Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Wasabi
•
ติดตาม
4 ธ.ค. 2020 เวลา 09:09 • สุขภาพ
นาฬิกาชีวิต (Body Clock)
2
นาฬิกาชีวิต (Body Clock) คือ วงจรของระบบการทำงานในร่างกายมนุษย์ ที่มีหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการตื่นนอน การนอนหลับ หรือการหลั่งฮอร์โมน แม้แต่การแปรเปลี่ยนของอุณหภูมิในร่างกาย
2
นาฬิกาชีวิต
05.00 - 07.00 น. ช่วงเวลาของสำไส้ใหญ่
หากยังไม่ลุก ควรลุกไปขับถ่าย ลำไส้ใหญ่จะทำงานได้ดี ลองดื่มน้ำ 2 แก้ว
07.00 - 09.00 น. ช่วงเวลาของกระเพาะอาหาร
ควรทานข้าวเช้าเวลานี้ กระเพาะจะดูดซึมและย่อยสารอาหารต่าง ๆ ได้ดีที่สุด
09.00 - 11.00 น. ช่วงเวลาของม้าม และตับอ่อน
ทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่างกายตื่นตัวที่สุด หากยังนอนซมอยู่ไม่เป็นผลดีกับร่างกาย
11.00 - 13.00 น. ช่วงเวลาของหัวใจ
หัวใจจะทำงานหนักเป็นพิเศษ เพราะต้องสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย ทำให้ความดันเลือดจะสูงขึ้นกว่าปกติ ควรพักผ่อนสั้น ๆ เช่น นอนสักงีบ หลีกเลี่ยงความเครียด ความกังวลต่าง ๆ
5
13.00 - 15.00 น. ช่วงเวลาของลำไส้เล็ก
ควรงดทานอาหาร ลำไส้เล็กทำหน้าที่ดูดซึมอาหารที่เป็นน้ำ เพื่อใช้ในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ช่วงนี้เป็นช่วงสมองแล่น
15.00 - 17.00 น. ช่วงเวลาของกระเพาะปัสสาวะ
เหมาะกับการออกกำลังกาย ดื่มน้ำเยอะ ๆ และไม่ควรอั้นปัสสาวะ ควรทำให้เหงื่อออก ขจัดของเสีย
1
17.00 - 19.00 น. ช่วงเวลาของไต
3
ไม่ควรทำงานหนัก ควรทำจิตใจให้สดชื่น ผู้ที่มีอาการง่วงในช่วงเวลานี้ แสดงว่าเริ่มมีปัญหาไตเสื่อม
19.00 - 21.00 น. ช่วงเวลาของเยื่อหุ้มหัวใจ
ทำกิจกรรมเบา ๆ เพื่อให้หัวใจทำงานน้อยลง ไม่ว่าจะเป็นนั่งสมาธิ หรือ ดูหนัง ฟังเพลงแบบสบาย ๆ
21.00 - 23.00 น. ช่วงเวลาที่ต้องทำให้ร่างกายอบอุ่น
เตรียมตัวเข้านอน ไม่ควรอาบน้ำเย็น ดื่มนมอุ่น ๆ สักแก้วก่อนนอน จะช่วยให้หลับง่ายและสบายขึ้น
23.00 - 01.00 น. ช่วงเวลาของถุงน้ำดี
ควรเข้านอน ระหว่างนอนหลับ น้ำดีจะมาช่วยย่อยไขมันที่ลำไส้เล็ก ถุงน้ำดี และตับ จิบน้ำก่อนนอนจะช่วยเจือจางน้ำดีไม่ให้ข้นจนเกินไป
01.00 - 03.00 น. ช่วงเวลาของตับ
ควรนอนหลับ เพื่อตับจะหลั่งสารฆ่าเชื้อโรค ทำให้หน้าอ่อนกว่าวัย เวลานี้ไม่ควรกินอาหาร เพราะจะทำให้ตับทำงานหนัก และเสื่อมเร็ว
03.00 - 05.00 น. ช่วงเวลาของปอด
ควรตื่นนอนเพื่อสูดอากาศบริสุทธิ์ เพื่อให้ระบบหายใจได้ทำงานได้เต็มที่ และเซลล์ต่าง ๆ ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ และยังช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง
นาฬิกาชีวิตจะถูกควบคุมโดยแสง และอุณหภูมิภายในร่างกาย ซึ่งเมื่อร่างกายได้รับแสงแดดและมีอุณหภูมิในระดับที่เหมาะสม ร่างกายก็จะเริ่มทำงานตามวงจรในแต่ละวัน โดยวงจรดังกล่าวมีชื่อเรียกว่าจังหวะเซอร์คาเดียน (Circadian Rhythms)
1
#สาระจี๊ดจี๊ด
สำหรับคนที่ทำงานกลางคืนในระยะยาว พบว่าเมื่ออายุมากขึ้น จะมีอัตราพบในเรื่องของโรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดในสมอง มากกว่าคนที่นอนปกติ สาเหตุก็มาจาก ชีวิตเสียสมดุล
1
#สาระจี๊ดจี๊ด
ผู้ที่จำเป็นต้องทำงานกลางคืน สิ่งที่ทำได้ คือ การหลับในช่วงกลางวันเพื่อทดแทน และหาเวลาออกกำลังกาย ตลอดจนรับประทานอาหารที่มีวิตามินซีสูง ๆ เนื่องจากการอดนอนทำให้ภูมิต้านทานต่ำลง
1
"เรามารักษาวินัยตามนาฬิกาชีวิตกันเถอะ!"
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
พิสูจน์อักษรโดย วาลีพ
แหล่งที่มา
https://www.pobpad.com/นาฬิกาชีวิตกับระบบการท
http://research.mol.go.th/2013/rsdat/data/doc/IHdSJp0/02IHdSJp0.pdf
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอ
93 บันทึก
120
23
179
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
สุขภาพ โรคภัย การแพทย์
93
120
23
179
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย