Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Antfield
•
ติดตาม
14 ม.ค. 2021 เวลา 17:50 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
นักดาราศาสตร์ค้นพบดาวเคราะห์คล้ายโลกที่โคจรอยู่รอบดาวฤกษ์ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดดวงหนึ่งในทางช้างเผือก
ซึ่งทำให้เราได้มีความเข้าใจใหม่เกี่ยวกับทฤษฎีก่อกำเนิดดาวเคราะห์
1
ภาพจำลองของดาวเคราะห์ TOI-561b และเพื่อนของมันอีก 2 ดวงในระบบดาว TOI-561
การค้นพบดาวเคราะห์หินลักษณะคล้ายโลกที่โคจรอยู่รอบดาวฤกษ์ดึกดำบรรพ์อายุกว่าหนึ่งหมื่นล้านปีนี้ สร้างความประหลาดใจให้กับเหล่านักวิทยาศาสตร์มากทีเดียว
โดยการค้นพบครั้งนี้เกิดจากความร่วมมือของทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียร์ และทีมนักดาราศาสตร์ประจำหอดูดาว Keck Observatory ที่ฮาวาย
1
TOI-561b ที่เพิ่งถูกค้นพบนี้โคจรอยู่รอบดาวแม่ของมันด้วยระยะที่ใกล้มากจนมีคาบโคจรรอบดาวแม่เพียงแค่ 12 ชั่วโมง (ปีหนึ่งบนดาวเคราะห์ดวงนี้สั้นเพียงครึ่งวันเท่านั้นเอง) การที่มันอยู่ใกล้ดาวแม่มากทำให้อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยนั้นสูงถึง 1,730 องศาเซลเซียส
2
TOI-561b เป็นดาวเคราะห์หินมีขนาด 1.5 เท่าของโลกและมีมวลประมาณ 3 เท่าของโลก แต่ถึงมีมวลมากกว่า 3 เท่าแต่ความหนาแน่นนั้นใกล้เคียงกับโลกซึ่งน้อยกว่าที่นักดาราศาสตร์คาดการณ์ไว้แต่ต้น
1
ส่วนประกอบของกาแล็คซี่ทางช้างเผือกเรา
โดย TOI-561 ดาวแม่ของ TOI-561b นี้อยู่ในบริเวณที่เรียกว่า galactic thick disk ซึ่งเป็นบริเวณที่อยู่ของดาวฤกษ์ดึกดำบรรพ์ที่มีอายุมากกว่า 8,000 ล้านปีขึ้นไป ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ประเมินอายุของ TOI-561 ได้อยู่ที่หนึ่งหมื่นล้านปี
ขออธิบายเพิ่มเติมถึงโครงสร้างของกาแล็คซี่ทางช้างเผือก
กาแล็คซี่ทางช้างเผือกนั้นหากมองจากด้านบนจะเห็นเป็นแผ่นกลมเกลียวหมุนเหมือนพายุใต้ฝุ่น
แต่เมื่อมองจากด้านข้างนั้นเราจะเห็นเป็นเหมือนจานบินที่ป่องตรงกลาง บริเวณตรงกลางที่ป่องนั้นเรียกว่า galactic bulge (สีเหลือง) สอดไส้ด้วย galactic thin disk (สีเทา) ซึ่งมีความหนาประมาณ 700 ปีแสง
ส่วนประกอบของกาแล็คซี่ทางช้างเผือกเมื่อมองจากด้านข้าง
และถัดออกมาจะเป็นส่วนที่เรียกว่า galactic thick disk (สีฟ้า) มีความหนาประมาณ 3,000 ปีแสง
โดยส่วน galactic thin disk จะเป็นส่วนที่อยู่ของดาวฤกษ์อายุน้อยที่เพิ่งเกิดไม่นาน ส่วน galactic bulge กับ galactic thick disk ก็จะเป็นที่อยู่ของดาวฤกษ์ที่มีอายุมาก
อย่างระบบสุริยะของเรานี้ก็อยู่ใน galactic thin disk มีอายุ 4,600 ล้านปี ซึ่งถือว่ามีอายุน้อยเมื่อเทียบกับอายุของกาแล็คซี่ทางช้างเผือกที่มีอายุประมาณ 12,700 ล้านปี
การที่ TOI-561b มีความหนาแน่นต่ำนั้นเป็นเพราะในบริเวณ galactic thick disk ซึ่งมีแต่ดาวอายุมาก จึงทำให้ไม่ค่อยมีธาตุหนักจำพวก ซิลิกอน แมกนีเซียมและเหล็ก
ซึ่งสอดคล้องกับการที่มันกำเนิดขึ้นในระบบดาวที่มีอายุกว่า 10,000 ปีนี้ นั่นทำให้ TOI-561b นั้นเป็นดาวเคราะห์หินที่มีอายุเก่าแก่มากที่สุดเท่าที่เคยค้นพบมา
1
นอกจาก TOI-561b แล้วทีมนักดาราศาสตร์ยังค้นพบ TOI-561c และ TOI-561d ด้วย จึงทำให้ TOI-561 เป็นระบบดาวที่มีดาวเคราะห์อย่างน้อย 3 ดวง
โดย TOI-561c เป็นดาวเคราะห์แก๊สแกนหินขนาดรัศมี 3 เท่าของโลก และมีมวล 7 เท่าของโลก ส่วน TOI-561d มีขนาดรัศมี 2.3 เท่าของโลก
การค้นพบครั้งนี้ทำให้เราได้รู้ว่าดาวเคราะห์หินนั้นสามารถก่อกำเนิดขึ้นได้ในระบบดาวโบราณเมื่อนานมาแล้ว
ไม่แน่ว่าอาจจะมีอารยะธรรมถือกำเนิดขึ้นบนดาวเคราะห์ดึกดำบรรพ์เหล่านี้เมื่อนานมาแล้วก็เป็นได้
Source:
https://iopscience.iop.org/article/10.3847/1538-3881/abd409
https://interestingengineering.com/astronomers-find-super-earth-around-one-of-milky-ways-oldest-stars
9 บันทึก
30
2
7
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Beyond Earth & Space Technology
9
30
2
7
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย