2 ม.ค. 2021 เวลา 05:00 • สิ่งแวดล้อม
#7 The Brain Club : Animal
“ อิรุคันจิ ” แมงกระพรุนจิ๋วแต่มีพิษร้ายที่สุดในโลก
แมงกะพรุนที่พบในโลกมีมากกว่า 30,000 ชนิด โดยแมงกะพรุนอิรุคันจิ ( Irukandji ) ได้ชื่อว่ามีพิษร้ายแรงมากที่สุดจำพวกหนึ่ง
แมงกะพรุนอิรุคันจิ ถูกค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ. 2007 โดยในอดีตสามารถพบได้ทางตอนเหนือของประเทศออสเตรเลีย แต่ปัจจุบันพบได้ในหลายพื้นที่ เช่น รัฐฮาวาย ,รัฐฟลอริดา ,ญี่ปุ่น และไทย
โดยชื่อ "อิรุคันจิ" มีที่มาจากชื่อของชนเผ่าอิรุคันจิ ซึ่งเป็นชนเผ่าพื้นเมืองประเทศออสเตรเลีย ประเทศที่พบมากที่สุดในโลก
• ลักษณะ
- เป็นแมงกะพรุนขนาดเล็ก ตัวมีสีฟ้าอ่อนโปร่งใส
- บริเวณร่ม จะมีพิษซ่อนอยู่
- ตัวมีความยาวไม่เกิน 1 เซนติเมตร
- น้ำหนักไม่เกิน 1 ออนซ์
- มีหนวดยาว 4 หนวด แต่ละเส้นมีเข็มพิษร้ายแรง
ภาพประกอบขนาดของแมงกะพรุนอิรุคันจิและหนวด
• อาการเมื่อโดนพิษ
- เมื่อโดนเข็มพิษที่ร่มและหนวด จะมีอาการที่เรียกว่า "อาการอิรุคันจิ" (Irukandji syndrome) สามารถทำให้คนตายได้
- ทำให้เซลล์ผิวหนังบริเวณที่สัมผัสไหม้อย่างรุนแรง
- เกิดตะคริวที่กล้ามเนื้อบริเวณแขนและขา
- หากพิษเข้าสู่กระแสเลือดจะไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดง มีอาการปวดหัว คลื่นไส้ และปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ และสามารถหยุดเต้นเฉียบพลันได้
- ถ้าพิษเข้าสู่ระบบประสาท จะกดทับระบบประสาททำให้หยุดหายใจ
• วิธีป้องกันพิษ
- ช่วงที่พบได้มากที่สุดคือหน้าฝน พายุฝนจะพัดแมงกระพรุนเข้ามาบนชายหาดจำนวนมาก ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการลงทะเลในช่วงหลังพายุฝนหรือช่วงที่มีแมงกะพรุนชุกชุม
- หากได้รับพิษ ต้องรีบขึ้นจากน้ำทันที หากมีแผลไม่ควรเกาหรือสัมผัส เพราะอาจทำให้เข็มพิษแตกและปล่อยพิษออกมามากขึ้น
- ห้ามเอาน้ำราดบริเวณแผล เพราะจะทำให้พิษกระจายมากขึ้น หากหาน้ำส้มสายชูได้ ให้ราดส่วนที่โดนแมงกระพรุนให้ทั่วอย่างน้อย 30 วินาที
- จากนั้นรีบนำตัวส่งโรงพยาบาล

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา