2 พ.ค. 2021 เวลา 23:55 • นิยาย เรื่องสั้น
ร้านขายขนมของ ไอแซค อสิมอฟ
Blockdit Originals ซีรีส์บทความพิเศษ
ตลอดสามสิบกว่าปีที่ผ่านมา ผมก้มหน้าก้มตาเขียนหนังสือเหมือนคนเสพติดอักษร ทำงานต่อเนื่อง เขียนหนังสือทุกวันไม่มีวันหยุด ไปพักร้อนก็เขียน หายใจเข้าออกเป็นตัวหนังสือและพล็อตเรื่อง และชอบทำงานทีเดียวหลายโครงการ
4
บางทีก็คิดว่าตนเองเป็นมนุษย์ประหลาดอยู่คนเดียว จนกระทั่งมีโอกาสอ่านอัตชีวประวัติของยอดนักเขียน ไอแซค อสิมอฟ และพบว่า เขาดำเนินชีวิตแบบนี้มานานหลายสิบปีก่อนหน้าผม
ไอแซค อสิมอฟ เขียนอัตชีวประวัติไว้หลายเล่ม และให้สัมภาษณ์เรื่องชีวิตนักเขียนของเขาหลายครั้ง อ่านดูแล้วก็รู้สึกเชื่อมกันได้ เป็นนักเขียนที่มีทัศนคติและปรัชญาการทำงานที่ตรงจริตผมที่สุด
กว่าจะเป็น ไอแซค อสิมอฟ ที่โลกรู้จัก เขาทำงาน ทำงาน ทำงาน และทำงาน ไม่เคยหยุด
3
เรียกมันว่า ประสบการณ์ร้านขายขนม
1
เขาตื่นตั้งแต่หกโมงเช้า แล้วเริ่มพิมพ์งานตอนเจ็ดโมงครึ่ง พิมพ์งานไปเรื่อย ๆ ทั้งวัน หยุดพักนิดหน่อย แล้วพิมพ์ต่อไปจนถึงสี่ทุ่ม
เขาบอกว่าเขาเป็น compulsive writerž (พวกบ้าเขียน)
1
ตระกูลของอสิมอฟอพยพมาจากรัสเซีย เปิดร้านขายขนมที่บรูคลิน พ่อของเขาทำงานตั้งแต่หกโมงเช้าถึงตีหนึ่ง ทุกวันไม่มีวันหยุด พ่อก็สั่งให้เขาตื่นในเวลาเดียวกันด้วย เพื่อไปส่งหนังสือพิมพ์ ให้ลูกค้าก่อนไปโรงเรียน การตื่นเช้ากลายเป็นนิสัยตลอดชีวิตของเขา
หลังเลิกเรียนตอนบ่าย เขาก็กลับมาช่วยงานบ้านในร้าน ถ้าเขาไม่ตรงเวลา พ่อจะตะโกนว่าเขาเป็นพวก folyackž (ภาษายิดดิชแปลว่าตัวขี้เกียจ)
3
เขาเขียนในหนังสืออัตชีวประวัติเล่มหนึ่งว่า ผมตื่นตีห้า ทำงานเช้าที่สุดที่ทำได้ ผมทำงานนานที่สุดเท่าที่ทำได้ ผมทำอย่างนี้ทุกวันในสัปดาห์ รวมทั้งวันหยุด ผมไม่พักร้อนโดยไม่ถูกบังคับ และผมพยายามทำงานของผมแม้เมื่อไปพักร้อน (และแม้เมื่อผมอยู่ในโรงพยาบาล)Ž
1
ไอแซค อสิมอฟ บอกว่า มันเป็นความภาคภูมิใจอย่างหนึ่งของผมที่แม้ผมจะมีนาฬิกาปลุก ผมไม่เคยใช้มัน แต่ตื่นเวลาหกโมงเช้าได้ ผมยังแสดงให้พ่อผมเห็นว่าผมไม่ใช่ folyackŽ
เขาบอกว่า จนถึงเวลาเมื่อเขามีชื่อเสียงแล้ว เขาก็ยังคงอยู่ในร้านขายขนม
 
เขาว่า แน่ละ เขาไม่ต้องรอลูกค้าเหมือนก่อน ไม่ได้ถูกบังคับให้สุภาพต่อลูกค้าทุกคนที่เข้ามาในร้าน ตรงกันข้าม ทำทุกอย่างที่เขาอยากทำ แต่ตารางเวลาอยู่ที่นั่น ตารางที่ฝังในตัวผม ตารางที่คุณก็คงไม่เชื่อว่าผมไม่ต่อต้านเมื่อผมมีโอกาสŽ
การทำงานอย่างเป็นระบบและมีระเบียบฝังรากลึกในตัวเขา
วลี ไม่มีเวลาž และ ไม่ว่างž ไม่อยู่ในพจนานุกรมชีวิตของเขา
2
ผมไม่เขียนหนังสือเฉพาะตอนที่ผมเขียน ทุกครั้งที่ผมอยู่ห่างจากเครื่องพิมพ์ดีด กิน นอน ชำระกาย สมองผมยังทำงานอยู่ตลอด นั่นคือเหตุผลที่ทำให้ผมพร้อมจะเขียนทุกเมื่อ พูดอีกอย่างหนึ่งคือทุกสิ่งทุกอย่างถูกเขียนมาแล้ว ผมแค่นั่งลงและพิมพ์มันออกมาŽ
2
เขาบอกว่านักเขียนต้องมีความมั่นใจในระดับหนึ่ง ต้องไม่ตั้งข้อสงสัยต่องานที่เขียนตลอดเวลา ต้องรักงานที่เขียน ต้องสนุกกับงานที่เขียน
ไอแซค อสิมอฟ
เขาบอกว่าถ้าเขาไม่สนุกกับงานที่เขียนอย่างมาก เขาจะเขียนหนังสือออกมามากมายขนาดนี้ได้อย่างไร
อสิมอฟไม่ใช่นักเขียนที่ทำงานแบบ perfectionism เขาปลดปล่อยความคิดออกไปทันใด เขามองภาพรวมของคอนเส็ปต์ แล้วเขียน และสนุกกับการเขียน
เขาเขียนงานหลากหลายมาก ทั้งนิยายและสารคดี
ช่วงปี 1939-1958 เขาสอนหนังสือเป็นงานประจำ ตำแหน่งศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยบอสตัน วิชา biochemistry เขาเขียนนวนิยายไป 28 เรื่อง และเรื่องสั้นอีกจำนวนมาก
เป็นนักเขียนไซด์ไลน์ที่เขียนจริงจังกว่านักเขียนอาชีพ
ครั้นผันตัวมาเป็นนักเขียนอาชีพ ก็เขียน ๆ ๆ ๆ ๆ ผลิตงานออกมาเหมือนโรงงานอุตสาหกรรม
ประเมินว่าตลอดชีวิต อสิมอฟเขียนหนังสือราว 500 เล่ม ไม่รวมงานอื่น ๆ ที่กระจายไปตามที่ต่าง ๆ และไม่ได้รวมเล่ม งานที่เขาเป็นบรรณาธิการ
เขาเขียนงานเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เคมี ฯลฯ เป็นคนต้นคิดคำว่า robotics (หุ่นยนต์ศาสตร์)
เขายังเขียนเรื่องศาสนา เช่น Guide to the Bible เรื่องเกี่ยวกับอารยธรรมกรีก โรมัน อียิปต์ ฯลฯ งานเกี่ยวกับเชคสเปียรส์
1
เขาเขียนคอลัมน์ลงในนิตยสาร Magazine of Fantasy and Science Fiction นานถึง 33 ปี (1958 - 1991) เขียนจดหมายมากกว่าเก้าหมื่นฉบับ บทความอีกหลายพันชิ้น เขาเขียนแม้แต่เรื่องขำขัน
4
การผลิตงานราวกับโรงงานอุตสาหกรรมขนาดนี้ นักเขียนต้องสนุกกับงานเขียนระดับเสพติด
1
เหตุที่เขาเขียนมากมายขนาดนี้ก็เพราะมันเป็นความสุขใหญ่หลวง จน... ภาษานิยายจีนกำลังภายในคือ มิอาจไม่เขียนŽ
1
เขาเขียนมากจนสำนักพิมพ์แห่งหนึ่งปรามเขา
เขาเล่าว่า "มื้อเที่ยงแย่ ๆ หนึ่งในน้อยครั้งของผม คือกินข้าวเที่ยงกับบรรณาธิการ Austin Olney ในวันที่ 7 กรกฎาคม 1959 ผมเปรยเล่นกับเขาว่าผมกำลังเขียนหนังสือหลายเล่ม และเขาก็แนะนำผมว่าอย่าเขียนมากเกินไป เขาว่าหนังสือของผมจะแข่งกันเอง และรบกวนยอดขายกันและกัน และถ้ามีมากเล่ม ก็จะทำเงินต่อเล่มได้น้อยลง...
4
"สิ่งหนึ่งที่ผมเรียนมาจากชั่วโมงวิชาเศรษฐศาสตร์ตอนชั้นมัธยมก็คือ กฎ Law of Diminishing Returns นั่นคือทำงานหนักขึ้นสิบเท่าหรือลงทุนมากขึ้นสิบเท่า หรือสร้างผลผลิตมากขึ้นสิบเท่า ไม่ได้ให้ผลตอบแทนสิบเท่า หลังอาหารมื้อนั้นผมรู้สึกค่อนข้างหม่นหมอง และครุ่นคิดอีกนานหลังจากนั้น สิ่งที่ผมตัดสินใจได้คือ ผมไม่ได้เขียนหนังสือมากขึ้นสิบเท่าเพื่อหาเงินมากขึ้นสิบเท่า แต่เพื่อมีความสุขมากขึ้นสิบเท่าต่างหาก"
15
อสิมอฟเป็นพญาอินทรีที่บินเดี่ยวตลอดชีวิต
เขาเขียนเล่าว่า "ผมไม่เคยพบความสงบสุขที่แท้จริงจนเมื่อผมเปลี่ยนชีวิตการทำงานทั้งชีวิตเป็นายจ้างของตัวเอง ผมไม่เหมาะกับการเป็นลูกจ้าง แต่จะว่าไปแล้ว ผมก็สงสัยจริง ๆ ว่าผมไม่เหมาะกับการเป็นนายจ้างเช่นกัน อย่างน้อยผมก็ไม่เคยมีความต้องการเลขานุการหรือคนช่วยเหลือใด ๆ สัญชาตญาณของผมบอกผมว่าการเชื่อมติดต่องานจะทำให้ผมทำงานช้าลง ทำงานคนเดียวดีกว่า"
3
และเขาก็เลือกเส้นทางทำงานคนเดียวตลอดชีวิตของเขา
กระบวนการหนึ่งที่อสิมอฟทำให้งานไหลออกมาต่อเนื่องก็คือทำงานทีเดียวมากกว่าหนึ่งโครงการ ถ้าไอเดียอุดตันหรือเบื่อหน่ายโครงการหนึ่ง ก็สวิตช์ไปอีกโครงการหนึ่ง มันให้เขาไม่ต้องหยุดงานแล้ววิตกและงานล่าช้า
2
เขาเชื่อว่าคนเราต้องไม่หยุดเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ กระหายความรู้ตลอดเวลา มันเป็นทัศนคติที่นักเขียนควรฝังในหัวตลอดชีวิต
นักเขียนต้องเป็นนักเรียนด้วย เพราะคลังข้อมูลมีวันหมด และสิ่งที่รู้ก็มีวันหมดอายุ
2
ในหนังสือ Yours, Isaac Asimov: A Life in Letters เขาเขียนว่า "การเรียนคือการขยายกว้าง หาประสบการณ์เพื่อไขว่คว้าสิ่งใหม่ ๆ ในชีวิตด้วยตนเอง การปฏิเสธที่จะเรียนหรือไม่ต้องเรียนอีกแล้วเป็นรูปหนึ่งของการฆ่าตัวตาย ในระยะยาว มันแย่กว่าฆ่าตัวตายทางกายจริง ๆ ความรู้มิใช่เพียงเป็นอำนาจ มันเป็นความสุข และการถูกสอนเป็นการถูกรักอย่างมีปัญญา"
3
เขาเขียนในหนังสือ It's Been a Good Life ว่า "ผมไม่สามารถเขียนหนังสือหลากหลายมากมายโดยใช้ความรู้ที่ผมได้รับจากโรงเรียนอย่างเดียว ผมต้องตั้งโปรแกรมเรียนเอง..."
3
อสิมอฟกล้าเขียนงานในพื้นที่ที่เขาไม่เชี่ยวชาญ หรือนอกสายถนัดของเขา มันทำให้เขาต้องศึกษาเพิ่ม ต้องอ่านหนังสือมากมายมหาศาล แต่มันก็พาเข้าไปสู่พื้นที่ใหม่ ๆ
เขาบอกว่าเขาเป็น "มนุษย์จับฉ่าย" โดยส่งเสริมให้ตนเองสนใจทุกเรื่อง
3
สิ่งหนึ่งเปิดโลกไปสู่อีกสิ่งหนึ่ง เขาสนใจแทบทุกเรื่อง อ่านทุกอย่างที่ขวางหน้า
มีคนสัมภาษณ์อสิมอฟในปี 1988 ว่า "คุณเหลือเวลาสำหรับเรื่องอื่น ๆ ไหมนอกจากเขียนหนังสือ?"
อสิมอฟตอบว่า "ผมทำแต่เขียนหนังสือ ผมไม่ทำอะไรอย่างอื่นเลยยกเว้นกิน นอน และพูดกับเมีย"
5
เขาว่าเขาทำงานทั้งวัน ไม่ไปไหน และมีปฏิสัมพันธ์กับภรรยาเท่าที่จำเป็น หมายถึงถ้าภรรยาชวนคุย ก็คุย แต่อยู่ดี ๆ จะไม่ไปคุยด้วย เสียเวลาทำงาน
8
เขาเป็นมนุษย์บ้างาน บ้าเรียน กล้าเข้าไปสู่พื้นที่ใหม่ ๆ ดังนั้นเขาจึงเป็น ไอแซค อสิมอฟ ที่โลกรู้จักในวันนี้
3
คนบางคนจมอยู่ใน "ร้านขายขนม" ตลอดชีวิต เพราะมันเป็นพื้นที่ส่วนตัวที่บรรจุเต็มด้วยความฝัน
2
และมีอะไรสนุกและสุขไปกว่าการอยู่ในร้านที่เต็มไปด้วยขนมแห่งความฝัน?
5

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา