3 ธ.ค. 2020 เวลา 10:49 • ความคิดเห็น
รัฐสวัสดิการ กับ ภาระภาษี
รัฐสวัสดิการ (State Welfare) คือ บริการทางสังคมที่รัฐเป็นผู้จัดสรรให้แก่ประชากรในประเทศอย่างถ้วนหน้าและเท่าเทียม โดยสร้างขึ้นตามความต้องการขั้นพื้นฐานหรือปัจจัยสี่ที่จำเป็นของมนุษย์ ตัวอย่างเช่น ระบบสาธารณูปโภค การศึกษา การรักษาพยาบาล การคมนาคมขนส่ง ที่อยู่อาศัย และการได้รับการคุ้มครองความปลอดภัยจากรัฐ
1
โดยที่รัฐสวัสดิการนั้นก็ดำเนินการด้วยการจัดหาเงินทุนจากการเก็บภาษีนั้นเอง ซึ่งประเทศไทยเรานั้นจัดเก็บภาษีแบบอัตราก้าวหน้า นั่นหมายความว่า ใครที่มีรายได้มากก็ต้องจ่ายภาษีในอัตราที่สูง ใครที่มีรายได้น้อยมาก็จ่ายภาษีในอัตราที่ต่ำลงมา หรืออาจจะไม่ต้องจ่ายภาษีเลยสำหรับผู้ที่มีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ เป็นการเก็บภาษีแบบขั้นบันได และบริการต่างๆของรัฐจะไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมใดๆ เพราะเราได้จ่ายค่าบริการเหล่านั้นผ่านการจ่ายภาษีไปแล้ว
👉 ประโยชน์ของรัฐสวัสดิการคือ ช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางด้านต่างๆ ลดช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนให้แคบลงกว่าเดิม และยังสามารถส่งเสริมความเสมอภาคในสังคมได้อีกด้วย ในกลุ่มประเทศรัฐสวัสดิการ ให้สิทธิสตรีในการพักงานหลังจากการคลอด 480 วัน (แต่ยังได้รับค่าจ้างอยู่) เพื่อให้อยู่ดูแลบุตร และสามารถแชร์วันหยุดกับสามี ตัวเองได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ช่วยเพิ่มความเท่าเทียม และเป็นการสร้างรากฐานความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว
1
👉 ในเรื่องของการศึกษา การศึกษาในกลุ่มประเทศรัฐสวัสดิการ ให้สิทธิในการเรียนฟรีถึงขั้นอุดมศึกษาและรัฐจะสนับสนุนค่าใช้จ่ายทุกอย่างจนกระทั่งจบปริญาเอก
1
💥 เห็นข้อดีของรัฐสวัสดิการอย่างนี้แล้ว เราก็คงจะอยากมีรัฐสวัสดิการเหมือนประเทศอื่นเค้าบ้าง ถูกต้องไหมคะ แต่ปัญหาคือ ระบบภาษีของเรายังไม่ดีพอที่จะสามารถจัดเก็บภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ และปัญหาที่สำคัญกว่านั้นคือ การคอรัปชั่นเกือบจะทุกหน่วยงานของภาครัฐ ทำให้เม็ดเงินที่จัดเก็บได้จากภาษีนั้น ไม่สามารถนำมาพัฒนาประเทศได้อย่างเต็มที่
โดยรัฐสวัสดิการ จะขึ้นอยู่กับการตกลงของประชาชนในประเทศนั้นๆ เป็นอย่างไร บางประเทศอาจจะมีเงื่อนไขที่เพิ่มขึ้น เช่น รัฐจะเป็นผู้จัดหางานให้ เมื่อว่างงานหรือตกงาน ในระหว่างนั้นรัฐก็จะจ่ายเงินเดือนให้ หรือ เงินบำนาญภายหลังการเกษียณอายุ ไม่ว่าจะเป็นพนักงานรัฐหรือพนักงานเอกชนก็ตาม แต่สวัสดิการเหล่านี้ที่จะเกิดขึ้นได้นั้นย่อมแลกมากับการจัดเก็บภาษีในอัตราที่สูงนั่นเอง
1
และก็เป็นที่รู้กันว่า “ภาษี” คือภาระหน้าที่ของประชาชนทุกคนที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ที่กำหนดต้องชำระให้กับรัฐ ซึ่งเงินเหล่านั้นจะถูกนำไปสร้างประโยชน์หรือพัฒนาประเทศต่อไป เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิตกลับมาสู่ประชาชนในประเทศให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม แต่ละประเทศก็จะมีอัตราการเก็บภาษีที่แตกต่างกันออกไป โดยข้อมูลจากบริษัท เคพีเอ็มจี ซึ่งดำเนินธุรกิจตรวจสอบบัญชี ทำการเผยแพร่รายงานการเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแต่ละประเทศทั่วโลกได้จัดอับดับไว้ ซึ่งวันนี้เรามาดูกันว่า 10 ประเทศที่ประชาชนถูกจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามากที่สุดนั้นมีประเทศอะไรบ้าง
1
ที่มา : World Economic Forum
ในส่วนของไทยเรานั้น ถูกจัดให้อยู่ลำดับที่ 24 ของโลก ซึ่งถือได้ว่าประเทศไทยเรานั้นเสียภาษีค่อนข้างสูง และเป็นประเทศที่ก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์แบบแล้ว คงต้องเร่งปรับปรุงระบบสวัสดิการในประเทศให้มีประสิทธิภาพ และครอบคลุมประชากรทุกกลุ่ม โดยไม่ให้เกิดปัญหาด้านความเหลื่อมล้ำขึ้น
1
💦.....ก็หวังว่ารัฐบาลจะเล็งเห็นปัญหาตรงนี้ และหาวิธีจัดการอย่างเร่งด่วน และปัญหาที่สำคัญอีกอย่างคือ การปฏิรูประบบภาษี เพราะถ้าไม่ปฏิรูประบบภาษีอย่างจริงจัง รัฐสวัสดิการที่เราคาดหวังว่าจะเกิดขึ้นกับประเทศไทยเรานั้นก็คงเป็นแค่เพียงความฝัน
2
เรียบเรียงโดย : ลงทุนในบัญชีและภาษี
ช่องทางอื่นในการติดตาม เพจลงทุนในบัญชีและภาษี
ขอบคุณทุกกำลังใจและการติดตามนะคะ 🙏🙏😘😘

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา