10 ธ.ค. 2020 เวลา 02:09 • ศิลปะ & ออกแบบ
ซีรีย์ สถาปนิก คือ ...?
ตอนที่ 2 
จะเป็นสถาปนิกเรียนอะไรบ้าง ?
ตอนที่แล้ว เราพูดถึงลักษณะงานของสถาปนิกว่ามีลักษณะอะไรบ้าง ตอนนี้ขอย้อนเวลากลับไปอีกสเต็ปว่า ถ้าจะเป็นสถาปนิก ต้องเรียนอะไร ? ยังไง ?
การทำงานเป็นสถาปนิกอาชีพ ต้องผ่านกระบวนการสองขั้นตอนนะครับ คือ
การเรียนในหลักสูตรสถาปัตยกรรม และ การสอบให้ได้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ
Cr. : khanaad_photo
การเรียนหลักสูตรสถาปัตยกรรมใน
ปัจจุบัน มีสถาบันที่สอนหลักสูตรสถาปัตย์อยู่มากมาย ทั้งของภาครัฐ และเอกชน ทั้งระดับปริญญา อนุปริญญา และ ประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง ซึ่งการเรียนจบอะไรมา จะส่งผลต่อเนื่องไปยังขั้นตอนการสอบใบประกอบวิชาชีพฯในตอนท้ายเรามาดูรายละเอียดในแต่ละขั้นกันครับ
การเรียนหลักสูตรสถาปัตยกรรม
ในระดับปริญญาตรี ปัจจุบันมีสถาบันการศึกษามากมายที่เปิดสอนหลักสูตรนี้ แต่พอจะแบ่งออกเป็นได้ 2 แบบครับ คือ
- แบบดั้งเดิม คือ เรียน 5 ปี จะได้ปริญญาตรี สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต(สถ.บ.)
- แบบ 4+2 (หรือหลักสูตรอื่นที่คล้ายกัน) คือ เรียน 4 ปี ปริญญาตรีที่ได้จะไม่ใช่สถาปัตยกรรมศาสตร์บัณฑิต แต่จะเป็นสาขาตามแต่ละหลักสูตรว่าจะเน้นไปทางไหน เช่น วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)  บริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.) หรือศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (ศป.บ.) เป็นต้น
และถ้าเรียนต่ออีก 2 ปี จะได้เป็น ปริญญาโท สถาปัตยศาสตร์มหาบัณฑิต (สถ.ม.)
ซึ่งรูปแบบนี้ จะคล้ายการเรียนหมอ ที่เรียน 4 ปี ได้ป.ตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต เรียนต่ออีก 2 ปี จะได้แพทยศาสตรบัณฑิต
เนื้อหาการเรียนทั้งแบบ 5 ปี และแบบ 4+2 ปี ในขั้นต้นจะคล้ายคลึงกันคือ จะต้องเรียนวิชาหลักๆ 3 กลุ่ม คือ
1.กลุ่มวิชาออกแบบอาคารประเภทต่างๆตั้งแต่ซุ้มขายอาหารหลังจิ๋วไปจนถึงออกแบบสนามบินหรือโรงแรมสูงระฟ้า
Cr. Jamie Crawley
2.กลุ่มวิชาที่เกี่ยวข้องกับลักษณะโครงสร้างอาคาร ทั้งรูปแบบโครงสร้างไม้ เหล็ก อิฐ คอนกรีต รวมไปถึงระบบอุปกรณ์อาคารต่างๆ
Cr. : AFASIAARCHZINE.COM
3.กลุ่มวิชาประกอบ เช่น ประวัติศาสตร์สถาปัตย์ทั้งไทยและของโลก การพรีเซ้นต์แบบ การใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบ การคิดคอนเซ็ปท์ รวมไปถึง มารยาทจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพฯเป็นต้น
Cr. : ArchDaily
อ่อ..อาจจะมีวิชาคำนวนอีก 1-2 ตัวด้วยนะครับ
ที่แตกต่างชัดเจนระหว่างการเรียน 5 ปีกับ 4 ปี คือในหลักสูตร 5 ปี จะต้องทำวิทยานิพนธ์ ที่ผู้เรียนจะได้มีโอกาสในการคิดและกำหนดโจทย์ของอาคารด้วยตัวเอง แล้วนำเสนอต่อคณะกรรมการตรวจวิทยานิพนธ์
ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ต้องคิดตั้งแต่ก่อนการออกแบบ ทั้งเรื่องการหาที่ดินในการก่อสร้าง แหล่งทุน การดำเนินการของอาคาร ไปจนถึงการออกแบบรูปแบบอาคารในขั้นตอนสุดท้าย
Cr. : project.seoul.go.kr
ซึ่งจะเรียนแบบ 5 ปี หรือ 4 ปี ถ้าจะออกมาประกอบวิชาชีพสถาปนิกอย่างถูกต้อง จะต้องผ่านอีกขั้นตอนหนึ่งคือ
การสอบใบประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม จากสภาสถาปนิก
Cr. : สภาสถาปนิก
ผู้ที่เรียนมาแบบ 5 ปี เมื่อเรียนจบ ก็มาสมัครสอบได้เลย (555 แต่จะผ่านหรือไม่ เป็นอีกเรื่องนะครับ)
แต่สำหรับผู้เรียนมาแบบ 4 ปี ถ้าไม่เรียนต่อเอาปริญญาโทสถาปัตย์ แล้วจะมาสอบใบประกอบวิชาชีพฯ จะมีข้อแม้ว่า จะต้องทำงานในแวดวงสถาปัตย์มาก่อน 2 ปี ถึงจะมีสิทธิ์มาสอบได้ (แต่อย่างเพิ่งท้อนะครับ ผมแอบไปดูสถิติ คนที่เรียน 4 ปีแล้วทำงานอีก 2 ปี มักจะสอบผ่านได้ง่ายกว่า ผู้ที่เรียนแบบ 4+2)
ซึ่งการสอบใบประกอบวิชาชีพนี้ เป็นใบสำคัญที่ใช้รับรองยืนยันตามกฎหมายสำหรับผู้ที่จะทำงานด้านนี้จริงๆ ทั้งเป็นผู้ออกแบบ ผู้ควบคุมงาน หรือ เป็นที่ปรึกษาโครงการ ซึ่งในการทำงานจริง เราจะต้องเซ็นชื่อรับรองในงานแต่ละโครงการว่าเราเป็นผู้ที่ทำหน้าที่อะไรในโครงการนั้นๆ
Cr. : Freepik
ลักษณะก็คล้ายๆการสอบเนติบัณฑิตของผู้เรียนกฎหมายมา(แต่ไม่ยากเท่า) แล้วอยากจะประกอบวิชาชีพทางกฎหมายที่มีการควบคุมดูแล
คงจะพอเห็นภาพนะครับว่า การจะเป็นสถาปนิกสักคน มันผ่านด่านอะไรมาบ้าง
ตอนหน้าจะพาย้อนกลับไปที่จุดตั้งต้นว่า แล้วถ้าอยากสอบเข้าคณะสถาปัตย์ ควรเตรียมตัวอย่างไรบ้าง ?
Cr. : Twitter
อ่อ.. พักผ่อนกันบ้างนะครับ
***********************************
สำหรับเพื่อนๆ Blockdit ที่สนใจแนวอื่น ผมมีเขียนลงอีก 2 เพจคือ
๏ 'Bear's Books'  = ข้อคิดดีๆที่ได้จากการอ่าน
๏ 'Bear's Blog'  = ภาพถ่ายกับมุมมองของชีวิต ในรูปของ บทกลอน เรื่องสั้น หรือ ไฮกุ และ คอลัมน์ล่าสุด การ์ตูนกวนเมือง
ขอเชิญชวนให้เข้าไปแวะชมนะครับ
เผื่อจะมีบางข้อเขียนที่อาจถูกใจ
ฝากติดตาม หรือ แลกเปลี่ยนความคิดกันได้ครับ
หรือใครสนใจเฉพาะภาพถ่าย
ลองเข้าไปดูและกดติดตามได้ใน
ig : khanaad_photo  นะครับ
แล้วพบกันนะครับ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา