20 มิ.ย. 2021 เวลา 23:55 • นิยาย เรื่องสั้น
ทางสายมรณะที่ต้องเดิน
Blockdit Originals ซีรีส์บทความพิเศษ
2
วันที่ 26 เมษายน ค.ศ. 1986 เจ้าหน้าที่สถานีพลังงานนิวเคลียร์เชอร์โนบิลทำการทดสอบเตาปฏิกรณ์ปรมาณูแบบ RBMK เตาหนึ่ง เพื่อวัดค่าการหมุนของใบพัดและการส่งพลังงานไปยังปั๊มหลัก
การทดสอบครั้งนี้เคยทำมาในปีก่อน แต่ยังไม่สำเร็จ จึงต้องทดสอบอีก
อย่างไรก็ตาม มันกลายเป็นการทดสอบครั้งสุดท้าย เพราะเกิดความผิดพลาดซึ่งลงเอยด้วยเตาปฏิกรณ์ปรมาณูพัง
2
การทดสอบครั้งนี้ทำให้ห้องเก็บเชื้อเพลิงแตกรั่ว แรงดันไอน้ำมหาศาลพุ่งกระจายไปทั่วแกน ทำให้เกิดระเบิดไอน้ำ
1
ผ่านไปสองสามวินาที ก็เกิดระเบิดครั้งที่สอง ชิ้นส่วนจากห้องเก็บเชื้อเพลิงและกราไฟต์ร้อนกระจายไปทั่ว พลันเกิดการแผ่พลังงานมหาศาล ส่งผลให้แกนเตาปฏิกรณ์ปรมาณูแตก เกิดระเบิด ตามมาด้วยเปลวเพลิง ปลดปล่อยเศษซากวัตถุที่ผ่านกระบวนการฟิชชันขึ้นไปสู่ชั้นบรรยากาศ
1
เตาปฏิกรณ์ปรมาณูพังหมายถึงจะเกิดการแผ่รังสีไปทั่วพื้นที่นั้น และในเวลาต่อมา กระแสลมก็พัดพารังสีเหล่านี้ไปทั่วบางพื้นที่ของโซเวียตและยุโรปตะวันตก
3
จนถึงวันนั้น มันเป็นอุบัติเหตุนิวเคลียร์ครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์โลก
1
เชอร์โนบิล
โรงงานพลังงานนิวเคลียร์เชอร์โนบิลตั้งอยู่ใกล้เมืองพริพยัต ตอนเหนือของยูเครน
ชาวเมืองส่วนใหญ่กำลังนอนหลับเมื่อเกิดระเบิด
2
ฝ่ายรัฐบาล นักวิทยาศาสตร์ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องประชุมด่วน เริ่มที่ประเมินความเสียหาย
นักวิทยาศาสตร์ชี้ว่า "ปัญหาคือห้องที่มีคาร์บอนกัมมันตรังสีอาจจะละลายทะลุพื้นลงไปในอ่างเก็บน้ำชั้นล่าง ถ้านี่เกิดขึ้นเมื่อไร อาจทำให้เกิดระเบิดไอน้ำ เป็นไอน้ำที่ปนเปื้อนรังสี ไอระเบิดไม่เพียงจะทำลายโรงงานนิวเคลียร์และเตาปฏิกรณ์ที่เหลือ ยังจะทำให้วัตถุปนเปื้อนรังสีทั้งหลายขึ้นฟ้า ส่งรังสีฟุ้งกระจายไปทั่วโลก"
"เรากำลังพูดถึงความร้ายแรงระดับไหน?"
"เข้มข้นกว่าระเบิดที่ฮิโรชิมาสี่ร้อยเท่า จะเกิดวิบัติภัยนิวเคลียร์ครั้งมโหฬาร กระทบต่อชีวิตมนุษย์หลายล้านคนหรือหลายสิบล้านคน"
1
นักวิทยาศาสตร์อธิบายว่า "กราไฟต์ที่ถูกเผาช้า ๆ เชื้อเพลิง และวัสดุต่าง ๆ มีความร้อนสูงกว่า 1,200 องศาเซลเซียส มันเริ่มเผาผ่านชั้นเตาปฏิกรณ์ ผสมกับคอนกรีตของเตาปฏิกรณ์ที่หลอมละลายด้วยความร้อนสูง จะทำให้เกิดคอเรียม ซึ่งเป็นลาวาเหลวปนเปื้อนรังสี เมื่อไรที่ส่วนผสมนี้ละลายทะลุลงไปในน้ำ มันอาจเกิดระเบิดไอน้ำ ซึ่งจะพ่นวัตถุชิ้นส่วนปนเปื้อนกัมมันตรังสีออกไป ดังนั้นจึงต้องปลดปล่อยน้ำออกไปเร็วที่สุด"
6
สถานีพลังงานนิวเคลียร์เชอร์โนบิลหลังเกิดอุบัติเหตุ
"แก้ไขยังไงได้บ้าง?"
"เพื่อป้องกันการระเบิดของไอน้ำ ก็ต้องปล่อยน้ำใต้เตาปฏิกรณ์ฯออก"
1
"จำนวนเท่าไร?"
"20 ล้านลิตร"
1
"ทำยังไง?"
"เราต้องส่งคนเข้าไปเปิดประตูน้ำ ปล่อยน้ำออก โดยเปิดวาล์วด้วยมือ และที่หนักขึ้นไปอีกคือตอนนี้ชั้นใต้ดินถูกน้ำท่วมหมด และวาล์วอยู่ใต้น้ำที่ปนเปื้อนรังสี"
1
"การไปทำงานนี้มีความเสี่ยงสูงมาก เพราะรังสีที่แผ่ไปทั่วบริเวณ รวมทั้งน้ำที่ปนเปื้อนรังสี นี่หมายความว่าใครก็ตามที่เข้าไปอาจจะตาย"
2
"แต่ถ้าไม่ทำ คนหลายสิบล้านคนอาจจะตายเพราะรังสี"
เบื้องบนตัดสินใจส่งคนเข้าไปเปิดวาล์วน้ำ ได้แก่เจ้าหน้าที่สามคนที่อยู่เวรในวันนั้น สองคนเป็นวิศวกร คือ วาเลอรี เบสพาลอฟ กับ อเล็กไซ อนาเนนโก
1
ส่วน บอริส บารานอฟ หัวหน้าคนงานอาสาไปด้วย
"คุณทั้งสามรู้ที่ตั้งวาล์วตัวนั้น?"
วิศวกรตอบ "รู้ครับ"
เจ้าหน้าที่ทั้งสามก็รู้ว่ามันเป็นปฏิบัติการฆ่าตัวตาย
มันคือการ "แหย่หางมังกรหลับ"
1
พลังงานปรมาณูถูกใช้ครั้งแรกไม่ใช่ในรูปพลังงานเพื่อสันติ แต่คืออาวุธในสงครามโลกครั้งที่สอง ทว่าความตายจากพิษปรมาณูเกิดขึ้นครั้งแรกไม่ใช่คนญี่ปุ่นที่ฮิโรชิมา ชาวอเมริกันตายด้วยพิษปรมาณูมาก่อนแล้ว
เหยื่อปรมาณูคนแรกเป็นนักฟิสิกส์อเมริกันในโครงการแมนฮัตตันที่ ลอส อลามอส ชื่อ แฮร์รี ดาห์เลียน
2
เวลานั้นสหรัฐฯคิดหาทุกวิถีทางเอาชนะสงคราม ระดมนักวิทยาศาสตร์ชั้นยอดทั้งประเทศมาสร้างระเบิดปรมาณูลูกแรกของโลก เรียกว่า โครงการแมนฮัตตัน ที่ ลอส อลามอส รัฐนิว เม็กซิโก หัวหน้าโครงการคือ รอเบิร์ต ออพเพนไฮเมอร์
1
ในโครงการนี้ นักฟิสิกส์ทำงานทดลองกับใจกลางยูเรเนียมและพลูโทเนียม ซึ่งเป็นงานเสี่ยงอันตรายมาก นักฟิสิกส์รางวัลโนเบล ริชาร์ด ฟายน์แมน เปรียบงานนี้ว่า 'แหย่หางมังกรหลับ'
3
แฮร์รีเกิดอุบัติเหตุได้รับรังสีจากการทดลองในวันที่ 21 สิงหาคม 1945 เขาตายยี่สิบห้าวันหลังจากนั้น
2
ไม่ถึงปีหลังจากแฮร์รีตาย หลุยส์ สโลทิน นักฟิสิกส์และนักเคมีชาวแคนาดา เพื่อนร่วมงานของแฮร์รีก็เกิดอุบัติเหตุอีกครั้ง ณ จุดเดิม
หลุยส์แยกลูกครึ่งวงกลมทั้งสองออก ใช้มือซ้ายจับลูกครึ่งทรงกลมธาตุแบรีเลียมขนาดเก้านิ้ว ขณะที่มือขวาจับไขควง เขาวางลูกกลมครึ่งซีกอันบนลงในตำแหน่ง ขอบหนึ่งแตะลูกกลมครึ่งซีกอันล่าง ปกติลูกกลมครึ่งซีกทั้งสองถูกขวางกั้นด้วยแผ่นกั้น แต่เมื่อเห็นว่าช่องไม่กว้างพอที่จะทำให้เกิดการเพิ่มนิวตรอน เขาจึงย้ายแผ่นกั้นนั้นออก แล้วใช้ปลายไขควงคั่น
1
ทันใดนั้นไขควงลื่นไถลออก ทำให้นิวตรอนถูกปลดปล่อยกะทันหัน ปฏิกิริยาฟิชชันเพิ่มอย่างรวดเร็ว หลุยส์ได้รับรังสีนิวตรอนเข้าไปเต็ม ๆ เขาถูกพาไปโรงพยาบาล เก้าวันต่อมาก็เสียชีวิต
1
แฮร์รี ดาห์เลียน | หลุยส์ สโลทิน
เนื่องจากทำให้นักฟิสิกส์ตายไปสองคน ใจกลางนี้จึงถูกเรียกว่า Demon Core (ใจกลางปิศาจ)
ทุกจุดเกี่ยวกับพลังงานนิวเคลียร์คืออันตราย มันเป็นดาบสองคม
ผ่านไปสี่สิบปี เจ้าหน้าที่เชอร์โนบิลสามคนกำลังจะเข้าหา ใจกลางปิศาจ เพื่อ แหย่หางมังกรหลับ
2
การระเบิดของเตาปฏิกรณ์ปรมาณูทำให้เจ้าหน้าที่เสียชีวิตทันทีสองคนเพราะได้รับรังสีเข้าไปเต็ม ๆ บาดเจ็บ 134 คน ในเวลาต่อมา คนจำนวนหนึ่งเป็นมะเร็ง
หลังจากเตาปฏิกรณ์ปรมาณูระเบิด ซากก้อนกราไฟท์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างเตาปฏิกรณ์ปรมาณู แตกกระจายไปทั่วบริเวณ พนักงานดับเพลิงกลุ่มหนึ่งจึงเก็บก้อนเหล่านั้นด้วยมือเปล่า พวกเขาตายภายในไม่กี่สัปดาห์ เพราะมันปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีเข้มข้น
2
ทางการกันพื้นที่รัศมีสิบกิโลเมตรปลอดคน แล้วอพยพคนเกือบห้าหมื่นคนออกจากพื้นที่ แล้วต่อมาขยายรัศมีปลอดคนเป็นสามสิบกิโลเมตร และอพยพคนเพิ่มขึ้นอีกเกือบเจ็ดหมื่นคน
1
การทำความสะอาดพื้นที่เป็นงานยิ่งใหญ่มหาศาล และเสี่ยงภัยสูงสุด
2
ถัดลงไปสองชั้นล่างสุดใต้เตาปฏิกรณ์ฯ เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่สำหรับปั๊มหล่อเย็นในกรณีฉุกเฉิน ช่วยลดแรงดันลงได้ ในกรณีที่ท่อไอน้ำแตก
ส่วนชั้นที่สามที่อยู่ใต้เตาปฏิกรณ์ ทำหน้าที่เป็นอุโมงค์ไอน้ำ ไอน้ำที่ปลดปล่อยมาจากท่อที่แตกควรจะเข้าไปในอุโมงค์ไอน้ำ แล้วส่งต่อไปยังอ่างเก็บน้ำ
1
หลังระเบิด อ่างเก็บน้ำและชั้นใต้ดินจมในน้ำหมด เพราะท่อหล่อเย็นแตก ทุกคนรู้ดีว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดไอน้ำระเบิดเมื่อใดก็ได้
ทุกนาทีมีค่า ความพินาศมาหาได้ทุกเมื่อ
เจ้าหน้าที่ทั้งสามสวมชุดกันน้ำและหน้ากาก เพื่อป้องกันการสัมผัสรังสีในน้ำและในอากาศ ทุกคนพกเครื่องวัดรังสีติดตัวไปด้วย
ระเบิดไอน้ำที่เชอร์โนบิล
ทั้งสามท่องน้ำเข้าไปในชั้นใต้ดิน ก่อนหน้านั้นนักดับเพลิงพยายามใช้ท่อพิเศษสูบน้ำออกจากชั้นใต้ดินหลายครั้งแล้ว แต่ยังเหลือน้ำท่วมขังอยู่สูงถึงหัวเข่า
ทั้งสามเดินลุยน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสี ฝ่าความมืดเข้าไป มีเพียงแสงสว่างจากไฟที่ฉายกวาดไปมา
สองวิศวกรกับหนึ่งหัวหน้างานเดินฝ่าความมืดสนิทเข้าไป ขณะที่แกนกลางเตาปฏิกรณ์ฯที่หลอมละลายช้า ๆ ใกล้ชิดความตาย
พวกเขาพบว่าชั้นใต้ดินเต็มไปด้วยท่อและวาล์ว การหาวาล์วเป้าหมายในความมืดโดยใช้เพียงไฟฉายทำได้ยากเย็น ทั้งสามไม่แน่ใจว่าจะหาพบหรือไม่
1
แต่ในที่สุด ในความมืดและความกดดันบนสองไหล่ ทั้งสามก็หาวาล์วนั้นพบ
1
เมื่อทั้งสามเปิดวาล์วแล้ว นักดับเพลิงก็ใช้ปั๊มดูดน้ำสองหมื่นตันออกจากชั้นใต้ดิน ภารกิจส่วนนี้จบในวันที่ 8 พฤษภาคม สิบสามวันหลังจากเกิดอุบัติเหตุ
1
วิบัติเชอร์โนบิลสูญเสียทั้งเงินทองและชีวิตมนุษย์จำนวนมาก แต่มหันตภัยครั้งนี้ก็เผยธาตุแท้ของคนกลุ่มหนึ่งที่เสี่ยงชีวิตและรับผิดชอบต่อหน้าที่ บ้างจ่ายด้วยชีวิตตนเอง
4
เจ้าหน้าที่สามคนที่เข้าไปเปิดวาล์วน้ำ แม้จะทำงานนั้นตามหน้าที่ แต่ก็รู้ดีว่ามีโอกาสตายสูงมาก แต่การเสี่ยงชีวิตตัวเองช่วยคนนับล้าน ๆ คน เป็นเรื่องที่ต้องกระทำ
2
ก่อนหน้าสามคนนี้ก็ยังมีคนอื่นที่เข้าไปเสี่ยงชีวิตก่อน เช่น ไปวัดระดับการแผ่รังสี เราไม่รู้ว่าพวกเขาเป็นใครบ้าง หรือตายไปหมดแล้วหรือไม่
แต่ชะตาชีวิตเป็นเรื่องแปลก เจ้าหน้าที่สามคนนั้นไม่ได้ตายเพราะพิษปรมาณู หัวหน้าคนงาน บอริส บารานอฟ อยู่ต่อมาอีกนาน ตายด้วยหัวใจวายในปี 2005
5
ส่วนวิศวกรทั้งสองยังมีชีวิตจนถึงอย่างน้อยปี 2015 หนึ่งในนั้นคือ อเล็กไซ อนาเนนโก ยังคงทำงานด้านพลังงานนิวเคลียร์หลังเกิดเหตุเชอร์โนบิล
1
ในเดือนพฤษภาคม 2018 วาเลอรี เบสพาลอฟ, อเล็กไซ อนาเนนโก และ บอริส บารานอฟ ได้รับรางวัล The Order For Courage จากประธานาธิบดียูเครน
2
เพราะการเสี่ยงชีวิตทำงานในหน้าที่เป็นความรับผิดชอบต่องานที่ต้องอาศัยความกล้าหาญระดับสูง ซึ่งไม่ใช่ทุกคนทำได้ หรือกล้าทำ
1
และต้องอาศัยความรักต่อเพื่อนร่วมโลกด้วย
3

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา