27 ม.ค. 2021 เวลา 14:22 • หนังสือ
การใจลอยช่วยให้สมองทำงาน จริงไหม?
เคยเป็นกันไหมครับ ใจลอยทั้งวัน นั่งคิดอะไรเรื่อยเปื่อยอยู่คนเดียว จนแทบไม่ได้ทำอะไรเลยทั้งวัน ผมคนนึงที่คิดว่าการเหม่อลอยนั้นเป็นเรื่องที่เสียเวลา แทนที่จะมีสมาธิกับงานตรงหน้า กลับใช้เวลาคิดถึงเรื่องอื่นอยู่ตลอด แต่จริงๆแล้วเวลาที่เราเหม่อลอยอยู่ ถือเป็นช่วงเวลาสำคัญที่จำเป็นต่อการสร้าง output ที่มีคุณภาพ
ปัจจุบันจากการวิจัยทางประสาทวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบถึงความสำคัญของการ เหม่อลอย เวลาที่เรานั่งเหม่อ หรือ ใจลอย โดยไม่ได้ทำอะไรเป็นพิเศษ Default mode network ในสมองตะทำงานอย่างแข็งขัน
.
อะไรคือ Default mode network ? สิ่งนี้เปรียบเสมือนการสแตนด์บายของสมอง ซึ่งคือการที่สมองคิดถึงความทรงจำคือภาพเหตุการณ์ต่างๆนานา เช่น คิดภาพว่าจากนี้ไปจะเกิดอะไรขึ้นกับตัวเองบ้าง เรียบเรียงและจัดหมวดหมู่ประสบการณ์หรือความทรงจำในอดีตของตัวเอง วิเคราะห์สถานการณ์ที่ตัวเองกำลังเผชิญอยู่ เป็นต้น ถือเป็นการ เตรียมการเพื่อพัฒนาตนเองจากนี้ไปให้ดีขึ้น มีหลายครั้งที่ผมจำลองสถานการณ์ในสมองทั้งที่ยังไม่เกิด และเกิดขึ้นแล้ว ที่ยังไม่เกิดคือความกังวลว่า ถ้าเราเจอสถานการณ์เช่นนี้ เราจะทำอย่างไรต่อไป ส่วนสถานการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วก็คิดว่าถ้าเจอแบบนี้อีกครั้ง ต่อไปเราจะตัดสินใจอย่างไรให้ดีขึ้น
.
จากการวิจัยที่มหาวิทยาลัยวอชิงตันพบว่าขณะใจลอยถึงขั้นทำให้ Default mode network ทำงานนั้น มองจะใช้พลังงานมากกว่าเวลาปกติถึง 15 เท่า จึงสรุปได้ว่าเวลาที่เราเหม่อลอยนั้น มีความสำคัญยิ่งกว่าเวลาที่สมองทำงานเสียอีก
คนส่วนมากคิดว่าการเหม่อลอย เป็นการใช้เวลาโดยเปล่าประโยชน์ จึงมักใช้เวลาว่างส่วนใหญ่ไปกับสมาร์ทโฟน เกม หรือ โทรทัศน์ แต่การใช้สมองหนักๆโดยไม่พักเลย อาจทำให้สมองเหนื่อยล้า และส่งผลเสียต่อ Default mode network ซึ่งอาจเป็นเหตุให้สมองหยุดทำงานได้
สุดท้ายนี้หากทุกคนรู้สึกเหนื่อยล้ากับการคิดวานหนักทั้งวัน ลองหันมาใช้เวลาพักผ่อนไปกับการเดินเล่น วิ่ง อาบน้ำ หรือนั่งพักผ่อนดูครับ สมองเราอาจจำลองสถานการณ์ที่ติดค้างอยู่ในใจเรา และส่งผลให้เราแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ได้อย่างง่ายดาย ดีกว่าการติดแหงกอยู่กับงานตรงหน้าที่คิดเท่าไรก็ไม่ออก และอาจส่งผลให้เราเกิดความเครียดและหงุดหงิดโดยใช่เหตุอีกด้วย

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา