8 ธ.ค. 2020 เวลา 05:30 • การศึกษา
EP.13 วางแผนงานและเวลา ด้วยข่ายงาน CPM (ตอน 1)
ซีรี่ส์ วงจรชีวิตโครงการ (Project Life Cycle)
เฟสที่ 2 Planning การวางแผนโครงการ
จากโพสต์ที่แล้ว จุดอ่อนของ Gantt Chart คือ ไม่ได้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของแต่ละงาน และ ไม่สามารถบอกได้ว่างานที่ล่าช้ากว่าแผนนั้น จะส่งผลให้ทั้งโครงการล่าช้าตามไปด้วยหรือไม่ ?
จึงมีการใช้เทคนิคการสร้างข่ายงาน CPM ( Critical Path Method ) ที่จะทำให้เรารู้ว่า
- งานใดบ้าง ที่เมื่อเสร็จล่าช้ากว่ากำหนด จะส่งผลให้โครงการเสร็จช้าไปด้วย
- งานใดบ้างที่เมื่อเกิดการล่าช้า จะไม่ส่งผลต่อโครงการ และ งานนี้สามารถช้าได้มากสุดเท่าไร
- หากต้องการให้โครงการเสร็จก่อนกำหนด จะต้องเร่งงานตัวไหนบ้าง โดยใช้งบประมาณในการเร่งงานน้อยที่สุด
Critical Path Method
เรามาดูตัวอย่างการสร้างข่ายงาน CPM แบบง่ายๆ กันค่ะ
เริ่มด้วยการทำ Work Breakdown Structure เราจะรู้ว่า มีงานอะไรบ้างที่ต้องทำ งานมีความสัมพันธ์กันอย่างไร งานใดต้องทำก่อน งานใดต้องทำทีหลัง และประมาณเวลาว่าแต่ละงานใช้เวลาทำเท่าไร
นำข้อมูลข้างต้นมาทำเป็นตารางงาน ตัวอย่างตามตารางด้านล่าง แสดงถึงงานทั้งหมดที่ต้องทำ ระยะเวลาทำ และ งานที่ต้องทำก่อน-ทำหลัง
ตารางงาน
แล้วนำมาสร้างเป็นผังข่ายงาน CPM อันประกอบด้วย
- ลูกศร แทน ขั้นตอนของงาน
- Node แทน งาน
ให้เราไล่ตามลำดับงานในตารางเลยค่ะ โดยเชื่อมต่องานทั้งหมดเข้าด้วยกันด้วยลูกศร ตามรูปตัวอย่างด้านล่าง
ตัวอย่างการสร้างข่ายงาน CPM
ตัวอย่างการสร้างข่ายงาน CPM
สุดท้ายแล้ว เราจะได้ผังข่ายงาน CPM ที่เห็นความสัมพันธ์ของงานทั้งหมด
ลูกศรทำให้เห็นทิศทางการทำงาน และ Node จะบรรจุชื่องานและระเวลาทำงานนั้นๆ
ตัวอย่างการสร้างข่ายงาน CPM
คงพอเริ่มจะเข้าใจหลักการเบื้องต้นของข่ายงาน CPM กันแล้วนะคะ ตอนหน้ามาดูกันค่ะว่าเราจะนำผังข่าย CPM มาช่วยในการวางแผนโครงการได้อย่างไร ติดตามกันนะคะ
ขอเชิญรีวิวบทความหรือแสดงความคิดเห็น เพื่อเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนทัศนะและความรู้ร่วมกันนะคะ ^^
#บริหารจัดการ #Project Management #พัฒนาตัวเอง #management

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา