12 ธ.ค. 2020 เวลา 05:00 • ประวัติศาสตร์
#5 The Brain Club : History
ลูกบอลรังแตนกับเรื่องราวปริศนายุคล่าทองคำ
มีสิ่งประดิษฐ์หลายชิ้นบนโลกที่ถูกสร้างขึ้นมา และสูญหายไปตามกาลเวลา นั้นคือสิ่งที่เกิดกับ ลูกบอลรังแตน ( Hornet Balls ) ที่ในทุกวันนี้ยังคงเป็นปริศนาว่ามันถูกสร้างขึ้นมาทำไม
ในช่วงศตวรรษที่ 19 เป็นยุครุ่งเรืองของการทำเหมืองทองในสหรัฐอเมริกา มีผู้คนจำนวนมากหลั่งไหลเข้ามายังรัฐเวอร์จิเนีย เพื่อลงทุนทำธุรกิจเหมืองทอง โดยเราเรียกสังคมอเมริกาในยุคนี้ว่า " ยุคตื่นทอง "
ในรัฐเวอร์จิเนีย มีหมู่บ้านเล็กๆ ชื่อโกลด์เวน เป็นที่ตั้งของอุทยานมอนโร และพิพิธภัณฑ์เหมืองทองคำ เพียงแห่งเดียวในรัฐเวอร์จิเนีย โดยเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1998
แม้ว่าพิพิธภัณฑ์แห่งนี้จะไม่ใช่ที่ตั้งของเหมืองจริง แต่มีการจำลองค่ายทำเหมืองจากทศวรรษที่ 1930 โดยภายในจะมีการจัดแสดงสิ่งประดิษฐิ์ และสิ่งของต่างๆ ที่พบจากเหมืองบริเวณรอบๆ
โดยในบริเวณรอบๆ จะมีเหมืองทองคำที่เคยใช้งานจริงในอดีตราวๆ 18 แห่ง อยู่ห่างจากพิพิธภัณฑ์ไม่เกิน 5 ไมล์
แผนที่ของอุทยานมอนโรและพิพิธภัณฑ์เหมืองทองคำ
หนึ่งในของจัดแสดงที่เป็นไฮไลท์ก็คือลูกบอลรังแตน ที่ได้มาจากซากปรักหักพังของเหมืองลิเบอร์ตี้ ซึ่งอยู่ห่างจากพิพิธภัณฑ์เพียง 1 ไมล์เท่านั้น
ลูกบอลรังแตน มีลักษณะเป็นลูกบอลทรงกลมขนาดใหญ่ สร้างขึ้นจากคอนกรีตเสริมเหล็กหนัก 7 ตัน ด้านในกลวง มีฝาตะแกรงเหล็กปิดช่องด้านหน้า มีความสูง 7 ฟุต และมีเส้นรอบวง 20 ฟุต
มันถูกใช้เป็นเครื่องแยกทองคำออกจากหิน โดยมันจะทำหน้าที่คล้ายกับเครื่องสีหรือเครื่องบดแร่ ตัวลูกบอลจะติดตั้งคู่กับเพลา จากนั้นคนงานจะนำแร่ที่ขุดได้ ใส่เข้าไปในช่องว่างด้านใน จากนั้นใช้พลังม้าหรือไอน้ำส่งกำลังให้ลูกบอลหมุนไปมาเพื่อบดแยกหินกับทองคำ
จากวิธีการใช้งานนี้เองจึงเป็นที่มาของชื่อ ลูกบอลรังแตน ( Hornet Balls ) ทั้งจากรูปร่างภายนอกที่เราเห็น และจากเสียงก้อนหินที่กลิ้งไปมาในเครื่องมีเสียงคล้ายกับรังแตน
แต่ข้อสันนิษฐานนี้เป็นเพียงการคาดเดาของนักประวัติศาสตร์เท่านั้น ปัจจุบันเราก็ยังไม่ทราบแน่ชัด ว่ามันใช้แยกทองคำออกจากหินจริงหรือไม่
สำหรับผู้ที่อยากไปเที่ยวชมอุทยานมอนโร และพิพิธภัณฑ์เหมืองทองคำ
เปิดทำการเฉพาะจันทร์ - ศุกร์
ตั้งแต่เวลา 10.00-16.00 น.
โทรสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 540-422-8170
และในช่วง COVID-19 นักท่องเที่ยวต้องใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งก่อนเข้าพิพิธภัณฑ์ ยังไงก็อย่าลืมดูและสุขภาพกันด้วยนะครับ ด้วยความเป็นห่วงจากสโมสรสมอง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา