13 ธ.ค. 2020 เวลา 06:06 • ประวัติศาสตร์
เยอรมนีก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1
หากเป็นผู้ที่สนใจในเรื่องของสงครามโลกครั้งที่ 1 เยอรมนีน่าจะเป็นชาติแรกที่ต้องศึกษาค้นคว้า
2
ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 เยอรมนีคือชาติที่ดิ้นรน ต้องการสร้างชื่อในแผนที่โลก โดยมีพระประมุขคือ “จักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี (Wilhelm II, German Emperor)” ผู้ทรงทะเยอทะยานและต้องการเร่งให้เยอรมนีขึ้นเป็นชาติผู้นำโดยเร็ว
1
เศรษฐกิจของเยอรมนีนั้น นับว่าเติบโตได้รวดเร็วมาก หากแต่มีปัญหาที่ในช่วงแรก ยังถูกปกครองโดยลัทธิทหาร
จักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี (Wilhelm II, German Emperor)
ค.ศ.1914 (พ.ศ.2457) เยอรมนีเป็นชาติที่รวมกันเป็นปึกแผ่นมาได้ไม่นาน ยังไม่ถึงครึ่งศตวรรษ โดยก่อนปีค.ศ.1871 (พ.ศ.2414) เยอรมนียังกระจัดกระจาย เป็นรัฐต่างๆ ที่ใช้ภาษาเยอรมัน และถูกขนาบโดยฝรั่งเศสและรัสเซีย
3
การรวมกันเป็นปึกแผ่นของเยอรมนีนั้น เริ่มจากการเรืองอำนาจของลัทธิชาตินิยมในครึ่งแรกของศตวรรษที่ 19 โดยเหล่าชาตินิยมนั้น จะมีจุดร่วมคือเรื่องของเผ่าพันธุ์ วัฒนธรรม ภาษา รวมทั้งอำนาจ
2
เหล่าชาตินิยมใฝ่ฝันถึงเยอรมนีที่เป็นปึกแผ่น ผู้คนก็ได้รับการปลูกฝังให้รักชาติ รัฐบาลก็มีประสิทธิภาพ เศรษฐกิจก็ก้าวหน้า
1
สำหรับแนวหน้าหรือขุมกำลังของเยอรมนี นั่นก็คือกองทัพบกและกองทัพเรือ ซึ่งเป็นหนึ่งในชาติที่มีกองทัพที่ทรงพลังที่สุดในยุโรป
ทหารเยอรมันในยุคก่อน
การรวมกันเป็นปึกแผ่นของเยอรมนี เริ่มต้นจากความยุ่งยากในครึ่งแรกของศตวรรษที่ 19 และจากการปฏิวัติของชาติหลายแห่งในยุโรปตะวันตก ไม่ว่าจะเป็นปรัสเซียหรือบาวาเรีย ก็ล้วนแต่มีการเคลื่อนไหว เรียกร้องการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ซึ่งหนึ่งในความเปลี่ยนแปลงนั้นก็คือการที่เยอรมนีรวมกันเป็นปึกแผ่น
1
การเคลื่อนไหวของลัทธิชาตินิยมเริ่มจะขยายเป็นวงกว้างตลอดช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ซึ่งยิ่งกระพือจากสื่อมวลชนต่างๆ
ภายหลังจากชัยชนะในสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย (Franco-Prussian War) ในปีค.ศ.1870-1871 (พ.ศ.2413-2414) ซึ่งเป็นความขัดแย้งระหว่างฝรั่งเศสและรัฐเยอรมันภายใต้การนำของปรัสเซีย ก็ได้เกิดการเจรจาขึ้นที่แวร์ซายส์ ประเทศฝรั่งเศส
ผู้แทนฝั่งเยอรมนีคือ “อ็อทโท ฟ็อน บิสมาร์ค (Otto von Bismarck)” รัฐบุรุษแห่งปรัสเซีย ผู้ทำหน้าที่เจรจาและสามารถทำให้เยอรมนีรวมเป็นปึกแผ่นได้สำเร็จ
2
อ็อทโท ฟ็อน บิสมาร์ค (Otto von Bismarck)
ในช่วงแรกที่เยอรมนีรวมกันเป็นปึกแผ่น เกิดเป็น “จักรวรรดิเยอรมัน (German Empire)” ในช่วง 20 ปีแรก จักรวรรดิแห่งใหม่นี้มีผู้นำ คือ “จักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 1 แห่งเยอรมนี (William I, German Emperor)”
จักรวรรดิเกิดใหม่นี้มีรัฐธรรมนูญ โดยเป็นรัฐธรรมนูญที่ผสมผสานระหว่างอำนาจของพระประมุข และสิทธิเสรีนิยม
จักรพรรดิจะมีอำนาจเหนือคณะรัฐมนตรีและการตัดสินใจของรัฐบาล สามารถแต่งตั้งหรือไล่นายกรัฐมนตรีออกจากตำแหน่งได้ รวมทั้งยังสามารถมีส่วนในการตัดสินใจเรื่องของนโยบายต่างประเทศ และเป็นผู้บัญชาการกองทัพ
จักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 1 แห่งเยอรมนี (William I, German Emperor)
แต่ถึงแม้จะมีพระราชอำนาจมาก หากแต่จักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 1 ก็ทรงมอบหมายเรื่องนโยบายต่างๆ ให้บิสมาร์คเป็นผู้จัดการ
บิสมาร์คนั้นเป็นนักการเมืองที่เก่งกาจ เข้าใจในเรื่องของการเมืองยุโรป จึงช่วยให้เยอรมนีผ่านความตึงเครียดต่างๆ มาได้ โดยจุดหมายสำคัญคือให้เยอรมนีได้พักจากเรื่องของสงคราม ให้มีช่วงเวลาที่สงบ
1
เพื่อให้เยอรมนีหลีกเลี่ยงสงคราม บิสมาร์คได้ดำเนินนโยบายต่างประเทศ สร้างความสัมพันธ์ทางการทูตกับมหาอำนาจต่างๆ ในยุโรป สร้างพันธมิตรกับจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี และสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับรัสเซีย ในขณะเดียวกัน ก็พยายามจะอยู่ห่างๆ จากฝรั่งเศส
ในรัชสมัยต่อมา ซึ่งคือยุคของ “จักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี (Wilhelm II, German Emperor)” เป็นช่วงเวลาที่สร้างความปวดหัวให้กับบิสมาร์ค
2
จักรพรรดิพระองค์ใหม่ทรงมีพระอุปนิสัยหุนหันพลันแล่น ทะเยอทะยาน และมีพระราชประสงค์จะขยายดินแดนและอิทธิพลออกไปยังดินแดนต่างๆ
พระราชพิธีบรมราชาภิเษกจักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี (Wilhelm II, German Emperor)
บิสมาร์คนั้นกังวลใจเรื่องความทะเยอทะยานของพระประมุของค์ใหม่ เขาต้องการให้ความสัมพันธ์กับประเทศอื่นๆ เป็นไปด้วยดี ไม่ตึงเครียด หากแต่พระประมุขพระองค์ใหม่อาจจะทรงทำให้ประเทศพบเจอกับความยุ่งยาก
1
ด้วยความที่มีอุดมการณ์ต่างกันนี้เอง ทำให้จักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2 ทรงปลดบิสมาร์คออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ภายหลังจากที่บิสมาร์คลงจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปีค.ศ.1890 (พ.ศ.2433) พระประมุของค์ใหม่ก็ทรงดำเนินนโยบายต่างประเทศด้วยพระองค์เอง โดยมีพระราชประสงค์จะให้เยอรมนีเป็นชาติที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
การดำเนินนโยบายที่เข้มงวด ทะเยอทะยาน ทำให้เกิดความตื่นกลัวเรื่องความขัดแย้งไปทั่วยุโรป ทำให้สถานการณ์ต่างประเทศเริ่มเปลี่ยนไป รัสเซียเริ่มไปจับมือกับฝรั่งเศส ในขณะเดียวกัน เยอรมนีก็เริ่มล่าอาณานิคม เริ่มมีอาณานิคมในแอฟริกา เอเชียตะวันออก และในแปซิฟิก
3
การล่าอาณานิคมของเยอรมนี
ทางด้านเศรษฐกิจ เรียกได้ว่าเศรษฐกิจของเยอรมนีนั้นรุ่งเรืองอย่างมากในช่วงปลายศตวรรษที่ 19
การรวมกันเป็นปึกแผ่นของเยอรมนีทำให้อุตสาหรรมเติบโต รวมทั้งยังมีการสร้างทางรถไฟเพิ่มขึ้น อุตสาหกรรมถ่านหินและเหล็ก รวมทั้งการทำเหมืองก็เติบโตขึ้นตลอดศตวรรษที่ 19
รัฐบาลก็ส่งเสริมอุตสาหกรรม ธนาคารก็เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ภายในปีค.ศ.1900 (พ.ศ.2443) ปริมาณการผลิตเหล็กของเยอรมนีก็แซงหน้าสหราชอาณาจักร และเป็นรองเพียงสหรัฐอเมริกาเท่านั้น และถึงแม้การเพาะปลูกจะยังไม่สามารถเทียบกับอุตสาหกรรมได้ หากแต่ก็มีความมั่นคง มีปริมาณเพียงพอสำหรับความต้องการในประเทศ
3
นี่คือภาพรวมของเยอรมนี ประเทศที่สำคัญที่สุดประเทศหนึ่งในสงครามโลกครั้งที่ 1
โฆษณา