16 ธ.ค. 2020 เวลา 12:36 • ประวัติศาสตร์
เล่าสู่กันฟัง​ (7)
โหราศาสตร์อ.สุบิน​ ชินพัฒน์
1
อ. สุบิน​ ศึกษาเลข​7 ตัวด้วยตนเองตั้งแต่อายุ​ 13 เลยคุ้นชินกับการตั้งเรือนชะตาด้วยตัวเลขวันเดือนปีเกิด​ แล้วออกคำทำนายทายทักด้วยการนำความหมายของแต่ละเรือนมากระทบกัน​ แล้วผูกเป็นเรื่องราวต่างๆ​
พอมารู้จักโหราศาสตร์เมื่ออายุ​ 16 ท่านก็ทราบโดยทันทีว่ากรรมวิธีการพยากรณ์ด้วยโหราศาสตร์จากการเอาเรือนชะตามาพยากรณ์นั้นไม่ถูกต้อง​ เพราะแทบไม่ได้ต่างกับวิธีพยากรณ์แบบเลข​7 ตัว​ ที่ให้ความหมายแบบกว้างๆไม่เฉพาะเจาะจง​ ถ้าวิธีการนี้ถูกต้อง​ โหราศาสตร์ก็ไม่ต่างอะไรจากระบบเลข​ 7 ตัว​ และจะกลายเป็นการทำนายทายทักไป
เมื่อท่านศึกษาโหราศาสตร์มากเข้า​ เริ่มเข้าใจระบบธาตุในราศีที่นำมาใ้ช้ปรุง
ความหมายพระเคราะห์​ เข้าใจเรื่องเกณฑ์พระเคราะห์เข้ารูปของโหราศาสตร์สมัยอยุธยา​ เช่นพฤทธิ-จักร-ปรัก-ไทย​ เข้าใจเรื่องเกณฑ์การส่งกำลังพระเคราะห์​ โยค​หน้าหลัง​(3-11) เกณฑ์​ (1-4-7-10) ตรีโกณ​ (5-9) โยคพิเศษที่ภารตะใช้​ (อังคารเกณฑ์​4 และ​8,​ เสาร์เกณฑ์​ 3 และ​10 เป็นต้น)​
ท่านเริ่มตั้งสมมติฐานว่า​ แท้จริงตำแหน่งเกษตร์และอุจจ์​ มีไว้พิจารณ์ดาวเข้ารูปที่มีกำลังและอิทธิพลในดวงชะตา​ ไม่ใช่การพิจารณาเป็นเอกเทศหรือการใส่ความหมาย​แปลกๆเข้าไปเช่น​ อุดมสมบูรณ์​ หรือสูงส่ง​ และตำแหน่งประเกษตร์และนิจจ์​ ก็ไม่ได้เกิดจากตำแหน่งมาตรฐาน​ เป็นเอกเทศ​ แต่เป็นผลจากมีดาวจรเข้ามาทำให้เกิดภาวะเป็นประเกษตร์หรือนิจจ์ในดวงชะตา​
1
เรื่องกำลังและอิทธิพลในดวงชะตานั้นก็จะเป็นในลักษณะที่สามารถมองเห็นได้ เช่นลักษณะของพระเสาร์​ ที่แสดงออกโดยผิวพรรณคล้ำเศร้าหมอง​ ยังแสดงด้วยอาการเงียบขรึม​ เก็บตัว​ ครุ่นคิด​ และเจ้าคิดเจ้าแค้น​ เป็นต้น​ ท่านเรียกลักษณะที่มองเห็นได้นี้ว่าฝ่ายนาคา
ท่านจึงแทบไม่ใช้ระบบการตามเจ้าเรือน​ตามแบบโหราศาสตร์พื้นบ้านที่ใช้กันอยู่ โดยอุปโลกให้พระเคราะห์แทนความหมายเจ้าเรือนต่างๆ​ และเอาความหมายของเรือนใส่ในพระเคราะห์​ ทำให้ความหมายดั้งเดิมของพระเคราะห์ถูกลืมกันไป​ (เช่นพระเสาร์คือพ่อ​ พระราหูคือแม่​ พระศุกร์คือคนรัก)​
1
ต่อมาเมื่อท่านได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้เรื่อง​ดาวกระทบดาวจากนักโหราศาสตร์สำนักวัดสามพระยา​ ที่มีการพยากรณ์โดยไม่ต้องอาศัย​ลัคนาและเวลาเกิด​ แต่อาศัยการถอดความหมายจากพระเคราะห์ที่้เข้ามามีความสัมพันธ์เชิงมุมต่อกัน​ ซึ่งใช้ในการพยากรณ์สิ่งแวดล้อมของเจ้าชะตา​ ว่าจะเกิดอะไรขึ้น​ ​หรือมีใครจะเอาอะไรมาให้​เจ้าชะตาทั้งดีและไม่ดี​ และไม่ได้ขึ้นกับการตัดสินใจของเจ้าชะตา ท่านถึงเข้าใจการพยากรณ์ด้วยวิธีดูดาวบนท้องฟ้าของคนโบราณ​ และเรียกวิธีการนี้ว่าการพยากรณ์ฝ่ายนักษัตร
ต่อมาท่านเรียนรู้วิธีการถอดดวงทายที่นักโหราศาสตร์ร่วมสมัยนิยมใช้กัน​ โดยการกำหนดเรือนชะตาที่อยากรู้เรื่องราวมาตั้งเป็นลัคนาและอ่านความหมายของเรือนที่เกี่ยวข้องเช่น​เรือนที่​ 10 นับจากเรือนคู่ครอง​(เรือน​7 หรือปัตนิ) หรือเรือนที่​ 4 (พันธุ) ของลัคนา​ จะหมายถึงกิจการงานของคู่ครองเจ้าชะตานั่นเอง​ ตำแหน่งวินาศน์​ (อริของปัตนิ)​ก็คือ ตำแหน่งคู่ครองคนที่สอง​ การศึกษาเรื่องการถอดดวงทายมากๆเข้า​ทำให้อ.สุบินได้ข้อสรุปว่า​การพยากรณ์โดยอาศัยเรือนชะตานั้น​ จะใช้ได้ในกรณีเป็นเรื่องราวที่เจ้าชะตาจะต้องตัดสินใจด้วยตนเอง​ ถึงเกิดเป็นเหตุแห่งการพยากรณ์ได้
อย่างไรก็ตามท่านเห็นว่า​ ความหมายเรือนชะตาที่ใช้กันอยู่นั้นไม่ถูกต้อง​ กล่าวคือ​ การที่เรียกตำแหน่งแต่ละเรือนชะตาว่า​​ ลัคนา-กดุมภะ-สหัชชะ-พันธุ-ปุตตะ-อริ-ปัตนิ-มรณะ-ศุภะ-กัมมะ-ลาภะ-วินาศ​ ตามแบบอย่างเลข​7 ตัวนั้น​เป็นเพียงการเรียกชื่อเพื่อแสดงลำดับที่เฉยๆ​ หาใช่เพื่อแสดงความหมายตามชื่อเรือนนั้นไม่​
แต่ต่อมาท่านก็พบว่าเรือนชะตาที่มีความหมายใกล้เคียง​ชื่อเรียก​ มีแค่​4เรือน​
กล่าวคือลัคนา​(ตัวตนของเจ้าชะตา)​ พันธุ​(ครอบครัวหรือพ่อแม่เจ้าชะตา)​ ปัตนิ(คู่ครองและคนใกล้ชิดกับเจ้าชะตา)​ กัมมะ​(กิจการงานของเจ้าชะตา)​ ก็คือเรือนเกณฑ์ทั้งสี่​ (1-4-7-10 จากลัคนา) นั่นเอง​ ส่วนเรือนชะตาที่เหลือ​ ไม่ได้ใช้ในการอ่านความหมาย​ เนื่องจากความหมายหลักจะถูกกำหนดจากพระเคราะห์มิใช่กำหนดจากเรือนชะตา
1
นอกจากนี้ท่านสังเกตว่าพระเคราะห์แต่ละดวงจะส่งอิทธิพลต่อการตัดสินใจ​ในเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับ​เรือนเกณฑ์ทั้งสี่ไม่เท่ากัน​ และไม่สามารถใช้ระบบการตามเจ้าเรือนพิจารณาได้
ท่านจึงเชื่อว่าเรื่องราวภพเกณฑ์ทั้งสี่ที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจของเจ้าชะตานั้น​ เป็นเรื่องที่เป็นแก่นหรือหัวใจสำคัญของโหราศาสตร์ไทยสมัยกรุงศรีอยุธยาที่สูญหายไป​
เมื่อมีประสบการณ์ในการอ่านดวงมากเข้า​ ทำให้ท่านนึกถึงนิทานเรื่องเทววาอสุรสงคราม​ ที่เกิดการสู้รบระหว่างเทวดากับอสูรที่มีพระอาทิตย์เป็นประธาน​ฝั่งเทวดา​และมีพระเสาร์เป็นประธานฝั่งอสูร​ โดยพระอาทิตย์ได้ชักนำพระพุธผู้เป็นลูก​ และพระพฤหัสผู้เป็นอาจารย์ของตนเข้ามาร่วมสู้รบด้วย​ ส่วนทางพระเสาร์ก็ได้ชักนำพระราหูเพื่อนของตน​และพระศุกร์อาจารย์ของตนมาร่วมสู้รบด้วย​ ฝั่งพระอังคารนั้นเป็นเพียงเพทยาธรที่โคจรไปทั้งจักรวาลไม่ชอบคบค้าสมาคมกับใคร
1
เมื่อคิดได้ดังนี้​ ท่านก็กำหนดเจ้าเรือนภพเกณฑ์ทั้งสี่ได้​ กล่าวคือ​
อาทิตย์-พุธ​ เป็นเจ้าเรือนเงาภพกัมมะ​ จะใช้พิจารณาเรื่องเกี่ยวข้องกับระดับดวงชะตา​ (ทำงานตำแหน่งเดียวกันที่เดียวกันใครจะก้าวหน้าเร็วกว่า)​ และเรื่องบาปบุญ​ ที่เจ้าชะตาต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับสังคมโดยรวม
1
เสาร์-ราหู​ เป็นเจ้าเรือนเงาภพพันธุ​ จะใช้พิจารณาเรื่องเกี่ยวกับการเนื้อสร้างตัว​ การสะสมสมบัติพัสถานเพื่อความมั่นคงในชีวิต
1
จันทร์-พฤหัสบดี​ เป็นเจ้าเรือนเงาภพปัตนิ​ จะใช้พิจารณาเรื่องเกี่ยวกับ​เวรกรรมที่เจ้าชะตาจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับคนใกล้ชิด​เป็นรายบุคคล
1
ศุกร์​เป็นเจ้าเรือนเงาภพลัคนา​จะใช้พิจารณาเรื่องเกี่ยวกับความรัก​ คนรัก​และคู่ครอง​ ที่เป็นการใช้สิทธิของเจ้าชะตาโดยไม่ขึ้นกับบาปบุญ​ และเวรกรรม​
1
โหราทาส
๑๖ ธันวาคม​ ๒๕๕๓

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา