10 ม.ค. 2021 เวลา 08:10 • ประวัติศาสตร์
หนูดัดแปลงพันธุกรรม “Oncomouse”
หนูที่ดิสรัปวงการวิทยาศาสตร์
ในปีค.ศ.1988 (พ.ศ.2531) ที่สหรัฐอเมริกา ได้มีการมอบสิทธิบัตรให้แก่สัตว์เป็นครั้งแรก โดยผู้ที่ได้คือมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
สัตว์ที่ได้รับสิทธิบัตรนี้เป็นหนูสีขาว ขนฟู ตาสีแดง
ชื่อของมันคือ “Oncomouse”
เจ้าหนูนี้เป็นผลงานของนักวิทยาศาสตร์จากฮาร์วาร์ดสองราย นั่นคือ “Philip Leder” และ “Timothy Stewart” โดยทั้งสองได้ทำการดัดแปลงพันธุกรรมของหนู และมุ่งหวังว่ามันจะสามารถทนต่อเซลล์มะเร็งได้
หากทำสำเร็จ ก็น่าจะเป็นผลดีต่อการศึกษาวิจัยมะเร็ง
ทั้งคู่ได้ฉีดยีนส์มะเร็งเข้าไปยังเอ็มบริโอของหนู ซึ่งการวิจัยนี้ไม่เพียงทำให้หนูทนทานต่อมะเร็ง แต่ยังทำให้ลูกหลานของมันไม่เป็นมะเร็งอีกด้วย และทำให้มีหนูทดลองออกมาอีกจำนวนมาก
ดีเอ็นเอของหนูกว่า 95% มีลักษณะเดียวกับของมนุษย์ ซึ่งหมายความว่าโรคต่างๆ ที่มนุษย์เป็น เช่น อัลไซเมอร์ เบาหวาน โรคหัวใจ หรือมะเร็ง หนูก็สามารถเป็นได้เช่นกัน
บางทีการศึกษานี้อาจจะทำให้ค้นพบแนวทางในการรักษาโรคต่างๆ ได้
หนู Oncomouse ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากบริษัท Dupont ซึ่งเป็นบริษัทเคมีในสหรัฐอเมริกา และสิทธิในหนูนี้ก็อยู่ที่บริษัท Dupont
1
เรื่องนี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์หลายรายเกรงว่าบริษัท Dupont จะหวังกำไรจากหนูนี้ ออกมาตรการต่างๆ ให้การศึกษาหนูนี้เป็นไปได้ลำบาก ซึ่งเรื่องนี้อาจส่งผลกระทบต่อวงการวิทยาศาสตร์และการแพทย์
1
พวกเขาคิดถูก
Dupont คิดราคาค่าตัวหนูนี้ถึง 50 ดอลลาร์ (ประมาณ 1,500 บาท) ซึ่งสูงกว่าราคาที่ศูนย์วิจัยอื่นๆ ตั้ง และหากใครที่ครอบครอง Oncomouse ก็ห้ามแบ่งปันแก่ศูนย์วิจัยอื่นๆ และหากมีการโฆษณา Oncomouse ไม่ว่าจะเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์หรืออะไรก็ตาม ต้องมีการแบ่งส่วนแบ่งรายได้ให้บริษัทด้วย
1
ไม่เพียงแค่นั้น Dupont ยังไปไกลขนาดที่ว่า บริษัทได้พยายามจะเคลมสิทธิในหนูดัดแปลงพันธุกรรมทุกตัวที่ใช้ในการวิจัยโรคมะเร็ง ทั้งหนูดัดแปลงพันธุกรรมที่เคยมีอยู่ก่อนหรือจะมีในอนาคต ก็ต้องตกเป็นของบริษัททั้งหมด
วงการวิทยาศาสตร์ต่างโกรธแค้นและต่อต้าน ต่างพยายามจะเจรจากับ Dupont นักวิทยาศาสตร์หลายรายก็ไม่สนใจคำขู่ของ Dupont
ภายหลัง Dupont ยอมให้นักวิจัยใช้หนู Oncomouse ได้ แต่ห้ามนำงานวิจัยออกไปโฆษณาเผยแพร่
ค.ศ.2005 (พ.ศ.2548) สิทธิบัตร Oncomouse หมดอายุ และบริษัท Dupont ก็ได้พยายามที่จะต่อสิทธิบัตร หากแต่ศาลออกคำสั่งไม่อนุญาต
1
อาจจะนับได้ว่าหนู Oncomouse ได้เปลี่ยนวงการวิทยาศาสตร์ไปตลอดกาล ไม่ใช่เรื่องของผลการวิจัย แต่คือการที่นักวิทยาศาสตร์และสมาคมวิทยาศาสตร์หลายรายเริ่มจะไม่วางใจและไม่ต้องการความช่วยเหลือจากภาคเอกชนนัก โดยอิงจากความหน้าเลือดของ Dupont
“การศึกษา” “เงินทุน” และ “ผลประโยชน์” ล้วนแต่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน
คงเป็นการยากที่จะหาจุดตรงกลางที่จะทำให้ทุกฝ่ายพอใจ และมวลชนได้รับประโยชน์มากที่สุด
โฆษณา