Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
โหราทาสเล่าเรื่อง
•
ติดตาม
12 ธ.ค. 2020 เวลา 06:44 • ประวัติศาสตร์
เล่าสู่กันฟัง (6)
เรือนชะตาโหราศาสตร์
เรือนชะตาที่นักโหราศาสตร์กรีกโรมัน(Hellenistic) สมัยคศต.ที่1 ใช้กัน แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
1.เรือนชะตาราศี (Whole Sign House) เป็นลักษณะเช่นเดียวกับที่ไทยและอินเดียใช้อยู่ คือกำหนด เส้นแบ่งราศีเป็นเส้นแบ่งเรือนชะตา
2.เรือนชะตาระบบจตุภาค(Quadrant) กำหนดองศาของลัคนาเป็นเส้นแบ่งเรือนที่ 1 และ องศาของเมอริเดียนเป็นเส้นแบ่งเรือนที่10 ทำให้เกิดพื้นที่ 4 ส่วนหลังจากนั้นก็แบ่งแต่ละส่วนออกเป็นสามส่วนย่อยขนาดเท่ากัน
3.เรือนชะตาเรือนเท่า (Equal House) กำหนดองศาลัคนาเป็นเส้นแบ่งเรือนที่ 1 หลังจากนั้นก็แบ่งเรือนออกเป็น12 ส่วนๆละ30 องศา
ตำราในยุคแรกจะใช้ เรือนชะตาราศีเป็นหลักเพื่อใช้พิจารณาเรื่องราว (topic) ที่ต้องการทราบ ขณะที่เรือนชะตาจตุภาค จะใช้วัดความเข้มแข็งของดาวที่ส่งอิทธิพลต่อลัคนา ที่เป็นดาวเจ้าการกำหนดความยั่งยืนของชีวิต (Length of Life) ส่วนเรือนชะตาเรือนเท่า มีการกล่าวถึงในตำราโหราศาสตร์ยุค คศต.1 แต่ก็มิได้อ้างอิงวิธีการใช้งานในดวงตัวอย่าง
มาในคศต.ที่9 มีการใช้เรือนชะตาแบบจตุภาคเป็นหลัก ตาม Abu Ma'shar (AD787-888) นักโหราศาสตร์อาหรับที่เลื่องชื่อและมีผลงานมากมายสมัยราชวงศ์อับบาซิยะฮ์แห่งอาณาจักรอิสลาม ที่มีความโดดเด่นเรื่องดวงกาลชะตา(Horary) การหาฤกษ์ทำการ (Electional) และโหราศาสตร์ดวงเมือง (Mundane)
ทำให้พอสันนิษฐานได้ว่า การแบ่งเรือนชะตาที่ใช้องศาลัคนาและเมอริเดียนเป็นจุดอ้างอิง เริ่มแยกตัวออกมาจากการใช้จักรราศีในยุคนี้ น่าจะเป็นผลจากการใช้กาลชะตาและการหาฤกษ์ทำการ รวมถึงการพยากรณ์ดวงเมือง ที่ทำให้ต้องการทราบตำแหน่งที่แน่นอนของจุดลัคนา ณ เวลาที่ผูกดวง
เรื่องกาลชะตาและการพยากรณ์ดวงเมืองนั้น โหราจารย์ยุคอิสลาม ก็ได้นำมาจากพวกเปอร์เชียใหม่สมัยราชวงศ์ซาเซเนียน (Sasanian) ที่มีอิทธิพลช่วง คศต.ที่ 3-7 ขณะที่ทางเปอร์เชียก็รับมาจากอินเดียอีกทอด เมื่อพิจารณาจากผลงานด้านโหราศาสตร์ภารตะของวราหมิหิรา แห่งอุชเชนี และบุตรชาย ที่มีผลงานด้านกาลชะตาและพยากรณ์ดวงเมืองแพร่หลายในอินเดียมาตั้งแต่คศต.ที่ 6 แล้ว
1
โหราทาส
๑๒ ธันวาคม ๒๕๖๓
บันทึก
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ประวัติโหราศาสตร์และอื่นๆ
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย