Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ReadD
•
ติดตาม
19 ม.ค. 2021 เวลา 11:05 • หนังสือ
สรุป The Power of Output Part 2
การพูดเพื่อตัวเอง
สวัสดีค่ะนักดองหนังสือทุกคน มีหนังสือมากมายค่ะที่แนะนำวิธีการพูดให้น่าสนใจ พูดให้มีเสน่ห์ ซึ่งในแต่ละเล่มก็จะมีหลักการแตกต่างกันไป
เราอ่านเราทำการพูดเพื่อคนอื่นมาเยอะแล้วค่ะ แต่ในวันนี้จะมานำเสนอการพูดเพื่อตัวเองค่ะ หรือว่าพูดยังไงให้ตัวเราพัฒนา
การพูดเพื่อพัฒนาตัวเองได้ถูกเล่าไว้ใน Part 2 ของ 📚The Power of Output หรือศิลปะของการปล่อยของ อย่างที่เราได้เล่าไปก่อนหน้านี้แล้วนะคะ ว่า Output นั้นสำคัญยังไง แล้วหลักการของมันมีอะไรบ้าง
ในส่วนที่เราจะเล่าในวันนี้จะเป็นเรื่องของส่วนที่สองในหนังสือ ซึ่งเกี่ยวกับการพูดเพื่อพัฒนาตัวเอง
ในหนังสือจะพาเราทะยานไปกับโลกของการพูด ที่เจาะลึกทุกรายละเอียดและการกระทำเลย😱 ไม่ว่าจะเป็นการทักทาย ขอร้อง ขอบคุณ ปฏิเสธ ไปจนถึงการรีวิวเลยทีเดียว
บอกได้เลยว่าเนื้อหาอัดแน่นมาก ตอนเราเขียนสรุปอันนี้นี่พิมพ์กันปวดมือเลยค่ะ ผู้เขียนเค้าใส่มาแบบไม่มีกั๊กไม่มียั้งกันเลย รับรองว่าราคา 420 บาทเนี้ย คุ้มตั้งแต่อ่านส่วนนี้จบแล้วละค่ะ
💡การพูดที่ดีนั่นเราต้องเข้าใจก่อนนะคะว่า การสื่อสารจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การสื่อสารแบบใช้คำพูด และการสื่อสารแบบไม่ใช้คำพูด ซึ่งอย่างที่สองเนี้ยมีความสำคัญอย่างมาก เพราะคนเราจะเชื่อสิ่งที่เห็นมากกว่าสิ่งที่ได้ยินค่ะ
ลองนึกถึงเรื่องง่ายๆใกล้ตัวดูค่ะ เวลาผู้หญิงงอลมักจะพูดว่า ไม่มีอะไร แต่คำว่าไม่มีอะไรก็ไม่ได้ดูเหมือนไม่มีอะไร (งง มั้ยคะ) นั่นเป็นเพราะท่าทางที่ผู้หญิงแสดงออกพร้อมกับคำว่าไม่มีอะไร มันไม่ตรงกันยังไงละคะ นี่แหละค่ะที่เค้าบอกว่าคนเราเชื่อสิ่งที่เห็นมากกว่าสิ่งที่ได้ยิน
เพราะฉะนั้นเวลาเราพูดเราต้องคำนึงถึงท่าทาง แล้วก็การแสดงออกของเราต่อผู้พูดด้วยค่ะ สิ่งที่สำคัญมากๆเลยก็คือการสบตา หรือ Eye contact
การที่เราสบตาผู้ฟังจะทำให้เราสื่อสารอารมณ์ออกไปได้ดีกว่า และยังทำให้ความสัมพันธ์แน่นแฟ้นมากขึ้นด้วยค่ะ ในหนังสือได้ให้เทคนิคการสบตาไว้ด้วย เช่น การมองตรงหว่างคิ้ว หรือหว่างตา จะช่วยให้เราไม่เขิลที่จะสบตาคนฟังค่ะ
👍🏼นอกจากที่เราต้องสนใจถึงท่าทาง การสบตาต่างๆนาๆแล้ว เราก็ยังต้องปรับสมดุลคำพูดของเราด้วย คือเราควรจะพูดในแง่บวกมากกว่าแง่ลบ
ผู้เขียนได้แนะนำไว้ว่า เราจะต้องพูดในแง่บวกให้มากเป็นสามเท่าของแง่ลบค่ะ ซึ่งเรื่องนี้ส่งผลทั้งประสิทธิภาพในการทำงาน และความสัมพันธ์ในชีวิตประจำวันเลย
👍🏼การพูดในแง่ดีหรือแง่บวกมีหลากหลายวิธีค่ะ การชมก็นับเป็นหนึ่งในการพูดในแง่ดีนะคะ และยังถือว่าเป็นทั้ง Output และก็ Feedback ในคราวเดียวกันอีกด้วย ซึ่งการชมที่ถูกต้องเราจะต้องชมไปที่รายละเอียดของการกระทำค่ะ จะส่งผลมากกว่าคำชมกว้างๆทั่วไปๆ
ยกตัวอย่างเช่น เราชมแฟนว่าแต่งตัวสวยจัง ถ้าชมแค่นี้แน่นอนว่าแฟนก็ยิ้มแก้มแตกแล้ว แต่การชมเพื่อการพัฒนาจะต้องชมเน้นย้ำรายละเอียดมากกว่านี้
เช่น วันนี้เธอเลือกเสื้อผ้าได้เข้ากับเธอจัง ใส่สีส้มแล้วดูผิวผ่องมากเลย ดูสวยมากๆ การชมแบบนี้จะทำให้แฟนเรารู้ว่าเธอใส่สีส้มหรือโทนส้มแล้วสวย (แต่ระวังนะคะ เธออาจจะใส่สีส้มทุกวัน 5555)
หลายคนน่าจะมีคำถามในใจว่า อ้าว! แล้วถ้าฉันอยากจะติเตียน อยากจะดุ ฉันพูดไม่ได้หรอหรือจะพูดยังไงดีละ😱 ไม่ต้องห่วงค่ะ ในหนังสือมีคำตอบเช่นกัน (เรื่องนี้ในหนังสือเป็นหัวข้อโปรดของเราเลย เรียกได้ว่าอ่านแล้วยกปากกาจดตามเลยค่ะ)
👍🏼การติผู้อื่น เช่น มาทำงานสายจัง ขี้เกียจตัวเป็นขน หรือเรื่องเยอะ สามารถทำได้โดยการใช้คำพูดที่สร้างความสะเทือนใจน้อยลง
ถ้าหากเราเดินไปพูดกับแฟนไปว่า เธอเรื่องเยอะเรื่องมากวุ่นวายจัง แต่ก็ยังดีนะที่เธอฉลาด แฟนของคุณอาจะโกรธตั้งแต่ได้ยินคำว่าเรื่องเยอะแล้วละ อันนี้ในหนังสือบอกว่าเป็นวิธีที่ผิดนะคะ
วิธีที่ดีก็คือเราจะต้องบอกข้อดี หรือข่าวดีซะก่อน คือการพูดว่า เธอเป็นคนที่ฉลาดมากเลยนะ แต่จะดีกว่านี้ถ้าไม่ค่อยเรื่องมาก วิธีนี้จะทำให้แฟนของคุณโกรธน้อยลงได้
วิธีที่ดีที่สุดที่ในหนังสือแนะนำไว้ก็คือการพูดแบบ Yes How คือการกระตุ้นให้เค้าคิดได้ด้วยตัวเอง เช่น ความจริงเธอก็เป็นคนที่น่ารักอยู่แล้วนะ แล้วมีอะไรที่เธอต้องปรับอีกน้า การที่เจ้าตัวรู้สึกตัวได้เอง เค้าจะยอมรับ และแก้ไขด้วยตัวเอง
👍🏼การดุก็สามารถทำได้เช่นกัน และผู้เขียนยังสนับสนุนอีกด้วย แต่เราจะต้องนึกไว้เสมอว่า เราดุเพราะอยากให้เค้าพัฒนาไม่ใช่ดุเพื่อความสะใจของตัวเอง เพราะฉะนั้นเราจะต้องไม่ใส่อารมณ์ ดุให้เป็นเหตุเป็นผล และชี้ให้เค้าเห็นถึงจุดที่อยากให้ปรับปรุงค่ะ
และอีกอย่างใที่สำคัญแล้วก็จำเป็นมากๆ แต่คนส่วนใหญ่กลับมีปัญหาในเรื่องนี้รวมถึงเราก็ด้วย นั่นก็คือการปฏิเสธนั่นเองค่ะ
ผู้เขียนหนังสือก็น่ารัก เขียนมาแบบรู้ใจ😍 แล้วยังบอกข้อดีของการปฏิเสธแถมมาอีกต่างหาก ในหนังสือแนะนำเราว่าเราควรจะตั้งกฎเกณฑ์ในการบอกปัดมาเลยว่า ถ้าเป็นเรื่องที่ขัดกับเป้าหมายฉันจะไม่ทำ
ยกตัวอย่างเช่น จะต้องไปรับลูกที่โรงเรียน แต่ดันมีคนชวนไปกินข้าวตอนเย็น สถานการณ์แบบนี้เราต้องตัดสินใจว่าเป้าหมายของเราคือไปรับลูกหรืออยากสังสรรค์ ถ้าเป้าหมายคือการไปรับลูก ปฏิเสธการสังสรรค์ก็ไม่ใช่เรื่องผิดค่ะ
👍🏼โดยผู้เขียนก็ยังแนะนำวิธีปฏิเสธมาให้ด้วยนะคะ ว่าเราควรจะเริ่มด้วยการขอโทษหรือขอบคุณ พร้อมบอกบอกเหตุผลและบอกปฏิเสธไป ยิ่งมีตบท้ายด้วยข้อเสนอจะดีมากค่ะ
เช่น ขอบคุณนะที่ชวน แต่เราต้องไปรับลูกคงไปไม่ได้จริงๆ ไว้วันเสาร์เราค่อยไปหาอะไรกินกันมั้ย และที่สำคัญต้องพูดด้วยความชัดเจน ไม่โลเล
💡หลังจากที่เราเล่าถึงการพูดมายืดยาวก็คงถึงตาของการพูดเพื่อใช้ในการเรียนรู้แล้วค่ะ เริ่มจากการรีวิวก่อนเลย การรีวิวนั่นทำได้ง่ายมาก แค่พูดออกไป พูดสิ่งที่เราเจอ สิ่งที่เราพบ อ่านอะไร ดูอะไร กินอะไร เล่าเรื่องราวพวกนี้ให้คนใกล้ตัวฟัง โพสลงในเฟสบุ๊ค ไอจี ได้หมดเลยนะคะ
แล้วยิ่งถ้าเราเล่าแบบออกรสออกชาติ ใส่ความเป็นตัวเอง ความคิดเห็น ความรู้สึกของเราลงไป คนฟังคนอ่านก็ยิ่งสนุก ถ้าคนฟังคนอ่านชอบ ทำไมเราจะไม่เล่าต่อละ การเล่านี่แหละกระตุ้นสมองเราให้จดจำเรื่องราว การเรียนรู้ได้เป็นอย่างดีเลยค่ะ
1
แน่นอนค่ะเนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ยังไม่จบแค่นี้ ผู้เขียนยังบอกอีกว่าอีกอย่างที่กระตุ้นการเรียนรู้ของเราได้ผ่านการพูด คือการตั้งคำถาม👍🏼
ถ้ายังเขิลๆที่จะถามคนอื่น เราลองตั้งคำถามกับตัวเองก่อน โดยตั้งคำถามก่อนที่เราจะฟังบรรยาย หรืออ่านหนังสือ การที่เราตั้งคำถามจะกระตุ้นให้สมองเรารวบรวมข้อมูลและมองหาคำตอบ นั่นก็จะทำให้เรามีสมาธิในการเรียนรู้เพิ่มขึ้นค่ะ
👍🏼อีกเรื่องนึงที่ผู้เขียนแนะนำให้เราทำก็คือการ Discussion หรือการถกเถียง แต่ไม่ใช่สนับสนุนให้เราทะเลาะวิวาทปาข้าวของนะคะ เคยได้ยินมั้ยคะ สองหัวย่อมดีกว่าหัวเดียว
ผู้เขียนสนับสนุนให้เรานำเสนอข้อคิดเห็นของเรา เพราะมันสามารถนำไปสู้การพัฒนาความคิดของเรา แล้วยังสามารถพัฒนาการทำงานไปในทางที่ดีขึ้นได้ด้วย
อย่างไรก็ตามเราต้องระวังอย่าใช้อารมณ์ร่วมในการ discuss โดยเด็ดขาดค่ะ ให้ใช้เหตุและผลบวกกับข้อมูลที่มี จะเป็นผลดีที่สุด
👍🏼นอกจากนี้แล้วการอธิบายก็เป็น Output ได้อีกอันนึงค่ะ ซึ่งการอธิบายเป็นประโยชน์ได้ทั้งกับคนพูดและคนฟังเลย โดยจะเพิ่มความสามารถในการจดจำและความเข้าใจให้กับคนพูด เพราะการอธิบายคือการเปลี่ยน “จำด้วยความหมาย” เป็นการ “จำด้วยภาพ” ซึ่งการจำด้วยภาพจะทำให้เราจำได้ง่ายกว่าและนานกว่าด้วยความหมาย
มาถึงเรื่องที่เราชอบที่สุดของ Part นี้แล้วค่ะ😍 ก็คือการทักทาย ทำความรู้จัก แอบแปลกใจที่ผู้เขียนนับเรื่องนี้เป็น Output ด้วย แต่ไม่เป็นไรเราชอบเราให้ผ่าน
👍🏼การทักทายดูเหมือนไม่น่าจะเป็นเรื่องยากอะไร โดยเฉพาะในเมืองไทย Land of Smile อย่างเรา แต่ก็คงมีหลายคนที่รู้สึกว่า จะทักอะไรพูดอะไรดีนะ
ผู้เขียนได้แนะนำว่า ทักไปก่อนไม่ต้องคิดมาก เพราะการทักเป็นประตูสู่การสื่อสารเลยค่ะ ไม่จำเป็นต้องพูดคุยกันนานๆยาวๆ แต่ให้เน้นจำนวนครั้ง
แค่ทักบ่อยๆความรู้สึกชื่นชอบก็จะเพิ่มขึ้นเอง เช่น เสื้อสวยจัง ที่บ้านฝนตกมั้ย แค่สั้นๆง่ายๆก็พอ แต่ทฤษฎีนี้อาจจะใช้กับคนที่เราชอบไม่ได้ ถ้าทักไปบ่อยๆอาจจะโดนบล็อกได้ แง (ไม่เกี่ยวกันเลยยยยยย)
มาๆกลับเข้าเรื่องค่ะ การทักทายที่ดีต้องยิ้มแย้ม แสดงถึงการมีมนุษสัมพันธ์ที่ดีด้วยนะคะ แล้วถ้าหากมีโอกาสได้พูดคุย
การเปิดเผยเป็นเรื่องสำคัญค่ะ เพราะเป็นการแสดงต่อความจริงใจ ทำให้ความสัมพันธ์แน่นแฟ้นขึ้น แต่ระวังอย่าเปิดเผยมากเกินไปกับคนพึ่งรู้จักกันนะคะ เพราะอาจจะทำให้เค้าตกใจได้ ดังนั้นควรเปิดเผยทีละนิด พอเค้าตอบรับ เราก็ค่อยๆเปิดไปเรื่อยๆแบบนี้จะเป็นผลที่ดีสุดค่ะ
เอาละค่ะ ทั้งหมดนี้ก็คือประเด็นหลักๆ ที่เรารู้สึกว่าสามารถเอาไปประยุกต์ใช้ได้และประโยชน์กับหลายๆคน💡
แต่อย่าคิดนะคะว่าในหนังสือจะหมดแค่นี้ อย่างที่เกริ่นไปหลายรอบว่า หนังสือเล่มนี้ผู้เขียนใส่มาไม่มีกั๊ก ไม่เว้นให้หายใจเลยค่ะ มาทุกเรื่องทุกประเด็น ครบครันมากๆ อ่านจบบทนี้ของหนังสือคือคุ้มแล้วค่ะ โยนทิ้งได้เลย หยอกน้าๆ🤪
เราเชื่อค่ะว่าถ้าใครเปิดอ่านหนังสือเล่มนี้ต้อง ว้าว กับสิ่งทีได้อ่านแน่นอน
ยังไงก็อย่าลืมติดตามตอนต่อไปของหนังสือเล่มนี้น้า รับรองว่าเนื้อหาแน่นไม่แพ้กันเลย ชอบไม่ชอบยังไงก็คอมเม้นกันเข้ามาได้เลยนะคะ 💕
หนังสือ: Power of Output
หมวดหมู่: จิตวิทยาและพัฒนาตนเอง
ผู้เขียน: ชิออน คาบาซาวะ
ผู้แปล: อาคิรา รัตนาภิรัต
สำนักพิมพ์: SandClock Books
3 บันทึก
4
5
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
รีวิว The Power of Output
3
4
5
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย