11 ม.ค. 2021 เวลา 12:57 • ประวัติศาสตร์
“คาร์ล แพตเทอร์สัน ชมิดต์ (Karl Patterson Schmidt)” ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์เลื้อยคลานที่จดบันทึกการตายของตนเอง
“คาร์ล แพตเทอร์สัน ชมิดต์ (Karl Patterson Schmidt)” เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์เลื้อยคลานชาวอเมริกันผู้ทุ่มเทให้กับงานมากคนหนึ่ง
เขาได้เดินทางไปอเมริกาใต้เพื่อเก็บตัวอย่างสัตว์เลื้อยคลานมายังพิพิธภัณฑ์ที่ทำงานอยู่
นอกจากนั้น เขายังเป็นประธานสมาคมสัตว์เลื้อยคลานแห่งอเมริกัน และตลอดช่วงชีวิตการทำงานของเขา เขาก็ได้พบเจอกับงูพิษมานักต่อนัก
แต่แล้ววันหนึ่งในปีค.ศ.1957 (พ.ศ.2500) ทางสวนสัตว์ได้ส่งงูบูมสแลง (Boomslang) มาให้เขาเพื่อตรวจสอบ ปรากฎว่าขณะที่ทำการตรวจสอบงูกับผู้ช่วยคนอื่นๆ ชมิดต์ก็ถูกกัดที่นิ้วโป้งข้างซ้าย
งูบูมสแลง (Boomslang)
ในเวลานั้น ผู้เชี่ยวชาญส่วนมากเชื่อว่าพิษของงูบูมสแลงไม่รุนแรงพอที่จะคร่าชีวิตคนได้ ถึงแม้ว่าผลการวิจัยจะกล่าวว่ามันมีพิษร้ายแรงก็ตาม
แทนที่จะรีบไปรักษา ชมิดต์ก็ไม่สนใจ เย็นวันนั้นเขาก็ขึ้นรถไฟกลับบ้านตามปกติ และเริ่มจดบันทึกอาการของตน
1
สาเหตุที่ชมิดต์ไม่ยอมรักษา เพราะเขาอยากจะทดสอบพิษของงูบูมสแลง ต้องการทราบว่ามันมีพิษเพียงใด
ชมิดต์จดบันทึกอย่างละเอียด โดยระบุทั้งเวลา พฤติกรรมของตน ทำอะไรบ้าง และมีอาการยังไงเกิดขึ้นบ้าง
อาการของชมิดต์นั้นแย่ลงเรื่อยๆ และหลังอาหารเที่ยงวันต่อมา ชมิดต์ก็ต้องโทรหาภรรยาให้คนมาช่วย แต่กว่าจะมาถึง ชมิดต์ก็หายใจไม่ออกและไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองแล้ว
ก่อนบ่ายสามของวันที่ 26 กันยายน ค.ศ.1957 (พ.ศ.2500) ชมิดต์ก็มาถึงโรงพยาบาล ก่อนที่แพทย์จะแจ้งว่าเขาเสียชีวิตแล้ว โดยผลการชันสูตรศพระบุว่าเขาเสียชีวิตจากการขาดเลือด
2
ทุกวันนี้ งูบูมสแลงถูกจัดเป็นงูพิษที่อันตรายที่สุดสายพันธุ์หนึ่งในแอฟริกา โดยพิษของมันจะทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตของผู้ที่ถูกกัดขัดข้อง โดยขณะที่ชมิดต์ถึงมือแพทย์ ก็ปรากฎว่าเขามีเลือดออกทั่วร่าง ทั้งตา ปอด ไต หัวใจ
แต่ถึงอย่างนั้น บันทึกของชมิดต์ก็ทำให้ผู้คนเข้าใจถึงพิษร้ายของงูชนิดนี้ โดยชมิดต์ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์เลื้อยคลานคนสำคัญแห่งศตวรรษที่ 20 และมีส่วนในการก่อตั้งมูลนิธิและสมาคมเกี่ยวกับสัตว์เลื้อยคลานเป็นจำนวนมาก
ไม่ว่าจะเป็นงูอะไร ก็ไม่ควรวางใจจริงๆ
โฆษณา