฤดูร้อน ค.ศ.1929 (พ.ศ.2472) ตั้งแต่เดือนมิถุนายน-สิงหาคม ราคาหุ้นนั้นพุ่งสูงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
1
3 กันยายน ค.ศ.1929 (พ.ศ.2472) ราคาหุ้นนั้นทำจุดสูงสุด โดยดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์อยู่ที่ 381.17 หากแต่อีกสองวันต่อมา ราคาก็เริ่มตก หากแต่ก็ยังไม่ได้ตกมาก
24 ตุลาคม ค.ศ.1929 (พ.ศ.2472) ราคาหุ้นนั้นดิ่งลงอย่างหนัก ผู้คนต่างรีบเทขายหุ้น เกิดความโกลาหลไปทั่ว
1
ผู้คนจำนวนมากมาชุมนุมที่หน้าตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก และเริ่มมีข่าวลือว่ามีคนฆ่าตัวตาย เนื่องจากล้มละลายจากหุ้น
หากแต่ในช่วงบ่าย ความตื่นตระหนกก็ค่อยๆ เบาบาง เนื่องจากมีกลุ่มนายธนาคารเอาเงินมาลงในตลาดหุ้น ทำให้หลายคนเชื่อมั่นว่าหุ้นยังคงมีอนาคต และหยุดการเทขายหุ้น เริ่มมีการซื้อขายหุ้นเป็นปกติ
ในวันที่ความตื่นตระหนกแพร่ไปทั่วนี้ หุ้นจำนวน 12.9 ล้านหุ้นได้ถูกขายออกไป ซึ่งมากเป็นประวัติการณ์ หากแต่อีกสี่วันต่อมา ตลาดหุ้นก็ได้ล้มอีกครั้ง ผู้คนต่างรีบเทขายหุ้น
1
29 ตุลาคม ค.ศ.1929 (พ.ศ.2472) ได้กลายเป็นวันที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ของตลาดหุ้น และเป็นที่รู้จักในชื่อของ “Black Tuesday” เนื่องจากมีการเทขายหุ้นเป็นจำนวนมากจนระบบรวนไปหมด
ผู้คนและนักลงทุนต่างตระหนก พวกเขาไม่สามารถขายหุ้นได้ทันเวลา และในเมื่อมีแต่คนขายหุ้น ไม่มีคนซื้อ ทำให้ราคาหุ้นนั้นล่ม แม้แต่ธนาคารก็เทขายหุ้น
ความวุ่นวายนี้ ทำให้ในวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ.1929 (พ.ศ.2472) ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กต้องปิด ก่อนจะเปิดอีกครั้งในวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ.1929 (พ.ศ.2472) หากแต่ราคาหุ้นก็ได้ตกอีกครั้ง
2
ภาวะนี้ดำเนินต่อไปเรื่อยๆ จนถึงวันที่ 23 พฤศจิกายน ค.ศ.1929 (พ.ศ.2472) เมื่อราคาหุ้นเริ่มจะคงที่ หากแต่ก็แค่ชั่วคราว เพราะในช่วงเวลาอีกสองปีต่อจากนั้น ราคาหุ้นก็ตกลงเรื่อยๆ และถึงจุดต่ำสุดในวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ.1932 (พ.ศ.2475) เมื่อดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 41.22
เหตุการณ์การล่มของตลาดหุ้นนี้ เป็นจุดเริ่มต้นที่นำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (The Great Depression) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เลวร้ายช่วยหนึ่งของโลก ผู้คนจำนวนมากสิ้นเนื้อประดาตัว
2
และที่สำคัญ เป็นบทเรียนให้กับนักลงทุนและบุคคลทั่วไปในยุคต่อๆ มา เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
โฆษณา