7 ธ.ค. 2020 เวลา 06:27 • ธุรกิจ
เทรนด์ทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์มาแรง
บริษัทขนาดเล็กหลายแห่งในสหรัฐฯ ได้มีการเริ่มทดลองให้พนักงานมาทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ ตั้งแต่ กลางปี 2562 โดยได้มีวิธีการหลายทาง เช่น บางบริษัทให้พนักงานทำงาน 10 ชม. ต่อวัน ขณะที่บางบริษัทได้ลดจำนวนชั่วโมงในการทำงานต่อสัปดาห์ลงเหลือ 32 ชม. บางแห่งจัดตารางทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน 8/9 ชม. ต่อวันและมีหนึ่งวันทำงาน 8 ชม. และหยุดทุกๆวันศุกร์
ส่วนบริษัทขนาดใหญ่หลายแห่งในต่างประเทศเริ่มตามเทรนด์ให้พนักงานทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ และมีวันหยุดเพิ่มขึ้นในแต่ละสัปดาห์ หลังพบกรณีศึกษา การทำงานแบบดั้งเดิมล้าสมัย ใขณะที่การทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์มีแนวโน้มที่จะเป็นวิธีที่ทำให้ความสมดุลของชีวิตและการทำงาน หรือ work-life balance เป็นไปในทางที่ดีขึ้น บางธุรกิจได้มีความพยายามต่อสู้กับความเหนื่อยล้าของพนักงานที่เกิดจากความท้าทายของการทำงานช่วงการแพร่ระบาดของโควิด
เริ่มกันที่ญี่ปุ่นกันก่อนค่ะ ซึ่งเป็นประเทศที่พนักงานออฟฟิศต้องต่อสู้ดิ้นรนกับความโหดร้ายของวัฒนธรรมการทำงานหักโหมที่มากเกินไป และบางรายถึงขั้นเสียชีวิต ปัญหานี้รุนแรงอย่างมาก ญี่ปุ่นถึงกับให้คำจำกัดความ การเสียชีวิตจากการทำงานมากเกินไปที่ทำให้เกิดอาการป่วยจากความเครียด หรือภาวะหดหู่ขั้นรุนแรงว่า karoshi (過労死)
ประเด็นดังกล่าวได้ดึงดูดความสนใจระดับชาติในปี 2558 เมื่อพนักงานคนหนึ่งจากบริษัท Dentsu ซึ่งเป็นบริษัทโฆษณายักษ์ใหญ่สัญชาติญี่ปุ่น ได้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายในวันคริสต์มาส เจ้าหน้าที่กล่าวว่า พนักงานรายนี้ทำงานล่วงเวลามากเกินไป และสองปีต่อมา ผู้สื่อข่าวแห่งสถานีโทรทัศน์แห่งหนึ่งในญี่ปุ่น ก็เสียชีวิตลงหลังจากทำงานหนักอย่างหักโหม โดยผู้ว่าจ้างของเธอกล่าวว่า เธอทำงานล่วงเวลาไป159 ชั่วโมงในเดือนนั้นก่อนที่เธอจะเสียชีวิต
ทั้งนี้ Microsoft ได้ทดลองให้พนักงานทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ในญี่ปุ่น โดยนำเสนอโครงการที่เรียกว่า "Work Life Choice Challenge” ซึ่งบริษัทจะปิดสำนักงานทุกๆวันศุกร์ในเดือนส.ค. และให้พนักงานมีวันหยุดเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งวันในทุกสัปดาห์
Microsoft เปิดเผยว่า ผลที่ได้เป็นที่น่าพอใจอย่างมาก จากการที่เวลาที่ใช้ในการทำงานถูกลดลงทันที ผลผลิตจากการทำงาน ซึ่งวัดโดยยอดขายต่อพนักงาน เพิ่มขึ้นเกือบ 40% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน นอกจากนี้บริษัทได้ประกาศการติดตามผลกับการทดลองอีกโครงการในญี่ปุ่น และยังเชิญชวนให้บริษัทอื่นลองมาร่วมการดำเนินการนี้
ในปี 2561 Perpetual Guardian ซึ่งเป็นบริษัทจัดการเรื่องมรดกและอสังหาริมทรัพย์ในนิวซีแลนด์ ได้ลองให้พนักงานมาทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลาสองเดือน ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมาก และต่อมาได้ตัดสินใจให้พนักงานมาทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์เป็นการถาวร
ใขณะที่ นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ Jacinda Ardern ได้หยิบยกแนวคิดในการลดวันทำงานลง ซึ่งอาจจะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโควิดได้
โดยในเดือนพ.ค. นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ ได้แบ่งปันขอแนะนำขณะที่กำลังหารือกันเกี่ยวกับวิธีที่จะทำให้การท่องเที่ยวในประเทศฟื้นตัว โดยเธอได้กล่าวว่า ขณะที่ธุรกิจต่างๆ มีทิศทางของตนเองที่จะตัดสินใจนั้น แนวคิดนี้จะช่วยให้เกิดการท่องเที่ยวภายในประเทศ โดยทำให้นักท่องเที่ยวในประเทศมีเวลาที่ยืดหยุ่นในการเดินทางและการลาหยุด
ล่าสุดเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว Unilever ได้กลายเป็นบริษัทใหญ่ที่หันมาให้ดำเนินการให้มีชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์น้อยลง เป็นการตอกย้ำแนวคิดการทำงานแบบยืดหยุ่นว่ามีประสิทธิภาพจริงๆ
โดยผู้จัดจำหน่ายชา Lipton's สบู่ Dove และไอศครีม Ben & Jerry's ได้ประกาศว่าจะลองให้มีชั่วโมงการทำงานน้อยลงสำหรับพนักงานในนิวซีแลนด์ทุกคน โดยที่ให้พนักงานตัดสินใจเองว่า 4 วันที่จะมาทำงานในแต่ละสัปดาห์เป็นวันใดบ้าง
การทดลองเริ่มขึ้นในเดือนธ.ค. นี้ และจะดำเนินการไปอีก 1 ปี ทั้งนี้บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านผลิตภัณฑ์การบริโภคนี้มีพนักงาน 81 คนในนิวซีแลนด์ ได้รับอนุญาตให้ลดชั่วโมงการทำงานลงโดยที่ไม่มีการลดค่าจ้าง และให้ University of Technology Sydney ออสแตรเลีย มาช่วยในการจัดการติดตามประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน
Unilever กล่าวว่า หากทุกอย่างเป็นไปด้วยดี บริษัทจะพิจารณาว่าจะขยายผังการทำงานในระดับกว้างขึ้นหรือไม่
Nick Bangs กรรมการผู้จัดการ Unilever นิวซีแลนด์ คาดว่าการทดลองนี้จะส่งผลให้ Unilever เป็นบริษัทระดับโลกแห่งแรกที่ได้นำการทำงานที่เกิดประโยชน์ที่จับต้องได้สำรหับพนักงานและธุรกิจมาใช้
Bangs กล่าวว่า ทีมของเขาได้รับแรงบันดาลใจจากกรณีศึกษา และทำให้เชื่อได้ว่าวิธีการทำงานแบบเดิมๆนั้น ล้าสมัยไปแล้ว
ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีอีกหลายบริษัทที่กำลังเรียนรู้ที่จะให้ทำงานจากนอกสำนักงานจากเหตุผลเดียวกัน และเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว Nomura Holdings บริษัทสัญชาติญี่ปุ่น กำลังพิจารณาแนวทางที่จะให้พนักงานใช้เวลามากถึง 60% ในการทำงานของพวกเขาทำงานนอกสำนักงานในแต่ละเดือน
ที่มา:
ภาพ:

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา